คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4354/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้จากกิจการเงินทุน: การพิจารณาวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลและลักษณะของธุรกรรม
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการใช้สิทธิในการเรียกร้องเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนที่ได้ดำเนินการไว้ตั้งแต่โจทก์ยังไม่ได้ถูกระงับใบอนุญาต มิใช่เป็นการประกอบกิจการเงินทุนขึ้นใหม่ภายหลังโจทก์ถูกระงับใบอนุญาตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนระบุวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประเภท "เงินทุน" ในเมืองฮ่องกง ซึ่งปกติคำว่า"เงินทุน" มีความหมายมิได้จำกัดเพียงการกู้ยืมหรือรับฝากเงินเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า คำดังกล่าวมีความหมายพิเศษตามบทกฎหมายแห่งเมืองที่โจทก์จดทะเบียนไว้นั้นระบุจำกัดไว้ดังกล่าว ประกอบกับการที่โจทก์รับดำเนินการซื้อสินค้าแทนจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหมายผลในจำนวนเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าแทนนั้นมาเป็นหลักแห่งหนี้สินซึ่งเป็นตัวเงิน และโจทก์ได้ผลประโยชน์จากดอกเบี้ยอันเกิดจากตัวเงินดังกล่าวนี้ จึงมีลักษณะเป็นกิจการเงินทุนอย่างหนึ่งการซื้อสินค้าแทนดังกล่าวจึงเป็นเพียงวิธีการดำเนินการเพื่อบริการจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้าในการก่อหนี้ที่เป็นกิจการเงินทุนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนอันเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4354/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้จากกิจการเงินทุน: การตีความวัตถุประสงค์บริษัทและการกระทำที่เข้าข่าย
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการใช้สิทธิในการเรียกร้องเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนที่ได้ดำเนินการไว้ตั้งแต่โจทก์ยังไม่ได้ถูกระงับใบอนุญาต มิใช่เป็นการประกอบกิจการเงินทุนขึ้นใหม่ภายหลังโจทก์ถูกระงับใบอนุญาต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนระบุวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประเภท "เงินทุน" ในเมืองฮ่องกง ซึ่งปกติคำว่า "เงินทุน" มีความหมายมิได้จำกัดเพียงการกู้ยืมหรือรับฝากเงินเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า คำดังกล่าวมีความหมายพิเศษตามบทกฎหมายแห่งเมืองที่โจทก์จดทะเบียนไว้นั้นระบุจำกัดไว้ดังกล่าว ประกอบกับการที่โจทก์รับดำเนินการซื้อสินค้าแทนจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหมายผลในจำนวนเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าแทนนั้นมาเป็นหลักแห่งหนี้สินซึ่งเป็นตัวเงิน และโจทก์ได้ผลประโยชน์จากดอกเบี้ยอันเกิดจากตัวเงินดังกล่าวนี้ จึงมีลักษณะเป็นกิจการเงินทุนอย่างหนึ่ง การซื้อสินค้าแทนดังกล่าวจึงเป็นเพียงวิธีการดำเนินการเพื่อบริการจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้าในการก่อหนี้ที่เป็นกิจการเงินทุนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนอันเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ถือว่าการชำระหนี้ล่าช้าเป็นเหตุเลิกสัญญาเช่าซื้อ หากผู้ให้เช่าซื้อยังรับชำระหนี้
ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ตามสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงรับชำระหนี้ค่าเช่าซี้อต่อมา แสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญ และไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาผู้ให้เช่าซื้อจะเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 3 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ: การรับชำระหนี้ล่าช้าโดยไม่บอกกล่าวถือมิได้เป็นการเลิกสัญญา
ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ตามสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อมา แสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญ และไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาผู้ให้เช่าซื้อจะเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นผิดพลาดในคดีครอบครองที่ดิน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นที่โต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้องตามคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: ข้อโต้แย้งเรื่องข้อเท็จจริงข่มขืนกระทำชำเรา และการยอมรับสมัครใจของผู้เสียหายในข้อหาพรากผู้เยาว์
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงสภาพการจ้างเรื่องค่าครองชีพและค่าจ้างขั้นต่ำ: จำเลยต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้าง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ่างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้ง ซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้ว ให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน
โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ ที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือน หลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การตีความผลของการจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง และขอบเขตของสิทธิประโยชน์เดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้งซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้วให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่าจำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือนส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือนหลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่เป็นหลักฐานการกู้ยืม และฟ้องขาดอายุความ
เอกสารไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเป็น "ตั๋วสัญญาใช้เงิน"คงมีแต่ข้อความว่าเป็น "ตั๋ว" เอกสารดังกล่าวจึงขาดสาระสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(1)จึงมิใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้โดยอ้างเอกสารซึ่งมีข้อความว่าจำเลยจะจ่ายเงินตามคำสั่งของโจทก์โดยไม่มีถ้อยคำชัดว่าเป็นหนี้เงินกู้หรือหนี้อย่างอื่น โจทก์ย่อมจะนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบว่าเป็นหนี้เงินกู้ได้ เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงความเป็นหนี้ลงลายมือชื่อลูกหนี้แล้วและสืบพยานประกอบอธิบายได้ว่าหนี้นั้นเป็นหนี้สินแห่งการกู้ยืมเอกสารนั้นก็เป็นหนังสืออันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้ว โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามหลักฐานเอกสารนั้นมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม)ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ จำเลยมีข้อพิพาทกัน (มาตรา 193/30ที่แก้ไขใหม่) และในเรื่องอายุความนี้ มาตรา 169(เดิม)(มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า อายุความให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อจำเลยไม่เคยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2519ตามที่ระบุในเอกสาร จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดชำระเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้ใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น และการผิดนัดดังกล่าวเอกสารนั้นระบุให้มีผลว่าตั๋วหรือเอกสารนั้นถึงกำหนดได้ทันที และจ่ายเงินโดยไม่ต้องทวงถามสุดแล้วแต่ผู้ถือจะเลือกซึ่งมีความหมายว่า โจทก์มีสิทธิเลือกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีโดยไม่ต้องทวงถามก่อน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม2519 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2530 นับจากวันที่ 16 มีนาคม 2519ถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน ฟ้องไม่ขาดอายุความ
เอกสารซึ่งไม่มีข้อความระบุว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินคงมีแต่ข้อความว่าเป็น "ตั๋ว" จึงขาดสาระสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(1) เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ในเอกสารจะไม่มีข้อความว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แต่มีข้อความว่าจำเลยจะจ่ายเงินตามคำสั่งของโจทก์รวม 25,000 เหรียญสหรัฐแสดงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในจำนวนเงินดังกล่าว และจำเลยลงชื่อไว้เอกสารดังกล่าว จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164(เดิม)(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)
of 23