คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีความผิดต่อเนื่อง – ลักทรัพย์/รับของโจร – ท้องที่ที่เกิดเหตุ/ท้องที่ยึดทรัพย์
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกลักไปในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้จากบ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ดังนี้ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 (3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีนี้ จึงมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของผู้เสียหายได้ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และแม้ว่าจะยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและจับจำเลยได้พร้อมกันที่บ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครก็ตามก็ไม่ทำให้อำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนหมดสิ้นไป จึงถือว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานรับของโจรโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้ยืม: สิทธิปรับขึ้นตามสัญญา & ข้อจำกัดทางกฎหมาย
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญากู้เงินฉบับพิพาท แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะกำหนดให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่ก็มี ข้อจำกัดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและใช้บังคับได้ การที่โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นเพียงการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้นมิได้เป็นการบอกเลิกสัญญา และตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ17.5 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร และได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทเงินทุนเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมได้ไม่เกิน อัตราที่บริษัทเงินทุนประกาศกำหนด ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมสำหรับลูกค้า ทั่วไปเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2535โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นต้นไป เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ต่อไปได้เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จึงมีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญากู้: สิทธิปรับขึ้นตามข้อตกลง & ดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญากู้เงินฉบับพิพาท แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะกำหนดให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่ก็มีข้อจำกัดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและใช้บังคับได้
การที่โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นเพียงการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น มิได้เป็นการบอกเลิกสัญญา และตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร และได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทเงินทุนเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมได้ไม่เกินอัตราที่บริษัทเงินทุนประกาศกำหนด ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมสำหรับลูกค้าทั่วไปเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2535โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 19ต่อปี ตั้งแต่วันที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นต้นไป เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีต่อไปได้เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จึงมีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฏหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การส่งตัวไปฝึกอบรมและการโต้แย้งข้อเท็จจริง
กรณีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 121(1) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัว พิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรม ยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมี กำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) คดีจึงต้องห้ามฎีกาแต่เฉพาะกรณีที่ฎีกาเกี่ยวกับการที่ ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางเท่านั้นส่วนการที่คู่ความจะฎีกาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีอื่นได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดาซึ่งเมื่อนำพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษ ทางอาญาแก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษา ให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การส่งตัวจำเลยฝึกอบรมแทนการลงโทษทางอาญา
กรณีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121(1) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 74 (5) คดีจึงต้องห้ามฎีกาแต่เฉพาะกรณีที่ฎีกาเกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางเท่านั้น ส่วนการที่คู่ความจะฎีกาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีอื่นได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือบทบัญญัติแห่งป.วิ.อ.ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6และ ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล: เหตุแห่งการคัดค้าน, ความชอบด้วยกฎหมาย, การไต่สวนพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศ.เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ผู้คัดค้านทั้งสามร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ. เนื่องจากคำร้องของผู้ร้องที่ขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของ ศ.เป็นความเท็จ และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตปิดบังข้อเท็จจริง และปิดบังพินัยกรรมของบิดาผู้ร้องที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของนางสาวศรีสกุล ทั้งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.อยู่ก่อนที่ผู้ร้องจะขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ประกอบกับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้ขอถอนการเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 เนื่องจากมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้อนุบาลอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.นี้และมาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น การแต่งตั้งผู้อนุบาลจึงต้องอนุโลมตามการแต่งตั้งผู้ปกครองด้วย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลนั้นเสียอันเป็นกรณีร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามมาตรา1588 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีที่ขอถอนผู้อนุบาลตามมาตรา 1598/8ผู้คัดค้านจึงยื่นคำคัดค้านได้
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบจากการแต่งทนายและหน้าที่ในการติดตามวันนัด
จำเลยแต่งให้ ส. เป็นทนายความ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนจำเลย การที่ทนายจำเลยยื่นคำให้การ แก้คดีและลงลายมือชื่อรับทราบกำหนดวันเวลานัดชี้สองสถาน ไว้แล้ว จึงเป็นการกระทำแทนจำเลยโดยชอบ ถือว่าจำเลย ทราบวันเวลานัดชี้สองสถานแล้วด้วย ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว จำเลยรวมทั้งทนายจำเลยไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงชี้สองสถาน และกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ไป การที่ไม่มีผู้ใด ฝ่ายจำเลยไปศาลในวันนัดชี้สองสถานซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ตรี วรรคแรกให้ถือว่าจำเลยและทนายจำเลยได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ซึ่งรวมถึงทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นด้วย เมื่อจำเลยและทนายจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดีในวันสืบพยานหรือก่อนวันนั้นจึงเป็นการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ และไม่มีเหตุสมควรที่จะให้ พิจารณาใหม่ การที่ทนายจำเลยทั้งสองไม่แจ้งวันนัดให้จำเลย ทราบเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จำเลยจะนำมาอ้าง เป็นเหตุว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนทรัพย์ฝากไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้มีคดีอาญาเรื่องยักยอกแล้ว
แม้ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกและมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อในคำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องนั้นวินิจฉัยว่า คดีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยอาจไม่ได้เบียดบังข้าวเปลือกของโจทก์ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยเมื่อไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งด้วยหรือไม่ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเพื่อให้รับผิดเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝาก โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อายุความ: สิทธิเรียกคืนทรัพย์ฝาก-ชดใช้ราคา ไม่ขาดอายุความ แม้มีคดีอาญา
ในคดีอาญาโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันคืน หรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย แต่คำพิพากษาในคดีอาญาไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดชอบในทางแพ่งด้วยหรือไม่ เมื่อคำพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือกเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝากโจทก์มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำยาเสพติดเข้าประเทศโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
โคคาอีน ที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้ เป็นความผิดไม่อาจเสียภาษีได้ การที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น จึงมิใช่เป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27
of 64