พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากการลาออกและคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118(3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากวุฒิการศึกษาปลอมและการลาออก
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118 (3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจนและมีเหตุผลตามกฎหมาย โดยเฉพาะการกล่าวอ้างเรื่องค่าใช้จ่ายและเจ้าหน้าที่ขัดขวาง
พระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522หมวด 9 การคัดค้านการเลือกตั้ง บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ว่า กรณีที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้นั้นเฉพาะกรณีที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นมีการฝ่าฝืนมาตรา 26 มาตรา 32 มาตรา 34 มาตรา 51 หรือมาตรา 52 เท่านั้น คำร้องของผู้ร้องได้กล่าวอ้างถึงการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 เรื่องที่ผู้ได้รับเลือกตั้งใช้เงินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดว่า ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ใช้เงินคนละกว่าสามล้านบาทโดยไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำนวนเงินที่แน่นอนของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ใช้นั้นเป็นเท่าใด คงใช้วิธีประมาณการเอาเท่านั้นและมิได้บรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องใดเท่าใด จ่ายไปเมื่อใด ให้แก่ใคร ส่วนที่กล่าวไว้ว่าใช้การซื้อเสียงด้วยเงินก็ไม่กล่าวว่าซื้อเสียงใคร จำนวนมากน้อยเท่าใดสิ้นเงินไปในการนี้เท่าใด ได้จ่ายไปก่อนหรือหลังจากมีการสมัครรับเลือกตั้งข้อกล่าวอ้างตามคำร้องจึงไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาพอที่จะให้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ซึ่งถูกกล่าวหาเข้าใจได้ดีพอที่จะต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นอกจากนั้นในคำร้องก็มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงเป็นการยืนยันให้เห็นว่า การจ่ายเงินจำนวนที่ผู้ร้องประมาณการมานั้นเป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งคงกล่าวแต่เพียงว่าใช้เงินคนละกว่าสามล้านบาทเท่านั้น คำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้จึงเคลือบคลุมสำหรับข้ออ้างเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งตามมาตรา 52 ผู้ร้องกล่าวในคำร้องแต่เพียงว่า ในวันเลือกตั้งปรากฏว่าที่หน่วยเลือกตั้งบางหน่วย เช่น หน่วยเลือกตั้งบ้านโคกกระดี่อำเภอตาคลี กรรมการควบคุมการเลือกตั้งได้ช่วยกากากบาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 โดยไม่ได้กล่าวว่ากรรมการควบคุมการเลือกตั้งที่กระทำการดังที่อ้างนั้นเป็นใคร จำนวนคะแนนที่อ้างว่า กากบาทให้นั้นเป็นจำนวนเท่าใด จะทำให้ผลของการเลือกตั้งเปลี่ยนไปหรือไม่ ข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องไม่อาจเข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานคนใดกระทำอย่างนั้น ผู้คัดค้านที่ 3 ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งไม่อาจเข้าใจข้อหาและต่อสู้ข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องได้ถูกต้อง คำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้จึงเคลือบคลุม เมื่อคำร้องของผู้ร้องเป็นคำร้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 จึงไม่อาจพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่ผู้ร้องนำสืบมาในเหตุอ้างสองประการดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การแจ้งข้อมูลเท็จ และการรอการลงโทษ
ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว ผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่ พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
จำเลยกรอกใบสมัครเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจำเลยจบการศึกษาประโยคชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ความจริงแล้วจำเลยไม่ได้จบการศึกษาชั้นดังกล่าว อันเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับสมัครเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 กับแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติใน ความหมายของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 มาตรา 6 นั้น หมายถึงหลักสูตรหรือแผนการศึกษาของชาติในขณะที่บุคคลนั้น ๆ สอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยสอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลายมัธยมปีที่ 6 ในปี พ.ศ.2503 ซึ่งขณะนั้นแผนการศึกษาของชาติที่ใช้บังคับอยู่คือแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาแยกออกเป็น 3 สาย ในสาย ข.มัธยมวิสามัญศึกษาซึ่งมีชั้นมัธยมวิสามัญตอนปลายเพียงแค่มัธยมปีที่ 6 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยสอบไล่ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแผนการศึกษาของชาติ พ.ศ.2494 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ที่แก้ไขแล้ว การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะกรอกคุณสมบัติทางการศึกษาลงในใบสมัครไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 26
การที่จำเลยกระทำผิดโดยแจ้งคุณสมบัติทางการศึกษาเป็นเท็จเป็นเพราะจำเลยเข้าใจผิดว่าตนไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งความจริงแล้วจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์สิ่งแวดล้อมแล้ว สมควรรอการลงโทษไว้
จำเลยกรอกใบสมัครเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจำเลยจบการศึกษาประโยคชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ความจริงแล้วจำเลยไม่ได้จบการศึกษาชั้นดังกล่าว อันเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับสมัครเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 กับแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติใน ความหมายของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 มาตรา 6 นั้น หมายถึงหลักสูตรหรือแผนการศึกษาของชาติในขณะที่บุคคลนั้น ๆ สอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยสอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลายมัธยมปีที่ 6 ในปี พ.ศ.2503 ซึ่งขณะนั้นแผนการศึกษาของชาติที่ใช้บังคับอยู่คือแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาแยกออกเป็น 3 สาย ในสาย ข.มัธยมวิสามัญศึกษาซึ่งมีชั้นมัธยมวิสามัญตอนปลายเพียงแค่มัธยมปีที่ 6 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยสอบไล่ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแผนการศึกษาของชาติ พ.ศ.2494 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ที่แก้ไขแล้ว การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะกรอกคุณสมบัติทางการศึกษาลงในใบสมัครไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 26
การที่จำเลยกระทำผิดโดยแจ้งคุณสมบัติทางการศึกษาเป็นเท็จเป็นเพราะจำเลยเข้าใจผิดว่าตนไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งความจริงแล้วจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์สิ่งแวดล้อมแล้ว สมควรรอการลงโทษไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การแจ้งข้อมูลเท็จทางการศึกษา และการรอการลงโทษ
ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว ผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่ พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 จำเลยกรอกใบสมัครเพื่อสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจำเลยจบการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ความจริงแล้วจำเลยไม่ได้จบการศึกษาชั้นดังกล่าว อันเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับสมัครเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137กับแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติในความหมายของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 19(1)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 มาตรา 6 นั้น หมายถึงหลักสูตรหรือแผนการศึกษาของชาติในขณะที่ผู้นั้นสอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยสอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลายมัธยมปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2503 ซึ่งขณะนั้นแผนการศึกษาของชาติที่ใช้บังคับอยู่คือแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาแยกออกเป็น 3 สาย ในสาย ข. มัธยมวิสามัญศึกษาซึ่งมีชั้นมัธยมวิสามัญตอนปลายเพียงแค่มัธยมปีที่ 6 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยสอบไล่ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแผนการศึกษาของชาติพ.ศ. 2494 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขแล้ว การที่จำเลยสมัครรับเลือกรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะกรอกคุณสมบัติทางการศึกษาลงในใบสมัครไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 26 การที่จำเลยกระทำผิดโดยแจ้งคุณสมบัติทางการศึกษาเป็นเท็จเป็นเพราะจำเลยเข้าใจผิดว่าตนไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งความจริงแล้วจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์สิ่งแวดล้อมแล้ว สมควรรอการลงโทษไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีสิทธิฟ้องดำเนินคดีต่อเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ช. ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำผิด พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 26 และ บ. ซึ่งเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดกระทำผิด พระราชบัญญัติเลือกตั้งฯ มาตรา 26 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 165 โจทก์ได้ร้องเรียนไปยังจำเลยทั้งห้า ให้มีการสอบสวนดำเนินคดีกับ ช. และ บ. และจำเลยทั้งห้ามิได้ดำเนินคดีกับบุคคลทั้งสองขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 165, 200 เช่นนี้ เมื่อโจทก์มิใช่บุคคล ที่อาจร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 78 จึงมิใช่ ผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำผิดพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 ดังนั้นการที่โจทก์ร้องเรียนต่อจำเลยทั้งห้าให้ดำเนินคดีกับ ช. และ บ. และจำเลยทั้งห้ามิได้ดำเนินคดี กับบุคคลทั้งสองเมื่อ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในกรณีที่ ช. และ บ. กระทำผิดดังกล่าวโจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย สำหรับความผิดที่โจทก์ ฟ้องจำเลยทั้งห้าด้วยโจทก์จึงไม่ มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายโดยนิตินัยและการร้องเรียนเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ช. ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำผิด พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 26 และ บ. ซึ่งเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดกระทำผิด พระราชบัญญัติเลือกตั้งฯ มาตรา 26 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 โจทก์ได้ร้องเรียนไปยังจำเลยทั้งห้า ให้มีการสอบสวนดำเนินคดีกับช. และ บ.และจำเลยทั้งห้ามิได้ดำเนินคดีกับบุคคลทั้งสองขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง ห้าตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165,200 เช่นนี้ เมื่อโจทก์มิใช่บุคคล ที่อาจร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 78 จึงมิใช่ ผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำผิดพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 ดังนั้นการที่โจทก์ ร้องเรียน ต่อจำเลยทั้งห้าให้ดำเนินคดีกับ ช. และ บ. และจำเลยทั้งห้ามิได้ดำเนินคดี กับบุคคลทั้งสองเมื่อ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในกรณีที่ ช. และ บ. กระทำผิดดังกล่าวโจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย สำหรับความผิดที่โจทก์ ฟ้องจำเลยทั้งห้าด้วยโจทก์จึงไม่ มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ถูกแย่งคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด โดยจำเลยไม่มีความรู้ตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยได้ใช้ใบสุทธิปลอมเป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ชั้นเตรียมอุดมศึกษา เป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 26 กับจำเลยปลอมใบสุทธิและใช้ใบสุทธิปลอม เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ขอให้ลงโทษ ดังนี้ ถือว่าการกระทำดังที่กล่าวหาเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงาน การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครแข่งขันกับจำเลยต้องถูกแย่งคะแนนทำให้แพ้การเลือกตั้ง ก็หาใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยไม่ โจทก์มิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งดังฟ้อง จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อผู้ว่าราชการจังหวัด โดยจำเลยไม่มีความรู้ตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยได้ใช้ใบสุทธิปลอมเป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ชั้นเตรียมอุดมศึกษา เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 26 กับจำเลยปลอมใบสุทธิและใช้ใบสุทธิปลอม เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานขอให้ลงโทษ ดังนี้ ถือว่าการกระทำดังที่กล่าวหาเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงาน การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครแข่งขันกับจำเลยต้องถูกแย่งคะแนนทำให้แพ้การเลือกตั้ง ก็หาใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยไม่ โจทก์มิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งดังฟ้อง จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชัดเจนข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง ทำให้ศาลไม่รับพิจารณา
ปัญหาว่า คำร้องของผู้ร้องชอบด้วยมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การคัดค้านการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ ได้จำกัดประเภทของบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านไว้ ได้แก่ ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ในกรณีที่เห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้ง เป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 ด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเข้าสมัครรับเลือกตั้งและการฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 84 คำร้องของผู้ร้องมีใจความสำคัญเพียงว่า ในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ผู้สมัครยังดำรงตำแหน่งกำนันตำบลอิสาณและนายทะเบียนตำบลอิสาณ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 96(7) ที่ว่าเป็นพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ขอให้มีคำสั่งว่าการได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น คำร้องมิได้แสดงโดยแจ้งชัดแห่งข้อหาว่า การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ นั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 78 อย่างไร กล่าวคือมิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้รู้แล้ว ว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯมาตรา 96(7) แล้วยังเข้าสมัครรับเลือกตั้งอีก ฉะนั้นคำร้องของผู้ร้องซึ่งบรรยายอ้างถึงแต่คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างเดียว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย มาตรา 78 ไม่มีเหตุที่จะรับไว้เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
การคัดค้านการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ ได้จำกัดประเภทของบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านไว้ ได้แก่ ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ในกรณีที่เห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้ง เป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 ด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเข้าสมัครรับเลือกตั้งและการฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 84 คำร้องของผู้ร้องมีใจความสำคัญเพียงว่า ในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ผู้สมัครยังดำรงตำแหน่งกำนันตำบลอิสาณและนายทะเบียนตำบลอิสาณ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 96(7) ที่ว่าเป็นพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ขอให้มีคำสั่งว่าการได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น คำร้องมิได้แสดงโดยแจ้งชัดแห่งข้อหาว่า การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ นั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 78 อย่างไร กล่าวคือมิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้รู้แล้ว ว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯมาตรา 96(7) แล้วยังเข้าสมัครรับเลือกตั้งอีก ฉะนั้นคำร้องของผู้ร้องซึ่งบรรยายอ้างถึงแต่คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างเดียว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย มาตรา 78 ไม่มีเหตุที่จะรับไว้เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเสีย