พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความเท็จในการฟ้องเดิม: ไม่รวมพิจารณา
จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตนำความเท็จมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาด ค่าจ้างทนายความ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในศาลอีก จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ทั้งสองกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์ทั้งสองมาเป็นข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าต่างกันชัดเจน ไม่ทำให้สาธารณชนสับสน ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายหนึ่งคือ "CK" อ่านว่า "ซีเค" ส่วนอีกเครื่องหมายหนึ่งคือ "CK Calvin Klein" โดยคำว่า "CK" กับ "Calvin Klein" วางทับซ้อนกันรวมเป็นอักษร 13 ตัว อ่านแยกกันเป็น "ซีเค" และ "คาลวินไคลน์" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน คือ ในส่วนคำสำคัญคือคำว่า "CCKK" นั้น มีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ โดยอักษรตัวแรกคือ ตัว C และ อักษรตัวที่ 3 คือตัว K มีขนาดเท่ากัน อักษรตัวที่สองคือตัว C และอักษรตัวสุดท้ายคือตัว K มีขนาดใหญ่กว่า รวมเป็นตัวอักษร 4 ตัววางเรียงกัน แม้ตัวอักษรตัวที่ 2 คือตัว C และอักษรตัวที่ 4 คือ ตัว K จะมีขนาดใหญ่กว่าอักษรอีก 2 ตัว แต่ก็เห็นได้ชัดว่าระหว่างตัว C และ K ที่ขนาดใหญ่ขึ้นนั้นมีอักษรตัว K อีกตัวหนึ่งคั่นอยู่ จึงอ่านได้ว่า "ซี ซี เค เค" มิใช่ "ซีเค" อย่างของโจทก์แต่อย่างใด จึงเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับของโจทก์ดังกล่าวมีรูปลักษณะตัวอักษร การวางตัวอักษร จำนวนตัวอักษร และเสียงเรียกขานที่แตกต่างกันจนสังเกตได้ชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ และไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามรับจดทะเบียน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8(10) และ (11) การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้หรือขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อไม่มีหลักฐานสินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY เมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยที่ ตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า สินค้าในตู้สินค้า ไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2 ทำการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 44 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไประหว่างการขนส่งที่อยู่ ในความดูแล ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำนวน 75,703.73 บาทนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหา ข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีรับขนของทางทะเลที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 75,703.73 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY โจทก์ไม่นำสืบว่า สินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า สินค้าในตู้สินค้าไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2 ทำการขนส่ง กรณีไม่อาจถือว่า สินค้าพิพาทสูญหายไประหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 39 ประกอบมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตามมาตรา 39 วรรคสอง, 43,44, 45, 52 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง75,703.73 บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY โจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่าสินค้าในตู้สินค้าไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2ทำการขนส่ง กรณีไม่อาจถือว่า สินค้าพิพาทสูญหายไประหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 39ประกอบมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 39 วรรคสอง,43,44,45,52 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดเพื่อตัดสินว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท หลายกรรม กล่าวคือ (ก) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้า หากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด"บานาน่าส์อินพิจามัส"ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์อินพิจามัส"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1(ข) จำเลยซึ่งประกอบ อาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไร ซึ่งตุ๊กตาเครยองชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด"เครยองชินจัง"ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยองชินจัง"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้อง ของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก)และข้อ(ข)ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขายแก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไปหากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องแต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก)และข้อ(ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์หลายราย หากไม่มีเจตนาต่างกัน ถือเป็นกรรมเดียว
ลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกัน ไม่แน่ว่า จะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไป แม้โจทก์จะบรรยาย ฟ้องโดยแยกการกระทำที่อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ผู้เสียหายทั้งสองเป็นข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่างหากจากกัน แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก)และข้อ(ข) ต่างหากจากกันอย่างไร จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยกระทำ ความผิดตามฟ้องในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิด กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์: ความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรม กล่าวคือ (ก)จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 (ข) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตาเครยอง ชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "เครยอง ชินจัง" ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยอง ชินจัง" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขาย แก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่ หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไป หากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก) และข้อ (ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในความผิดเครื่องหมายการค้าซ้ำ หากพ้นโทษเดิมยังไม่ครบ 5 ปี การปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปีโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมา กระ ทำความผิดในคดีนี้เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษทวีคูณเครื่องหมายการค้า: โทษปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง การกระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี ต้องรับโทษทวีคูณ
การวางโทษทวีคูณตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 113 ไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุกและการปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเคยกระทำความผิด ในข้อหาเดียวกันนี้และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลยแล้ว จำเลยกลับกระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่ วันพ้นโทษ จึงต้องระวางโทษทวีคูณแก่จำเลย