พบผลลัพธ์ทั้งหมด 615 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ละเมิด: การฟ้องร้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน และการกระทำที่มิได้เจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เนื่องมาจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กรรมการได้มีมติถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ประการใดอันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวกับการกระทำโดยมิชอบในการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกภาพนั้น โจทก์ย่อมต้องใช้สิทธิเรียกร้องมาในคราวเดียวกันทั้งหมด การที่โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดแก่การที่โจทก์ต้องขาดจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 รวมไปกับการฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่กลับมาเรียกร้องในคดีนี้โดยอาศัยเหตุแห่งการถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพคราวเดียวกันซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหานี้แม้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้และไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เมื่อเห็นสมควรเพราะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและมีมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กระทำการไม่ซื่อตรงหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว และหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้จดแจ้งโจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกตามเดิม และโจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ประสงค์ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแกล้งหรือจงใจใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จงใจกลั่นแกล้งโจทก์อย่างไร และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มาประชุมและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำหน้าที่ในการประชุมตามปกติ ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ แม้ภายหลังศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่า พฤติการณ์ของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยที่ 1 หรือทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ก็เป็นเรื่องของดุลยพินิจและความเห็นที่แตกต่างกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง, 77 และ 812
สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและมีมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กระทำการไม่ซื่อตรงหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว และหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้จดแจ้งโจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกตามเดิม และโจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ประสงค์ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแกล้งหรือจงใจใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จงใจกลั่นแกล้งโจทก์อย่างไร และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มาประชุมและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำหน้าที่ในการประชุมตามปกติ ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ แม้ภายหลังศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่า พฤติการณ์ของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยที่ 1 หรือทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ก็เป็นเรื่องของดุลยพินิจและความเห็นที่แตกต่างกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง, 77 และ 812
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าเสียหายจากการถอดถอนสมาชิกภาพ ต้องฟ้องรวมกับการเพิกถอนมติในคดีเดิม
โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ประการใดอันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวกับการกระทำโดยมิชอบในการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกภาพนั้น โจทก์ย่อมต้องใช้สิทธิเรียกร้องมาในคราวเดียวกันทั้งหมด การที่โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆอันเกิดแก่การที่โจทก์ต้องขาดจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1รวมไปกับฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1ในคดีก่อน แต่กลับมาเรียกร้องในคดีนี้โดยอาศัยเหตุแห่งการถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้พิจารณาประเด็นค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายเดินทางใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีต่อศาลโดยจะชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขประการที่ 2 คือสร้างตึกฟรี แต่ไม่ให้ค่าเสียหายให้ร้อยละ 10 ตามสำเนาเงื่อนไขเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำนวนร้อยละดังกล่าวเป็นการคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันซึ่งเมื่อคำนวณจากทุนทรัพย์แล้วเป็นเงินจำนวน 800,000 บาท จำเลยชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียง 150,000 บาท ยังค้างชำระจำนวน 650,000 บาทขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจำนวน 650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์คิดคำนวณค่าจ้างว่าความมาถูกต้องหรือไม่ อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดีสามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือน คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือน คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้อง: ค่าทนายและค่าเดินทาง, ประเด็นข้อพิพาทที่จำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีต่อศาลโดยจะชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขประการที่ 2 คือสร้างตึกฟรี แต่ไม่ให้ค่าเสียหายให้ร้อยละ 10 ตามสำเนาเงื่อนไขเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำนวนร้อยละดังกล่าวเป็นการคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันซึ่งเมื่อคำนวณจากทุนทรัพย์แล้วเป็นเงินจำนวน 800,000 บาท จำเลยชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียง 150,000 บาท ยังค้างชำระจำนวน 650,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจำนวน 650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์คิดคำนวณค่าจ้างว่าความมาถูกต้องหรือไม่ อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดี สามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือนคิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือนคิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีฐานะนิติบุคคลของวัด: ขั้นตอนการตั้งวัดตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล และวัดมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคือสำนักสงฆ์ ตามมาตรา 32การสร้างวัดและการตั้งวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดวิธีการสร้างวัดและการตั้งวัดไว้ ซึ่งเห็นได้ว่าวัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากกรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณา การปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่าง ๆ ตามลำดับ จนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ วัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมจะถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์อันจะทำให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลของวัด: การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อการตั้งวัด
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและวัดมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคือสำนักสงฆ์ตามมาตรา 32 การสร้างวัดและการตั้งวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดวิธีการสร้างวัดและการตั้งวัดไว้ซึ่งเห็นได้ว่าวัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากกรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณาการปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่างๆ ตามลำดับจนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้วกระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ วัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมจะถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์อันจะทำให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอำนาจฟ้องของวัด: ต้องผ่านขั้นตอนการตั้งวัดตามกฎหมาย จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคล
วัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งหมายความรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้นหลังจากกรรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณา การปรึกษาและการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่าง ๆ ตามลำดับ จนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ ดังนั้นวัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ถือว่าทิ้งคำร้องแม้ผู้ร้องไม่ดำเนินการทันตามกำหนด หากศาลมิได้แจ้งคำสั่งและผู้ร้องยังมีความพยายาม
เมื่อเจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยครั้งแรกไม่ได้ผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยใหม่ แม้จะไม่ได้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง กลับสั่งให้คำแถลงของผู้ร้องว่า "ไม่พบ ให้ปิด" โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย และเมื่อพนักงานเดินหมายนำหมายนัดและสำเนาคำร้องไปส่งให้แก่จำเลยครั้งที่สอง ก็ส่งให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะไม่พบป้ายชื่อจำเลย ผู้จัดการจำเลย และไม่มีผู้รับหมายไว้แทนแต่มีผู้แจ้งว่าจำเลยย้ายสำนักงานไปนานแล้ว พนักงานเดินหมายจึงไม่ได้ปิดหมายศาลชั้นต้นสั่งในรายงานการเดินหมายว่า "รอผู้ร้องแถลง" โดยมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องต่อไป ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยถึงเกือบ 8 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รอผู้ร้องแถลง" ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดสองกรรม: การครอบครองและขนย้ายคลอโรฟอร์มโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยลงโทษเฉพาะกรรมขนย้าย
ข้อหาฐานมีน้ำยาเคมีคลอโรฟอร์มของกลางไว้ในครอบครอง และขนย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เมื่อความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกัน และการกระทำของจำเลยก็เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน คือการขนย้ายน้ำยาเคมีคลอโรฟอร์มของกลาง จำนวนเดียวกับที่จำเลยมีไว้ในครอบครอง ทั้งยังเป็นความผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราเดียวกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว และเนื่องจากความผิดทั้งสองข้อหามีอัตราโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษฐานขนย้ายน้ำยาเคมีคลอโรฟอร์มของกลางโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานพิรุธ ขาดน้ำหนักรับฟัง ศาลฎีกายกฟ้องคดียาเสพติดและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีข้อพิรุธและขาดเหตุผลอยู่หลายประการ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และยกฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ สำหรับ ข้อหาฐานร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้จำเลยทั้งสี่จะไม่ฎีกา และยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่คดีนี้ก็ยังไม่ถึงที่สุด และความผิดข้อหา ดังกล่าวเป็นความผิดที่มีข้อเท็จจริงเดียวกันกับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ ในครอบครองเพื่อ จำหน่าย และจำหน่ายดังกล่าวมาแล้ว เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ เป็นชุดเดียวกันมีพิรุธเป็นที่สงสัยลงโทษจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 ที่จะยกฟ้องถึงข้อหาความผิดฐานร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนโดย ไม่ได้รับอนุญาตได้