พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งที่ดินมีเงื่อนไข การผิดสัญญาและการไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าจำเลยได้จัดสร้างที่จอดรถอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาแบ่งที่ดินแล้วการที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเพื่อทำที่จอดรถ จำเลยมิได้ดำเนินการให้เสร็จตามเงื่อนไข โจทก์บอกกล่าวแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการผิดเงื่อนไขต้องคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคแรก โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเพื่อให้สร้างตลาดสดแต่จำเลยยังไม่สามารถจะสร้างได้เพราะไม่มีงบประมาณและยังคงตั้งใจจะทำการก่อสร้างต่อไป โดยจำเลยมิได้นำที่ดินดังกล่าวไปทำอย่างอื่นอันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ เมื่อในสัญญาแบ่งที่ดินให้ ไม่ได้กำหนดเวลาให้จำเลยสร้างตลาดสดภายในเวลาเท่าใด การที่จำเลยรอการก่อสร้างไว้เพราะยังไม่มีงบประมาณ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเกินกว่าเหตุ การประเมินความร้ายแรงของบาดแผล และขอบเขตการป้องกันตัวตามกฎหมาย
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยมีการทะเลาะโต้เถียงกันแล้วผู้ตายหยิบจอบไล่ตีจำเลย จำเลยวิ่งหนีแล้วหันมาต่อสู้และแย่งจอบจากผู้ตายได้แล้วตีผู้ตายจึงถือได้ว่าจำเลยตีผู้ตายเพื่อป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่จากบาดแผลที่ตีนั้นด้านท้ายทอยแตกมีสมองไหล และด้านใบหน้ากระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แสดงให้เห็นว่าจำเลยตีผู้ตายอย่างแรง การถูกตีอย่างแรงเช่นนี้เพียงครั้งเดียวผู้ตายก็ไม่อาจจะทำร้ายจำเลยได้ต่อไป การที่จำเลยตีซ้ำอีกจึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจปรับโทษให้ถูกต้อง
ปัญหาว่าอาคารที่ปลูกสร้างจะเป็นอาคารพาณิชย์หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าอาคารดังกล่าวเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมหรือไม่ แต่กลับอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชยกรรมจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กฎหมายที่บังคับขณะที่กระทำผิดและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีทั้งส่วนที่เป็นคุณและไม่เป็นคุณคละกัน ศาลใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับกฎหมายและวางโทษใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดของกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องชดใช้ราคาสินค้าที่แท้จริง
จำเลยที่ 2 ตรวจค้นพบสินค้าของกลางไม่มีเครื่องหมายเลขหีบห่อซุกซ่อนอยู่ที่บ้านโจทก์จึงยึดสินค้าไป โจทก์ส่งหลักฐานว่าซื้อสินค้าจากร้าน อ. พร้อมแนบสำเนาใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 หลังจากที่จำเลยที่ 2 ยึดของกลางไปเดือนเศษเป็นพฤติการณ์ที่ส่อว่าอาจจะไม่ได้ซื้อจากร้าน อ. เมื่อดูพฤติการณ์โจทก์ประกอบกับสินค้าของกลางที่ไม่มีเครื่องหมายหรือเลขหมายหีบห่อ เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าของกลางเป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี การที่จำเลยที่ 2 ไปยึดสินค้าของกลางและจำเลยที่ 1 ได้แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่โจทก์ เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อำนาจไว้ มิใช่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะทำให้โจทก์เสียหาย จึงมิใช่เป็นการละเมิดเมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานตำรวจได้สอบสวนและส่งให้พนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะยึดสินค้าของกลางตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดเช่นกัน จำเลยที่ 1 เก็บรักษาของกลางไว้เป็นเวลาเกือบ 4 ปี ไม่ปรากฏว่าจะทำให้สินค้าเป็นสนิมหรือเสื่อมสภาพแต่อย่างใด ถึงแม้จะหน่วงช้าไว้อีกก็ไม่เป็นการเสี่ยงความเสียหาย ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1ขายสินค้าของกลางไปหลังจากศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าของกลางให้โจทก์จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนหรือใช้ราคาสินค้าของกลางตามที่เป็นจริง ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวข้องในการขายทอดตลาดจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดของกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากระยะเวลาเก็บรักษาที่นานเกินความจำเป็น
การที่จำเลยที่ 1 ได้ขายทอดตลาดแผงวงจรโทรทัศน์สินค้าของกลางที่ยึดไว้โดยอ้างว่าถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย แต่เมื่อปรากฏว่าได้มีการยึดสินค้าของกลางเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2524 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าของกลางให้โจทก์โดยได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2527 และได้มีการขายทอดตลาดสินค้าของกลางเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 2528 จำเลยที่ 1 เก็บรักษาไว้เป็นเวลาเกือบ 4 ปี ทั้งไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานว่าจะทำให้สินค้าเป็นสนิมหรือเสื่อมสภาพแต่อย่างใด ถึงแม้จะหน่วงช้าไว้อีกก็ไม่เป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย การขายสินค้าของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 25 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต้องคืนหรือใช้ราคาสินค้าของกลางตามที่เป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดของกลางที่ไม่เข้าข่ายความเสียหายเร่งด่วน จำเป็นต้องคืนสินค้าหรือชดใช้ราคา
การที่จำเลยที่ 1 ได้ขายทอดตลาดแผงวงจรโทรทัศน์สินค้าของกลางที่ยึดไว้โดยอ้างว่าถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย แต่เมื่อปรากฏว่าได้มีการยึดสินค้าของกลางเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2524 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าของกลางให้โจทก์โดยได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2527 และได้มีการขายทอดตลาดสินค้าของกลางเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2528 จำเลยที่ 1 เก็บรักษาไว้เป็นเวลาเกือบ 4 ปี ทั้งไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานว่าจะทำให้สินค้าเป็นสนิมหรือเสื่อมสภาพแต่อย่างใด ถึงแม้จะหน่วงช้าไว้อีกก็ไม่เป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย การขายสินค้าของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต้องคืนหรือใช้ราคาสินค้าของกลางตามที่เป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิด
เดิมศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยในคดีทำการแบ่งมรดกให้ ก.9 ใน 21 ส่วน ต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกกันใหม่ โดยให้ พ. ผู้มิได้ร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินดังกล่าว ต่อมาพ.ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดพ. ให้จำเลยที่ 3 บังคับคดีในทรัพย์มรดกพิพาทตามส่วนของตนที่ศาลฎีกาได้พิพากษาไว้เพื่อนำไปชำระหนี้ของ พ. ซึ่งจำเลยที่ 3 อธิบดีของกรมบังคับคดีจำเลยที่ 2 ได้มอบให้จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของพ.โดยมีจำเลยที่ 5 ทนายความของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยเหลือไปนำยึดที่ดินพิพาทเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของ พ. ชำระหนี้เช่นนี้เมื่อที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งตกทอดแก่ทายาท และ พ. เป็นทายาทด้วยผู้หนึ่งต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า พ. เป็นผู้มีสิทธิในที่พิพาทด้วย กรณีมีเหตุให้จำเลยดำเนินการตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวความ การที่จำเลยไปทำการยึดทรัพย์ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคแรก กรณีราคาทรัพย์สินไม่เกินสองแสนบาท และการไม่อนุญาตระบุพยานเพิ่มเติม
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเป็นประโยชน์ของตน และพยานหลักฐานบางอย่างก็มิเคยทราบว่ามีอยู่ ทั้งนี้เพราะทนายความคนเดิมมิได้ระบุอ้างไว้ เมื่อทนายความคนใหม่เข้ารับหน้าที่ จำเลยเพิ่งทราบว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เป็นความจำเป็นนั้น ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสี่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานหลักฐานแล้ว และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินไม่สูง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยมิได้ระบุเหตุที่ไม่สามารถทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ทั้ง ๆ ที่จำเลยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่พิพาทและจำเลยก็มีทนายความดำเนินคดีแล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบประโยชน์ของตนและพยานหลักฐานบางอย่างก็มิเคยทราบว่ามีอยู่ ทั้งนี้เพราะทนายความคนเดิมมิได้ระบุอ้างว่าไว้ เมื่อทนายความคนใหม่เข้ารับหน้าที่จำเลยเพิ่งทราบว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เป็นความจำเป็นนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการระบุพยานเพิ่มเติมหลังศาลไม่อนุญาต เหตุจำเลยไม่แจ้งเหตุผลในการไม่นำสืบพยานเดิม
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยมิได้ระบุเหตุที่ไม่สามารถทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสี่ ทั้ง ๆ ที่จำเลยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่พิพาทและจำเลยก็มีทนายความดำเนินคดีแล้วการที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเป็นประโยชน์ของตนและพยานหลักฐานบางอย่างก็มิเคยทราบว่ามีอยู่ ทั้งนี้เพราะทนายความคนเดิมมิได้ระบุอ้างไว้ เมื่อทนายความคนใหม่เข้ารับหน้าที่จำเลยเพิ่งทราบว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เป็นความจำเป็นนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง