คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9779/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามสัมปทานและการเลิกสัญญา ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขในสัญญา
ตามสัมปทานข้อ 7 กำหนดให้สัมปทานอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย กฎ และข้อบังคับทั้งปวงที่ประกาศใช้บังคับอยู่แล้วในขณะนี้และที่จะได้ประกาศใช้บังคับต่อไปในภายหน้า ผู้รับสัมปทานจะอ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ ในสัมปทานเป็นข้อยกเว้นมิให้ต้องถูกบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับนั้น ๆ หรือจะอ้างเหตุที่ได้รับ หรือจะได้รับโทษตามกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ต้องถูกบังคับตามสัมปทานนี้หาได้ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐผู้มีอำนาจให้รัฐมนตรีมีคำสั่งหยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงการจัดโครงการทำไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งเป็นคำสั่งที่ใช้รวมกันทุกสัมปทานใน 14 จังหวัดภาคใต้ คำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎและข้อบังคับที่ประกาศใช้บังคับภายหลังมีสัมปทานทำไม้ ย่อมมีผลผูกพันโจทก์มิให้อ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นมิให้ถูกบังคับตามคำสั่งดังกล่าวตามสัมปทานทำไม้ข้อ 7 ได้
สัมปทานข้อ 34 กำหนดว่า "ถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ 2 ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ให้สัมปทานทราบว่า ประสงค์จะเลิกสัมปทานตั้งแต่เมื่อใด และผู้รับสัมปทานจะหยุดทำไม้นับแต่วันที่แจ้งก็ได้ แต่ผู้รับสัมปทานยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัมปทานนี้ จนถึงวันที่ผู้ให้สัมปทานกำหนดให้เป็นวันเลิกสัมปทาน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ให้สัมปทานได้รับหนังสือแจ้งขอเลิกสัมปทาน
การเลิกสัมปทานตามวรรคหนึ่ง ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้ตามข้อ 31 คืน"
ตามข้อสัมปทานดังกล่าวเป็นเรื่องขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัมปทานซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 30 ปี เมื่อโจทก์ได้แจ้งขอเลิกสัมปทาน ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัมปทาน หนังสือบอกเลิกสัมปทานดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัมปทานโดยความสมัครใจของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้คืน ทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในสัมปทานข้อ 34 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9779/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำไม้: คำสั่งหยุดทำไม้ชั่วคราวไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาโดยความสมัครใจ
ตามสัมปทานข้อ7กำหนดให้สัมปทานอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายกฎและข้อบังคับทั้งปวงที่ประกาศใช้บังคับอยู่แล้วในขณะนี้และที่จะได้ประกาศใช้บังคับต่อไปในภายหน้าผู้รับสัมปทานจะอ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใดๆในสัมปทานเป็นข้อยกเว้นมิให้ต้องถูกบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายกฎหรือข้อบังคับนั้นๆหรือจะอ้างเหตุที่ได้รับหรือจะได้รับโทษตามกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ต้องถูกบังคับตามสัมปทานนี้หาได้ไม่การที่คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐผู้มีอำนาจให้รัฐมนตรีมีคำสั่งหยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงการจัดโครงการทำไม้การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งเป็นคำสั่งที่ใช้รวมกันทุกสัมปทานใน14จังหวัดภาคใต้คำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎและข้อบังคับที่ประกาศใช้บังคับภายหลังมีสัมปทานทำไม้ย่อมมีผลผูกพันโจทก์มิให้อ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใดๆมาเป็นข้อยกเว้นมิให้ถูกบังคับตามคำสั่งดังกล่าวตามสัมปทานทำไม้ข้อ7ได้ สัมปทานข้อ34กำหนดว่า"ถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ2ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ให้สัมปทานทราบว่าประสงค์จะเลิกสัมปทานตั้งแต่เมื่อใดและผู้รับสัมปทานจะหยุดทำไม้นับแต่วันที่แจ้งก็ได้แต่ผู้รับสัมปทานยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัมปทานนี้จนถึงวันที่ผู้ให้สัมปทานกำหนดให้เป็นวันเลิกสัมปทานแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน180วันนับแต่วันที่ผู้ให้สัมปทานได้รับหนังสือแจ้งขอเลิกสัมปทาน การเลิกสัมปทานตามวรรคหนึ่งผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้ตามข้อ31คืน" ตามข้อสัมปทานดังกล่าวเป็นเรื่องขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัมปทานซึ่งมีกำหนดระยะเวลา30ปีเมื่อโจทก์ได้แจ้งขอเลิกสัมปทานซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัมปทานหนังสือบอกเลิกสัมปทานดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัมปทานโดยความสมัครใจของโจทก์เองโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้คืนทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในสัมปทานข้อ34วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจทางปกครอง: การไม่อนุญาตตั้งสถานบริการไม่ขัดรัฐธรรมนูญหากใช้ดุลพินิจชอบธรรมตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 4 และมาตรา 11บัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่และปลัดกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาตให้ตั้งสถานบริการประเภทสถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัวซึ่งมีหญิงบริการแก่ลูกค้าชายหรือไม่ก็ได้ การที่บุคคลดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์ตั้งสถานบริการนวดแผนโบราณโดยยึดถือนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่า พนักงานเจ้าหน้าที่และปลัดกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจพิจารณาไม่อนุญาตโดยไม่สุจริต หรือขัดต่อพยานหลักฐาน หรือฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509ประการใด บุคคลดังกล่าวจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยพิจารณาจากคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้พื้นที่โดย พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินหากไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29 ให้อำนาจจำเลยที่ 1 เดินสายส่งไฟฟ้า ปักหรือตั้งเสาลงในหรือบนที่ดินของโจทก์ และตัดฟันต้นไม้หรือพืชผลในเขตเดินสายไฟฟ้าได้เมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถือว่าที่ดินในเขตเดินสายไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 36จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งอนุญาตให้ทนายความเข้าพบเยาวชนที่ถูกควบคุมตัว: ต้องรอการฟ้องต่อศาล
ผู้ร้องซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายยื่นคำร้องต่อหัวหน้ากองแรกรับ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเพื่อเข้าพบเยาวชนซึ่งถูกควบคุมตัว ณ กองแรกรับ หัวหน้ากองแรกรับจะอนุญาตหรือไม่ เป็นเรื่องธุรการซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองแรกรับ หากผู้ร้องไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ก็ชอบที่จะร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูงขึ้นไป หามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งหัวหน้ากองแรกรับอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าพบลูกความตามที่ต้องการไม่ ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจะมีอำนาจสั่งได้เมื่อเยาวชนนั้นถูกฟ้องต่อศาลแล้ว
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทเป็นหลักในการปกครอง ศาลจะมีอำนาจสั่งการใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายเฉพาะเรื่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีเด็กและเยาวชน: การเข้าพบผู้ถูกควบคุมตัวต้องเป็นไปตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายยื่นคำร้องต่อหัวหน้ากองแรกรับ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเพื่อเข้าพบเยาวชนซึ่งถูกควบคุมตัว ณ กองแรกรับ หัวหน้ากองแรกรับจะอนุญาตหรือไม่เป็นเรื่องธุรการซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองแรกรับ หากผู้ร้องไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ก็ชอบที่จะร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูงขึ้นไป หามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งหัวหน้ากองแรกรับอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าพบลูกความตามที่ต้องการไม่ ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจะมีอำนาจสั่งได้เมื่อเยาวชนนั้นถูกฟ้องต่อศาลแล้ว
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทเป็นหลักในการปกครอง ศาลจะมีอำนาจสั่งการใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายเฉพาะเรื่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารคดีความมั่นคงและผลของประกาศคณะปฏิวัติ แม้มีรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลได้รับคำฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานหรือต้องวินิจฉัยว่าฟ้องมีมูลหรือไม่เสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ชอบที่จะงดการไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโฆษณาหรือประกาศให้บุคคลอื่นประทุษร้ายต่อชีวิตโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85และมีคำขอท้ายฟ้องโดยอ้างมาตรา 288 มาด้วย ต้องถือว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 288 เพราะตามมาตรา 85 นั้น เมื่อจะใช้ก็ต้องโยงไปประกอบมาตรา 288 ด้วย ดังนั้น เมื่อเหตุในคดีนี้เกิดขึ้นระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และความผิดตามมาตรา 288 อยู่ในอำนาจของศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา
เมื่อคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมมีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งอันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวประกาศหรือคำสั่งนั้นก็ยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่