พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออก/ละทิ้งหน้าที่ - การนับวันขาดงาน - การเลิกจ้าง - ค่าชดเชย - การตอกบัตรลงเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ
โจทก์มาทำงานในวันที่ 6 กันยายน 2537 การที่โจทก์ออกจากที่ทำงานไปก่อนเวลาเลิกงานโดยไม่ได้ตอกบัตรลงเวลา เลิกงาน แม้จะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่แต่มิใช่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่ตลอดทั้งวัน จะนำมารวมกับวันที่ 7 และ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันทำงานแต่โจทก์ไม่ได้มาทำงานเพื่อ ให้เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(5) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย, ทางจำเป็น, การผิดสัญญา, สิทธิในการใช้ทาง, การจัดการสินสมรส
การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องเป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480หากเป็นการจัดการเกี่ยวกับสินส่วนตัวคู่สมรสฝ่ายนั้นย่อมจัดการได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1473คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสจึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้นไม่ได้ให้การเลยว่าที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นสินสมรสและการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการจัดการสินสมรสแต่อย่างใดคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใดระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลยโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาททั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วยกับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วนถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันโดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง6เมตรเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง6เมตรด้วยสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกันเมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นโดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง6เมตรและต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันทำสัญญาซื้อขายย้อนหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ และผลกระทบต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิ
ประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งจะเป็นประเด็นที่ทำให้แพ้หรือชนะคดีนั้นมีอยู่ว่าจำเลยที่1และจำเลยที่2ได้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์จริงหรือไม่ถ้าเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปจริงจำเลยทั้งสองก็จะแพ้คดีแพ่งซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าสมคบกันทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เพราะในคดีอาญาดังกล่าวถ้าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับดังกล่าวโดยเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองก็อาจจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาโกงเจ้าหนี้ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดเพราะไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้และตามคำบรรยายฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยมิได้ชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้จำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์หรือไม่ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวศาลย่อมมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังหรือไม่ตามที่คู่ความนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964-4967/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายภาษีอากรเปลี่ยนแปลง การกระทำความผิดที่บัญญัติไว้แล้วแต่ถูกยกเลิกตามกฎหมายใหม่ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา83และมีบทลงโทษตามมาตรา92แห่งประมวลรัษฎากรปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534บัญญัติในมาตรา7ให้ยกเลิกความในหมวด4ภาษีการค้ามาตรา77ถึงมาตรา93เดิมและบัญญัติในมาตรา8ให้ใช้ความที่บัญญัติใหม่แทนซึ่งบทบัญญัติมาตรา8ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2535เป็นต้นไปแต่ความที่บัญญัติใหม่ในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534นั้นมิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดที่โจทก์ฟ้องไว้อีกจึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไปการกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: ผู้ขายไม่ต้องเป็นเจ้าของในวันทำสัญญา หากคาดว่าจะโอนได้ในภายหลัง หากโอนไม่ได้ ผู้ซื้อไม่ถือว่าผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยตกลงว่าจะชำระเงินตามที่ตกลงกันส่วนโจทก์ตกลงจะขายที่ดินตามสัญญาแต่โจทก์ก็ไม่จำต้องเป็นเจ้าของในวันทำสัญญาหากคาดหมายว่าจะสามารถโอนให้แก่จำเลยได้เมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาแต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยตามกำหนดได้ไม่ว่ากรณีใดจำเลยก็ไม่เป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา209-211
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่นเมื่อไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และการรุกล้ำกีดขวางทาง
ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่ 1เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำระแหละเนื้อสุกรขาย การใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออก และการรบกวนการใช้ทางของผู้อื่น
ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่1เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่1โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำระแหละเนื้อสุกรขายการใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอด, การแบ่งมรดก, สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน, เจ้าของรวม
ผู้ร้องเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของช. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของช. ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)แม้ผู้ร้องจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไปต่อศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเมินแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องด้วยตามมาตรา142 โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินแต่ขอให้พิพากษาว่าที่ดินมีโฉนดเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์แม้จะเป็นวิธีการแบ่งทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้แล้วก็ตามก็ไม่ชอบที่จะพิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากคำสั่งให้หยุดงานชั่วคราว และการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เพราะปฏิบัติผิดกฎจราจรต่อมาหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยกล่าวกับโจทก์ว่าหากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ก็ไม่ต้องมาทำงานย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่านายจ้างสั่งให้โจทก์หยุดการทำงานไว้ก่อนจนกว่าจะได้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์กลับคืนมาเพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับว่าผู้มีหน้าที่ขับรถยนต์จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่อื่นในกรณีเช่นนี้ด้วยการที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานในระหว่างวันดังกล่าวโดยมิได้ยื่นใบลาหรือติดต่อมายังจำเลยจึงมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบงานอย่างร้ายแรงกระทบชื่อเสียงโรงแรม
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าการประพฤติหรือปฏิบัติตนหรือบริการแขกหรือพนักงานอื่นในลักษณะที่หยาบโลนหรือผิดวัฒนธรรมประเพณีของไทยแม้เป็นการกระทำครั้งแรกจำเลยก็จะดำเนินการทางวินัยด้วยการปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยทั้งนี้เพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างปฏิบัติเพื่อนำมาซึ่งความเชื่อถือไว้วางใจจากคนเดินทางหรือแขกผู้มาพักหรือใช้บริการว่าเป็นที่ซึ่งให้ความปลอดภัยสะดวกสบายและสงบจึงจะสามารถแข่งขันกับผู้ที่ประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างเดียวกันได้ดังนั้นแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจะได้กระทำการโอบไหล่และพูดขอหอมแก้ม อ.ซึ่งเป็นพนักงานทำความสะอาดที่บริษัทอื่นส่งมาทำความสะอาดโรงแรมของจำเลยก็เข้าลักษณะเป็นแขกหรือพนักงานอื่นเช่นกันทั้งยังเป็นความผิดทางอาญาฐานกระทำอนาจารด้วยแม้ขณะที่โจทก์กระทำจะไม่มีผู้อื่นพบเห็นแต่ก็มี อ. ที่พบเห็นและได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้ร่วมงานฟังจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงแล้วและมิใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ ร้ายแรง จำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชย