คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สันติ ทักราล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 810 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษีและผลของการยอมรับหนี้เป็นหนังสือ
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วคดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18 มีนาคม 2529จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่ง ป.พ.พ. ส่วนการยึดทรัพย์ตาม ป.รัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าว มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพความรับผิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษี, การสะดุดหยุดของอายุความ, การรับสภาพหนี้, และการฟ้องร้องภายใน 2 ปี
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18มีนาคม 2529 จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วคดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนการยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าว มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพความรับผิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษี การรับสภาพหนี้ และผลของการยึดทรัพย์
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าวแต่เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18 มีนาคม2529 จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11พฤศจิกายน 2540 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนการยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิซื้อที่ดิน ประเมินค่ารายปีต้องพิจารณาค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่ มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปี เป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมิน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสาม หาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณโดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่ารวมสิทธิซื้อ VS ค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปีเป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมินคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิ ที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามหาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของ ทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวม ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณ โดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณอันเป็นการไม่ชอบจึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่ม กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเครดิตภาษี
ในเดือนภาษีกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจำเลยที่ 1 จึงยังมีภาษีที่จะชำระเกินอยู่ จำเลยที่ 1 สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อไปได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสามและเดือนต่อ ๆ ไปหากจำเลยมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอีกก็สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปอีกได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์เรียกเก็บภาษีในเดือนที่ตรวจพบความผิดเท่านั้นไม่นำเอาภาษีที่จำเลยที่ 1ชำระเกินมาคิดคำนวณด้วยในเดือนที่ตรวจพบความผิดต่อเนื่องไปถึงเดือนถัด ๆ ไป ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา 83/2และไม่มีบทกฎหมายรองรับสนับสนุนอีกทั้งยังไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะเดือนใดหากผู้ชำระภาษียังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ก็ย่อมมีสิทธินำไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ตลอด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่จำเลยที่ 1เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2536จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยจึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระ ในเดือนที่แล้วมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลย
จำเลยนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ สองเท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวหาได้มุ่งหมายให้ปรับ ทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตาม มาตรา 89(4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเครดิตภาษีซื้อเกิน และการเรียกเงินเพิ่ม กรณีใช้ใบกำกับภาษีปลอม
ในเดือนภาษีกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย จำเลยที่ 1 จึงยังมีภาษีที่จะชำระเกินอยู่ จำเลยที่ 1 สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อไปได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม และเดือนต่อ ๆ ไปหากจำเลยมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอีก ก็สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปอีกได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์เรียกเก็บภาษีในเดือนที่ตรวจพบความผิดเท่านั้น ไม่นำเอาภาษีที่จำเลยที่ 1 ชำระเกินมาคิดคำนวณด้วยในเดือนที่ตรวจพบความผิดต่อเนื่องไปถึงเดือนถัด ๆ ไป ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป. รัษฎากร มาตรา 83/2 และไม่มีบทกฎหมายรองรับสนับสนุน อีกทั้งยังไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะเดือนใดหากผู้ชำระภาษียังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ก็ย่อมมีสิทธินำไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ตลอด
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จำเลยที่ 1 เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยที่ 1 ยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระในเดือนที่แล้วมา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89 (7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้น โดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตามมาตรา 89 (4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องยื่นคำร้องก่อนฟ้องคดี หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ได้ชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ไว้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวคืน เป็นเรื่องการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนโจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 9 โจทก์รับว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เพราะไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีก่อนฟ้อง
โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ได้ชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ไว้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวคืนเป็นเรื่องการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อน โจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 9 โจทก์รับว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องยื่นคำร้องตามหลักเกณฑ์ก่อนฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้กรมสรรพากรจำเลยที่ 2 คืนภาษีธุรกิจเฉพาะให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย อ้างว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
of 81