พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ข้อ 10 (1) สโมสรรัฐสภาไม่ได้เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในหน้าที่ควบคุมดูแลของโจทก์และมิได้เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามประกาศรัฐสภา โดยผู้จัดการสโมสรรัฐสภาและคณะกรรมการสโมสรรัฐสภามีอำนาจดูแลและจัดการบริหารทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา อนุมัติการจ่ายเงินของสโมสรรัฐสภา และจัดการซึ่งกิจการโดยทั่วไปของสโมสรรัฐสภา โจทก์มิได้เป็นคณะกรรมการสโมสรรัฐสภาหรือผู้จัดการสโมสรรัฐสภา จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา คำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเป็นประธานกรรมการสโมสรรัฐสภา และผู้จัดการสโมสรจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มิได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะมีอำนาจเข้าบริหารกิจการและทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา โจทก์ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา การเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาหรือไม่ ต้องปรากฏข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด ทั้งการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การกระทำความผิดของจําเลยที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการกระทำต่อรัฐซึ่งเป็นอำนาจของหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวตาม ป วิ อ. มาตรา 28 (1) โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147, 151, 157, 334 และ 335
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการปลอมเงินตราและใช้เงินปลอมลักทรัพย์ การหักวันคุมขัง และการแจ้งข้อหา
จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราธนบัตรของรัฐบาลไทยชนิดราคา 100 บาท และมีธนบัตรปลอมนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอม เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ทำปลอมและมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้แล้ว จากนั้นจำเลยนำธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์ ด้วยการใส่ธนบัตรปลอมดังกล่าวเข้าไปในช่องรับเงินของตู้เติมเงินบุญเติมของผู้เสียหายเพื่อโอนเงินจำนวนดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้มีชื่อที่จำเลยมีหรือเปิดไว้ใช้งานโดยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาเงินดังกล่าวไป เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2648/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ แต่พิพากษาลงโทษฐานรับของโจรได้ หากพฤติการณ์สอดคล้อง
โรงแรมของผู้เสียหายปิดกิจการตั้งแต่ปี 2559 ทั้งปักป้ายมีข้อความระบุว่า "ห้ามเข้า ห้ามบุกรุก ปิดกิจการ" และไม่มีผู้รักษาความปลอดภัยประจำอยู่ สุจริตชนโดยทั่วไปย่อมไม่เข้าไปในบริเวณดังกล่าว ช่วงเวลาเกิดเหตุ จำเลยขับรถจักรยานยนต์สามล้อผ่านหน้าโรงแรมของผู้เสียหาย อ.ร้องเรียกให้จำเลยช่วยลากรถเข็นล้อเลื่อนซึ่งบรรทุกบานไม้อัดยางช่องชาร์ปกลับบ้าน เมื่อเหตุเกิดเวลากลางคืนอันเป็นยามวิกาล ซึ่ง อ. พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านโจทก์ว่า พยานไปนำบานประตูไม้จากโรงแรม ร. ไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ใด บานประตูไม้อัดยางช่องชาร์ปที่ อ. นำมามีจำนวนมากถึง 14 บาน จำเลยย่อมต้องตระหนักถึงความไม่สุจริตของ อ. และรับรู้ถึงความผิดปกติเกี่ยวกับแหล่งที่มาของบานประตูไม้อัดยางช่องชาร์ปว่าต้องเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรับไว้ด้วยประการใด ๆ และช่วยพาเอาไปเสียซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ครบองค์ประกอบเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 แล้ว แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมตาม ป.อ. มาตรา 334, 335, 336 ทวิ แต่เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร อันเป็นกรณีซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวมาในคำฟ้อง แต่ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา ความผิดอันยอมความได้ ความสำคัญของการร้องทุกข์ภายในกำหนด
ความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 และเป็นการกระทำที่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ ตาม ป.อ. มาตรา 71 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 96 การที่โจทก์ร่วมไปดูที่ดินที่โจทก์ร่วมครอบครองทำประโยชน์ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 และพบว่ามีคนลักตัดต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกไว้ในที่ดินดังกล่าว จึงเดินทางไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนในวันเดียวกันนั้นว่าต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ร่วมปลูกไว้ในที่ดินที่โจทก์ร่วมครอบครองทำประโยชน์ถูกลักตัดไปทั้งหมด 40 ไร่ จึงมาแจ้งไว้เพื่อให้สืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีต่อไป และในชั้นนี้ได้ขอลงประจำวันให้เป็นหลักฐานไว้ก่อนนั้น เป็นการที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและการกระทำนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมยังไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ก็มีความประสงค์ให้เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีต่อไป และแม้จะมีข้อความว่าในชั้นนี้ได้ขอลงประจำวันให้เป็นหลักฐานไว้ก่อน แต่ก็ชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์ร่วมในขณะนั้นว่า โจทก์ร่วมมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ การแจ้งความดังกล่าวจึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) แม้ภายหลังเมื่อโจทก์ร่วมรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นจำเลยแล้ว แต่เพิ่งไปแจ้งความเพิ่มเติมให้ดำเนินคดีแก่จำเลย รวมทั้งให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2561 หลังรู้ตัวผู้กระทำความผิดหลายปีก็ไม่ทำให้คำร้องทุกข์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เสียไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ร่วมร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.อ. มาตรา 96 แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับของจำเลยต้องมีพยานหลักฐานประกอบยืนยันความผิด การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และปลอมแปลงเอกสารเป็นกรรมเดียว
คำรับของจำเลยทั้งสองแม้จะถือว่าเป็นคำรับอันเป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของจำเลยทั้งสองและสามารถใช้ยันจำเลยทั้งสองในชั้นพิจารณาของศาลได้ก็ตาม แต่โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบให้มั่นคงว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำผิดตามคำรับด้วยจึงจะลงโทษจำเลยทั้งสองได้
แม้จำเลยที่ 2 ปลอมใบส่งสินค้าและนำใบส่งสินค้าปลอมไปใช้ภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้ลักทรัพย์ของนายจ้างสำเร็จไปแล้ว แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน โดยจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะนำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อปกปิดการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่ตนก่อขึ้น ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
แม้จำเลยที่ 2 ปลอมใบส่งสินค้าและนำใบส่งสินค้าปลอมไปใช้ภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้ลักทรัพย์ของนายจ้างสำเร็จไปแล้ว แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน โดยจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะนำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อปกปิดการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่ตนก่อขึ้น ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8491/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจากยกฟ้องเป็นจำคุก โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและพฤติการณ์ร่วม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร เป็นการฟ้องให้ศาลเลือกลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยพร้อมกันทั้งสองข้อหาได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนศาลอุทธรณ์ เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ตามที่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ ฉ้อโกง และผู้สนับสนุนความผิด การพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของบริษัท ก. ผู้เสียหายขณะอยู่ในความครอบครองของ ร. แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า เจ้าพนักงานตำรวจยืมรถตามฟ้องจากผู้อื่นแล้วให้ ร. นำไปส่งมอบแก่พวกจำเลยแลกกับค่าตอบแทนเป็นเงิน 10,000 บาท หาใช่เป็นการลักรถจักรยานยนต์ตามฟ้องไปจาก ร. ไม่ จึงเป็นกรณีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลยกฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และลงโทษฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้เช่นกัน ถือว่าเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และการที่จำเลยทั้งสามชี้ช่องแนะนำให้ ร. ไปทำสัญญาเช่าซื้อและเสนอเงินค่าตอบแทนในการนำรถจักรยานยนต์มาส่งมอบจำนวน 10,000 บาท ดังกล่าว อาจถือว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ร. ก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ต้องเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 86 ที่บัญญัติว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด หมายถึงต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นด้วย จึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำก่อนหรือขณะกระทำความผิดได้ แตกต่างกับบทบัญญัติแห่งมาตรา 84 วรรคสองตอนท้าย ที่อาจมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ได้แม้ว่าความผิดมิได้กระทำลงก็ตาม เมื่อคดีนี้เกิดจากการวางแผนของเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อน และเป็นการขอยืมรถจักรยานยนต์จากผู้อื่นเพื่อให้ ร. ขับไปทำทีส่งมอบแก่พวกจำเลย หาได้เกิดจาก ร. หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง อันจะถือเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 เมื่อความผิดตามมาตรา 341 ไม่มีเสียแล้ว ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดที่ต้องนำความผิดตามมาตรา 341 มาประกอบกับมาตรา 86 ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 86 ได้อีกด้วย และกรณีดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษดุจจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อซื้อและการวางแผนจับกุม ไม่เข้าข่ายความผิดพยายามลักทรัพย์ ต้องพิสูจน์เจตนาทุจริต
ก่อนเกิดเหตุ ย. แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า รถจักรยานยนต์ของตนถูกคนร้ายลักไปซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้ว ย. เช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากผู้ให้เช่าซื้อ แล้วนำไปขายต่อให้แก่ผู้ใช้ชื่อว่า ข. เพื่อแลกกับเงินสด 13,000 บาท โดยจะมีชายไม่ทราบชื่อไปรับรถและมอบเงินให้ แต่ ย. ต้องไปแจ้งความว่ารถหายเพื่อให้ผู้รับประกันภัยรถคันดังกล่าวชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ เจ้าพนักงานตำรวจจึงวางแผนจับกุมโดยให้ ก. ติดต่อขอกู้ยืมเงิน 20,000 บาท จากผู้ใช้ชื่อว่า ข. และผู้ใช้ชื่อว่า ข. แจ้งให้ ก. ไปเช่าซื้อรถจักรยานยนต์แล้วนำมามอบให้แลกกับเงิน 20,000 บาท การที่ ก. นัดจะส่งมอบรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลย แล้วจำเลยจะมอบเงินให้ ก็เป็นเรื่องที่ ก. วางแผนจับกุมจำเลยโดยจะส่งมอบการครอบครองรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายให้แก่จำเลยเอง มิใช่จำเลยจะเอาไปซึ่งการครอบครองรถจักรยานยนต์จาก ก. โดยเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12811/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเบียดบังทรัพย์ vs. ลักทรัพย์: ปัญหาการวินิจฉัยความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์จากการยืมทรัพย์แล้วไม่คืน
กรณีจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาแย่งการครอบครองทรัพย์นั้นโดยทุจริตตั้งแต่ที่เข้าแย่งการครอบครอง แต่ขณะที่จำเลยยืมคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจากผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาจะเอาไปในลักษณะที่เป็นการตัดกรรมสิทธิ์ตั้งแต่แรก จำเลยยังคงพักอยู่ที่โรงแรมตรงข้ามอู่ซ่อมรถของผู้เสียหาย เหตุที่จำเลยหลบหนีออกจากโรงแรมโดยนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กไปด้วย เพราะไม่ต้องการชำระค่าซ่อมรถที่จำเลยค้างชำระผู้เสียหาย จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองเป็นของจำเลยโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12681/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์ – การพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพและคำร้องขอฝากขัง
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยลักสร้อยคอทองคำ หนัก 3 บาท 1 เส้น พร้อมพระสมเด็จหลวงพ่อโสธร 1 องค์ ของ อ. ผู้เสียหายไป โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 335, 336 ทวิ ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกเอาข้อเท็จจริงตามคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหามาฟังว่าจำเลยใช้ยานพาหนะในการเดินทางไปมาเท่านั้น มิใช่จำเลยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปมาเป็นเหตุยกฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ หาได้ไม่