คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงานหนักและเครียด
ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงาน การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาอีกด้วย เป็นสาเหตุแห่งความเครียดทำให้หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 1 เมษายน 2515 ข้อ 54 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงานในขบวนรถไฟ: การคุ้มครองแรงงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดยผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่เวลา 23 นาฬิกา จนถึงเวลา 4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้เริ่มปฏิบัติงานต่อจนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อไป ดังนั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการฝึกซ้อมกีฬา แม้ไม่มีวัตถุประสงค์ในกฎหมายจัดตั้ง
วัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการ ซึ่งรัฐวิสาหกิจจะดำเนินการเท่านั้น งานของรัฐวิสาหกิจหาได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะเท่าที่ระบุไว้ดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาก็ตาม แต่เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์แล้ว การกีฬาจึงเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง การที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังแต่งตั้งผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อม เมื่อใดก็ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานแก่องค์การฟอกหนังแล้ว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายขณะฝึกซ้อมกีฬาเนื่องจากออกกำลังกายเกินควร ย่อมเป็นกรณีผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม กับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับ ที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตามข้อ 54 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีความหมายว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีกำหนดห้าปี
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างต้องรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และจ่ายเป็นรายเดือนตามที่ศาลแรงงานพิพากษา
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประสบอันตรายระหว่างเดินทางกลับจากการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน
อ.เป็นลูกจ้างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ อ.นำหลักฐานการอนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนไปให้ผู้สมัครรับจัดตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนลงชื่อ อ.จึงเดินทางไปตามคำสั่ง ถือได้ว่าอ.เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานในทางการที่จ้างของโจทก์ ดังนั้นในระหว่างที่ อ.เดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน อ.ประสบอุบัติเหตุถูกรถคันอื่นชนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของลูกจ้างถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน หากนายจ้างมอบหมายให้เป็นนักกีฬาตามระเบียบ
ผู้จัดการสาขาของธนาคารนายจ้างกำหนดให้โจทก์ลูกจ้างเป็นนักกีฬาประเภทกีฬาฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลของธนาคารตามระเบียบว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคาร แม้งานประจำของโจทก์ได้แก่การทำงานเป็นกิจการของธนาคาร ซึ่งเกี่ยวกับการให้กู้เงินและรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปก็ตามเมื่อโจทก์ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลให้ธนาคารที่จัดขึ้นในวันหยุดซึ่งอยู่นอกเวลาทำงานปกติแล้วได้รับบาดเจ็บกระดูกหน้าแข้งขวาอันเล็กหักย่อมเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองแรงงาน: บาดเจ็บจากอุบัติเหตุระหว่างทำงาน แม้ไม่บรรยายถึงการสูญเสียอวัยวะโดยตรง ฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนซึ่งจำเลยเป็นประธานและวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้รับอันตรายโดยประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่ แพทย์ลงความเห็นว่ากระดูกต้นขาขวาและกระดูกหน้าแข้งแตกละเอียด เข่าขวาจะงอพับไม่ได้ตลอดไป กระดูกอักเสบเป็นหนองเรื้อรังที่ขาขวาตลอดไป ดังนี้ โจทก์ได้บรรยายถึงบาดแผลของโจทก์ที่เกิดจากอุบัติเหตุและผลที่ได้รับจากอุบัติเหตุนั้นแล้ว ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 วรรคสอง มีข้อความว่า การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้ถือว่าลูกจ้างสูญเสียอวัยวะนั้นด้วย ฯ โจทก์จึงหาจำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพด้วยไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนจากการประสบอันตราย/เจ็บป่วยเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง ในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้วยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้าง โดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน เพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรง มิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้วในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนการผิดนัดของจำเลย ย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับวันจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย: หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเป็นรายเดือน หมายความว่าต้องจ่ายค่าทดแทนทุกเดือน เพื่อคุ้มครองมิให้ลูกจ้างต้องขาดรายได้นานเกินไปไม่ใช่ข้อกำหนดในการนับระยะเวลา ข้อความที่ว่าให้นับแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดเวลาที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้ ไม่อาจแปลความได้ว่า ให้นับระยะเวลาเป็นรายวันติดต่อกัน กรณีถือได้ว่ากฎหมายแรงงานมิได้กำหนดการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องมีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการถูกทำร้ายโดยไม่เกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ปิดเปิดเครื่องกั้นถนนถูกคนร้ายใช้ปืนยิงได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างอย่างไร ตามทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนก็เพียงสันนิษฐานว่าคนร้ายยิงผิดตัวเข้าใจว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของโจทก์อีกคนหนึ่งซึ่งเข้าเวรก่อนหน้านั้น สาเหตุที่ลูกจ้างถูกคนร้ายยิงจึงยังไม่เป็นที่แน่ชัด แม้จะเป็นการได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงานก็ถือไม่ได้ว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
of 2