พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ: สิทธิครอบครองยังไม่เกิด การซื้อขายไม่มีผลผูกพัน
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดระยะเวลาห้ามโอนภายใน10 ปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่จำเลย จำเลยคงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น เมื่อจำเลย ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินจึงไม่อาจสละหรือโอน สิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377 หรือ มาตรา 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ การที่จำเลยขายที่ดินให้แก่บิดาโจทก์จึงไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์เป็นผู้สืบสิทธิจากบิดาจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ จำเลยยังไม่มีสิทธิครอบครอง จึงโอนสิทธิให้โจทก์ไม่ได้
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา58ทวิซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดระยะเวลาห้ามโอนภายใน10ปีเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยจำเลยคงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้นเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินจึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1377หรือมาตรา1378ให้แก่ผู้อื่นได้การที่จำเลยขายที่ดินให้แก่บิดาโจทก์จึงไม่มีผลตามกฎหมายโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิจากบิดาจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลเป็นผู้มีอำนาจใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงของโจทก์และจำเลยจนแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานโจทก์บางปาก และไม่วินิจฉัยพยานโจทก์และพยานจำเลยบางปากนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระเงิน
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30)และตามมาตรา169เดิม(มาตรา193/32)บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเมื่อตามสัญญาข้อ4จำเลยที่1จะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่4มกราคม2524การที่จำเลยที่1ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญาข้อ6ระบุว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ถือได้ว่าระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่4มกราคม2524ซึ่งนับถึงวันฟ้องไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย มิใช่วันครบกำหนดตามคำบอกกล่าว
การกู้ยืมเงินมิได้มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30จำเลยที่1กู้เงินโจทก์เมื่อวันที่4ธันวาคม2523กำหนดชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้งและกำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่4ธันวาคม2524จำเลยที่1จะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่4มกราคม2524ตามสัญญาข้อ4ตั้งแต่กู้เงินไปจำเลยที่1ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญาข้อ6ระบุว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ถือว่าระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันดังกล่าวมิใช่เริ่มนับแต่วันครบกำหนดให้ชำระเงินตามคำบอกกล่าวของโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน10ปีคดีจึง ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน เริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30) และตามมาตรา 169เดิม (มาตรา 193/32) บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อตามสัญญาข้อ 4 จำเลยที่ 1 จะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่ 4 มกราคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญา ซึ่งสัญญาข้อ 6 ระบุว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ ถือได้ว่าระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ นับแต่วันที่ 4มกราคม 2524 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด และการไม่เข้าข่ายการเพิกถอนสัญชาติ
ผู้ร้องเป็นบุตรของคนสัญชาติ จีนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลตามมาตรา8ทวิวรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา5ผู้ร้องจึงยังคงได้สัญชาติไทยตามมาตรา7(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: ศาลไม่อาจริบได้หากลงโทษอาวุธปืนฯ แล้ว แม้มีบทบัญญัติอาญาที่ให้ริบได้
เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา8ทวิวรรคสอง,72ทวิวรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดและเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา371แล้วก็จะอาศัยประมวลกฎหมายอาญามาตรา371มาสั่งริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้โดยชอบเมื่อความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯที่ลงโทษจำเลยไม่ได้บัญญัติเรื่องริบทรัพย์ไว้ศาลก็ริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาวุธปืน และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อย
ความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้พาอาวุธปืนเข้าไปในห้องอาหารที่เกิดเหตุ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายข้างต้น
ความผิดฐานพาอาวุธปืนนั้นแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์ อาวุธปืนของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด และแม้ว่าจำเลยจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371ซึ่งศาลอาจสั่งริบอาวุธปืนของกลางได้ก็ตาม แต่ข้อหาความผิดตามมาตรา 371 นี้เป็นกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแล้ว ย่อมจะอาศัยบทที่มีโทษเบา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 มาสั่งริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานพาอาวุธปืนนั้นแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์ อาวุธปืนของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด และแม้ว่าจำเลยจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371ซึ่งศาลอาจสั่งริบอาวุธปืนของกลางได้ก็ตาม แต่ข้อหาความผิดตามมาตรา 371 นี้เป็นกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแล้ว ย่อมจะอาศัยบทที่มีโทษเบา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 มาสั่งริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถยนต์ที่ถูกโจรกรรม แม้ผู้ขายไม่ทราบเหตุ ผู้ขายก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยผู้ขายต้องรับผิดในการ รอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา475แม้จะไม่ทราบถึงเหตุแห่งการรอนสิทธิก็ตามและเมื่อโจทก์จำต้องยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทซึ่งซื้อมาจากจำเลยไปเพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาความรับผิดของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา481แต่มีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30