พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10306/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรักษาความปลอดภัย: ความรับผิดต่อรถยนต์ที่จอดในบริเวณที่ดูแล ความประมาทเลินเล่อ
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยจำเลยจะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินทั้งหมดภายในและภายนอกห้ามพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยมีหน้าที่ดูแลรถยนต์ทุกคันที่นำมาจอดรับมอบและเก็บรักษากุญแจรถไว้และพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดูแลทรัพย์สินของห้างในบริเวณโรงงานและรถยนต์ที่จอดอยู่นอกโรงงานด้วยและต้องเขียนรายงานเหตุการณ์ทุกๆชั่วโมงการที่ว.นำรถไปจอดแล้วนำกุญแจรถมามอบให้แก่ส.พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยและส.รับมอบกุญแจรถไว้โดยมิได้ทักท้วงซึ่งแสดงว่าว.นำรถไปจอดในเขตความรับผิดชอบดูแลของพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยแล้วต่อมามีคนร้ายลักรถยนต์คันดังกล่าวไปแสดงว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10306/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสัญญาจ้างรักษาความปลอดภัย: ความประมาทเลินเล่อในการดูแลทรัพย์สิน
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จำเลยจะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินทั้งหมดภายในและภายนอกห้าง พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยมีหน้าที่ดูแลรถยนต์ทุกคันที่นำมาจอด รับมอบและเก็บรักษากุญแจรถไว้และพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดูแลทรัพย์สินของห้างในบริเวณโรงงานและรถยนต์ที่จอดอยู่นอกโรงงานด้วย และต้องเขียนรายงานเหตุการณ์ทุก ๆ ชั่วโมงการที่ ว.นำรถไปจอดแล้วนำกุญแจรถมามอบให้แก่ ส.พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลย และ ส.รับมอบกุญแจรถไว้ โดยมิได้ทักท้วงซึ่งแสดงว่า ว.นำรถไปจอดในเขตความรับผิดชอบดูแลของพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยแล้วต่อมามีคนร้ายลักรถยนต์คันดังกล่าวไป แสดงว่า พนักงานรักษาความปลอดภัย ลูกจ้างของจำเลยปฎิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวเกินเลยถือเป็นความผิด แม้เนื้อข่าวไม่เกินเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าวันที่23ธันวาคม2532เวลากลางวันจำเลยที่1ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จโดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า"อย่างไรก็ตามได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น4คนคือนายไชยยศจิรเมธากร (โจทก์)ส.ส.อุดรธานีนายอุดรทองน้อยส.ส.ยโสธรและนายประณตเสริฐวิชา ส.ส.ร้อยเอ็ดทั้ง4คนเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ตนมีหลักฐานต่างๆพร้อมแล้วและพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาลหากต้องการ"โดยจำเลยที่1มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไปข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่าโจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใดทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าวข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นและจำเลยที่2นำข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวข่าวว่า"แฉ4ส.ส.ประชาธิปัตย์"พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น"ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิพม์ที่จำเลยที่2นำไปลงพิมพ์นั้นไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่าจำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ว่ามีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นจำเลยที่2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้นและข้อความที่จำเลยที่2ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่าโจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎรไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจำเลยที่2จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328 ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใดศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยที่3ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาและจำเลยที่4ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213และมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใส่ความหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. การยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2532 เวลากลางวันจำเลยที่ 1 ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า "อย่างไรก็ตาม ได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น 4 คน คือ นายไชยยศ จิรเมธากร (โจทก์)ส.ส. อุดรธานี นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ส.ส. อุดรธานี นายอุดร ทองน้อย ส.ส.ยโสธร และนายประณต เสริฐวิชา ส.ส. ร้อยเอ็ด ทั้ง 4 คน เป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ตนมีหลักฐานต่าง ๆ พร้อมแล้ว และพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาล หากต้องการ" โดยจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไป ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นอันแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใด ทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าว ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6750/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายถอนฟ้อง, อายุความครอบครอง, สิทธิเรียกร้องคืนการครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้ออกจากที่ดินพิพาทการดำเนินคดีดังกล่าวโจทก์ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 8 เป็นทนายความดำเนินคดีแทนและได้ให้อำนาจจำเลยที่ 8 ถอนฟ้องได้ด้วย จำเลยที่ 8 จึงมีอำนาจถอนฟ้องได้ในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจ หากการกระทำของจำเลยที่ 8ก่อให้เกิดความเสียหายก็เป็นความผิดของโจทก์ในการเลือกบุคคลเป็นตัวแทนโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 8 กับพวกฉ้อฉลโจทก์ทำให้การถอนฟ้องเป็นโมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 8 ถอนฟ้องในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายส่วนการกระทำของจำเลยที่ 8 หากเป็นละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใด โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยที่ 8 ต่างหากได้เมื่อการที่จำเลยที่ 8 ถอนฟ้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการถอนฟ้องได้
การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พร้อมด้วยบริวารออกจากที่ดินพิพาทก็มีความหมายเท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนเป็นของตนนั่นเอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่ครอบครองย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ คงได้เฉพาะสิทธิครอบครองเท่านั้น ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่ครอบครองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ครอบครองย่อมหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และข้อเท็จจริงปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ที่โจทก์ฟ้องเป็นครั้งแรกซึ่งฟ้องในปี 2531 ตลอดมา และโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่ 10 สิงหาคม2533 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาท หาใช่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาสิทธิครอบครองคืนเมื่อใดก็ได้เพราะไม่มีกำหนดอายุความไม่
การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พร้อมด้วยบริวารออกจากที่ดินพิพาทก็มีความหมายเท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนเป็นของตนนั่นเอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่ครอบครองย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ คงได้เฉพาะสิทธิครอบครองเท่านั้น ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่ครอบครองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ครอบครองย่อมหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และข้อเท็จจริงปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ที่โจทก์ฟ้องเป็นครั้งแรกซึ่งฟ้องในปี 2531 ตลอดมา และโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่ 10 สิงหาคม2533 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาท หาใช่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาสิทธิครอบครองคืนเมื่อใดก็ได้เพราะไม่มีกำหนดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6750/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความถอนฟ้อง, อายุความครอบครอง, การฟ้องเรียกคืนสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ถึงที่7ให้ออกจากที่ดินพิพาทการดำเนินคดีดังกล่าวโจทก์ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่8เป็นทนายความดำเนินคดีแทนและได้ให้อำนาจจำเลยที่8ถอนฟ้องได้ด้วยจำเลยที่8จึงมีอำนาจถอนฟ้องได้ในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจหากการกระทำของจำเลยที่8ก่อให้เกิดความเสียหายก็เป็นความผิดของโจทก์ในการเลือกบุคคลเป็นตัวแทนโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่8กับพวกฉ้อฉลโจทก์ทำให้การถอนฟ้องเป็นโมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่การที่จำเลยที่8ถอนฟ้องในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายส่วนการกระทำของจำเลยที่8หากเป็นละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดโจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยที่8ต่างหากได้เมื่อการที่จำเลยที่8ถอนฟ้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการถอนฟ้องได้ การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่1ถึงที่7พร้อมด้วยบริวารออกจากที่ดินพิพาทก็มีความหมายเท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนเป็นของตนนั่นเองเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่ครอบครองย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์คงได้เฉพาะสิทธิครอบครองเท่านั้นถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ที่ครอบครองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวผู้ครอบครองย่อมหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองและข้อเท็จจริงปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่1ถึงที่7ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ที่โจทก์ฟ้องเป็นครั้งแรกซึ่งฟ้องในปี253ตลอดมาและโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่10สิงหาคม2533เป็นเวลาเกินกว่า1ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทหาใช่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาสิทธิครอบครองคืนเมื่อใดก็ได้เพราะไม่มีกำหนดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีใหม่ แม้เคยมีโทษจำคุกแต่เปลี่ยนเป็นกักขัง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539ใช้บังคับมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่9มิถุนายนพ.ศ.2539และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่9มิถุนายน2539ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าวดังกล่าวซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินและการเพิ่มโทษ: ผลกระทบต่อผู้พ้นโทษก่อนบังคับใช้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินของตนพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ และปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีที่ดินเพียงแปลงเดียวดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2เพราะขณะยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้มาต่อสู้คดีนี้ ศาลจึงไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2เพราะขณะยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้มาต่อสู้คดีนี้ ศาลจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้หากผู้ซื้อรู้ถึงหนี้สิน
จำเลยที่2ทราบว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์มาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1โอนขายที่ดินของตนพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่2นั้นจำเลยที่2ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์และปรากฏว่าจำเลยที่1มีที่ดินเพียงแปลงเดียวดังกล่าวจำเลยที่1จึงไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้การกระทำของจำเลยที่1และที่2ทำให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่1และที่2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237 ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2เพราะขณะยื่นฟ้องจำเลยที่2อยู่ต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่2โดยจำเลยที่2ไม่ได้มาต่อสู้คดีนี้ศาลจึงไม่รับวินิจฉัย