คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผล อนุวัตรนิติการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยคบคิดฉ้อฉล: ผู้รับโอนยกข้อต่อสู้ได้หากพิสูจน์ได้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้
คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากทนายโจทก์ จำเลยได้นำหนังสือไปปรึกษากับทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงติดต่อกับทนายโจทก์เพื่อเจรจาเรื่องเช็คจำนวนเงิน 200,000 บาท โดยทนายโจทก์ยอมลดค่าเสียหายให้เหลือ 30,000 บาทนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ในเรื่องนี้ไว้แต่เป็นเพราะโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานระบุอ้าง น. ทนายโจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะสืบ จำเลยจึงไม่มีโอกาสถามค้านไว้ได้ ส่วนตัวโจทก์เองไม่ได้เป็นพยานผู้รู้เห็นหรือร่วมเจรจา จำเลยจึงไม่ได้ถามค้านไว้ คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญา ก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับได้ และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับคืน
แม้มีเหตุจะเป็นอุปสรรคในการทำการก่อสร้างของโจทก์อยู่บ้าง แต่โจทก์ยังสามารถทำการก่อสร้างในส่วนอื่นได้ และต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันโดยจำเลยผ่อนผันยืดเวลาทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จออกไปอีก และกำหนดไว้ในข้อ 3 ว่าความรับผิดชอบส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จเดิมเป็นต้นไป โจทก์ยอมให้จำเลยปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างอาคารโดยส่งมอบให้จำเลยล่าช้ากว่ากำหนดจำเลยจึงปรับโจทก์ตามสัญญา โดยหักเงินค่าปรับไว้จากค่าจ้าง เมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ให้จำเลยคืนค่าปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้น เพราะการที่จำเลยหักค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุผลชัดเจนว่าคำพิพากษาเดิมคลาดเคลื่อนอย่างไร การอ้างเพียงว่าหากได้ต่อสู้คดีแล้วผลจะเปลี่ยนไปไม่เพียงพอ
จำเลยยื่นคำร้องว่า หากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องก็ต้องต่อสู้คดีแน่นอน เพราะจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงิน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาค้ำประกันตามฟ้องโจทก์ หากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้วจะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเป็นเพียงข้ออ้างลอย ๆ ไม่ได้ยกเหตุผลขึ้นประกอบโดยละเอียดและชัดแจ้งว่า หากจำเลยได้ต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้ว จะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างเหตุว่าคำพิพากษาไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนตรงไหน ส่วนใด นอกจากนั้นก็ไม่ได้แสดงเหตุผลว่า หากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ คำพิพากษาจะเปลี่ยนแปลงเป็นผลดีแก่จำเลยอย่างไร จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นตรวจรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วการสั่งรับคำร้องเป็นเพียงกระบวนการเบื้องต้นที่จะให้คำร้องนั้นเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล มิได้ตัดอำนาจของศาลในการพิจารณาคำร้องนั้นต่อไปว่าชอบหรือไม่ ในชั้นตรวจรับคำร้อง แม้ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งยกคำร้องทันที แต่ได้นัดไต่สวนคำร้องไว้ก็ตาม เมื่อถึงวันนัด หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้ เมื่อเห็นว่า คำร้องดังกล่าวมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บทกฎหมายกำหนดไว้ หาจำต้อง ไต่สวนต่อไปไม่ เพราะเป็นการเปล่าประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนว่าคำพิพากษาเดิมไม่ถูกต้องและมีพยานหลักฐานสนับสนุน
จำเลยยื่นคำร้องว่า หากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องก็ต้องต่อสู้คดีแน่นอน เพราะจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงิน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาค้ำประกันตามฟ้องโจทก์ หากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้วจะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเป็นเพียงข้ออ้างลอย ๆ ไม่ได้ยกเหตุผลขึ้นประกอบโดยละเอียดและชัดแจ้งว่า หากจำเลยได้ต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้วจะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างเหตุว่าคำพิพากษาไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนตรงไหน ส่วนใด นอกจากนั้นก็ไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ คำพิพากษาจะเปลี่ยนแปลงเป็นผลดีแก่จำเลยอย่างไร จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นตรวจรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วการสั่งรับคำร้องเป็นเพียงกระบวนการเบื้องต้นที่จะให้คำร้องนั้นเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล มิได้ตัดอำนาจของศาลในการพิจารณาคำร้องนั้นต่อไปว่าชอบหรือไม่ ในชั้นตรวจรับคำร้อง แม้ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งยกคำร้องทันที แต่ได้นัดไต่สวนคำร้องไว้ก็ตาม เมื่อถึงวันนัด หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้ เมื่อเห็นว่าคำร้องดังกล่าวมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บทกฎหมายกำหนดไว้ หาจำต้องไต่สวนต่อไปไม่ เพราะเป็นการเปล่าประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มิใช่เรื่องอายุความ การยึดทรัพย์ก่อนไม่ขยายเวลาบังคับคดี
กำหนดระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็น ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่เรื่องอายุความ การที่ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยแล้ว เป็นเพียงขั้นตอนของการบังคับคดีหาทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตามกฎหมายขยายออกไปไม่ เช่นนี้ หากผู้ร้องยังประสงค์จะนำยึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้อีก หรือขอบังคับคดีต่อไป จะต้องกระทำภายในระยะเวลาดังกล่าว
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี มิใช่เรื่องอายุความ การไม่ดำเนินการภายในกำหนดทำให้สิ้นสิทธิ
กำหนดระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่เรื่องอายุความ การที่ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยแล้ว เป็นเพียงขั้นตอนของการบังคับคดีหาทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตามกฎหมายขยายออกไปไม่ เช่นนี้ หากผู้ร้องยังประสงค์จะนำยึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้อีก หรือขอบังคับคดีต่อไป จะต้องกระทำภายในระยะเวลาดังกล่าว
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา: การห้ามก่อสร้างและเก็บค่าเช่าบนที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์จะได้เงินค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินควรจะเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ที่โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและดูแลกิจการแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อห้ามเก็บค่าเช่าต้องมีประเด็นพิพาทเรื่องค่าเช่าเสียก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์จะได้เงินค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทควรจะเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและ ดูแลกิจการแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยหลังชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย
วินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อจำเลยเพียงนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง แม้ว่าหลังจากนั้นจำเลยจะได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายไปแล้วก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิในการรับช่วงสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่แล้วสิ้นไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเป็นที่สุดห้ามฎีกา: ผลของกฎหมายใหม่ต่อการยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 288โดยให้เพิ่ม วรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ(2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้...ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม"ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223 บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้...จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
of 67