คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผล อนุวัตรนิติการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังยึด/อายัด: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งมอบทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งเงินถึงศาลผู้มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290มีสาระสำคัญสองประการ ประการแรกเมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก กับให้เจ้าหนี้รายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นอีกประการหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นเนื่องจากมาตรา 290 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องไว้จึงได้บัญญัติไว้ในวรรคห้าว่าในกรณีอายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และเป็นบทบัญญัติที่เชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่งจึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดทุ่งสงบังคับคดีตามหมายอายัดแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินที่ถูกอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ในระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมโมฆะ: การจัดทำพินัยกรรมไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 1658, 1705)
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658 ที่บัญญัติว่า "(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน (2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการทำพินัยกรรมมีเฉพาะ ส. เข้าไปในบ้านเพื่อทำพินัยกรรมให้กับ บ. ตามที่ได้ยื่นคำร้องไว้ โดยปลัดอำเภออาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอกับ ถ. นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ร้านอาหารตรงกันข้ามกับปากตรอกทางเข้าบ้าน บ. เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ส. จึงนำพินัยกรรมนั้นมาให้ปลัดอำเภออาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอและ ถ. ลงลายมือชื่อที่ร้านอาหารแม้ในหน้าสุดท้ายของพินัยกรรมจะระบุว่า ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอ รับรองว่าเป็นผู้ทำหน้าที่จดข้อความ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าผู้ทำหน้าที่จดข้อความคือ ส. แม้จะฟังว่า ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอสั่งให้ ส. ช่วยจดข้อความแทน แต่ขณะจดข้อความนั้นมิได้กระทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันพินัยกรรมนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1658 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารถยนต์และเครื่องจักรกล ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้
สัญญาเช่าซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้เฉพาะการเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพเท่านั้น สัญญาเช่ารถยนต์และเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในประเภทที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ต้องปิดอากรแสตมป์ จึงไม่เข้าลักษณะแห่งตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าธรรมเนียมฎีกาไม่ทันกำหนด และเหตุผลที่ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกายกคำสั่งรับฎีกา
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาและกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาวางศาลภายในวันที่ 11 กรกฎาคม จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 13 กรกฎาคม ขออนุญาตวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาอ้างว่าเป็นช่วงเปิดเทอมซึ่งบุตรของจำเลยต้องใช้เงินมาก จำเลยติดต่อยืมเงินจากเพื่อนแล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ได้รับเงินตามที่ยืม จำเลยจึงเดินทางไปหาพี่ชายแต่พี่ชายไปทำงานต่างอำเภอ วันรุ่งขึ้นจึงพบและได้เงินมารวมกับเงินที่จำเลยมีอยู่แล้วนำมาวางศาล ดังนี้ เป็นกรณีที่ จำเลยไม่ขวนขวายหาเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาเสียแต่เนิ่น ๆ หาใช่เหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาตามคำร้องจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา จึงเห็นควรให้ยกคำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) และมาตรา 247 กรณีเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 142(5) ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในชั้นขอให้พิจารณาใหม่หลังมีคำพิพากษา ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำแถลงขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ และยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ หากจำเลยไม่เห็นด้วย ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 และมาตรา 229 แม้จะเป็นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ แต่เป็นการยื่นอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก็ตาม แต่เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้วจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ด้วย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องวางค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ที่กำหนดให้ ผู้อุทธรณ์นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์มิได้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น การอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับ คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยให้มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป ผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์เช่นเดียวกัน เมื่อผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินและผลกระทบต่อบุคคลภายนอกผู้ซื้อโดยสุจริต
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองโดยมีชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์ที่ 2 จึงโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไว้เพื่อไม่ให้ธนาคารบังคับจำนอง และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แก่ธนาคารดังกล่าวอีก ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เช่นนี้ เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าเสียหายจากประกันภัย: อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันจ่ายเงินชดเชย
ป.พ.พ. มาตรา 196 การชำระหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน คดีนี้เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินให้ผู้เอาประกันภัย ณ วันใด ถือว่าความเสียหายที่แท้จริงของโจทก์เกิดขึ้น ณ วันนั้น จึงต้องคิดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐซึ่งกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยกับเงินไทย ณ วันที่โจทก์จ่ายไปจริง ไม่ใช่วันเกิดเหตุละเมิด
of 67