คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา บูรณะไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการปักเสาไฟฟ้าและการขอบเขตของการยินยอมที่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการติดตั้ง
ความยินยอมของโจทก์ตามคำขอปักเสาพาดสายในที่ดินจัดสรรข้อ 9 วรรคแรก มีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอสัญญาว่าจะปฏิบัติตามข้อบังคับการใช้ไฟฟ้าและบริการของการไฟฟ้านครหลวง(จำเลยที่ 1) รวมทั้งที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไปทุกประการและข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้วว่า เสาสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆภายนอกเครื่องวัดฯ เป็นสมบัติของการไฟฟ้านครหลวง และยินยอมให้การไฟฟ้านครหลวงเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้เพียงพอกับผู้ใช้ภายในและภายนอกที่ดินจัดสรรด้วย คำว่า"เปลี่ยนแปลงต่อเติม" ในข้อความดังกล่าวหมายความว่าเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมใหม่ หรือแปลงหรือต่อเติมจากของเดิมเพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไม่ว่าในหรือนอกที่ดินจัดสรรของโจทก์ให้ได้เพียงพอตามที่จำเลยที่ 1 จะเห็นสมควรตามความจำเป็น หาได้หมายความว่าจะทำได้เฉพาะเสาและสายไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายนอกเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมให้มีขนาดที่จะจ่ายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ให้เพียงพอเท่านั้นไม่ส่วนข้อความในวรรคสองว่า นอกจากนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงแบบหรือแผนผังการปักเสาพาดสายไปจากแบบแผนผังที่ข้าพเจ้ายื่นไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวง ไม่ว่าจะเป็นด้วยกรณีใดก็ตามทำให้การไฟฟ้านครหลวงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ข้าพเจ้า (โจทก์)ขอให้สัญญาว่าจะรับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตลอดจนค่าเสียหายให้แก่การไฟฟ้านครหลวงโดยไม่มีข้อโต้แย้งแต่ประการใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ตกลงยอมรับผิดที่จะชำระค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 1 หากแบบหรือแผนผังที่โจทก์ยื่นขอไว้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่ได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่อเติมเพื่อจ่ายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ให้เพียงพอตามวรรคหนึ่งแต่อย่างใด ฉะนั้นแม้จำเลยที่ 1จะปักเสาพาดสายไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าผ่านที่ดินของโจทก์ก็ถือได้ว่าได้รับความยินยอมจากโจทก์แล้วดังนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2ที่ขอให้จำเลยที่ 1 กระทำให้ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2ก็ย่อมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดในการชี้สองสถาน การวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นเหตุให้ศาลต้องกลับคำพิพากษา
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้วศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้องทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาคดีตามประเด็นที่กำหนดในชั้นชี้สองสถาน การวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นเหตุให้ต้องกลับคำพิพากษา
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้วศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้องทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดี: ศาลต้องตัดสินตามประเด็นที่กำหนด ห้ามวินิจฉัยนอกฟ้อง
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้ว ศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอออกหมายบังคับคดีซ้ำ – ประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว – ป.วิ.พ. มาตรา 144
จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยก่อนที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนคำขอของโจทก์ที่ขอให้ออกหมายบังคับคดี จำเลยที่ 1ได้ยื่นคำคัดค้านว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นในชั้นไต่สวนคำขอออกหมายบังคับคดีของโจทก์จึงมีประเด็นพิพาทกันว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง การที่จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องเข้ามาอีกโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 แม้จะมีคำขอให้โจทก์คืนเงินที่รับไปจากจำเลยที่ 1 มาด้วย ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4518/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและอายุความสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยฟ้องไม่ซ้ำ เพราะเหตุบอกเลิกสัญญาต่างกัน และฟ้องยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิก โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง ผลเท่ากับยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลย แต่คดีนี้โจทก์อ้างว่าบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว เป็นการอ้างเหตุขึ้นใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนรวมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ และให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการติดตามหารถยนต์ที่เช่าซื้อ ไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยตรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนรับผิดร่วมกันในหนี้จากการว่าจ้างช่วง แม้ไม่มีมอบหมายโดยตรง หากเป็นการค้าขายปกติของห้าง
จำเลยทั้งสามเป็นหุ้นส่วนกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันประกอบกิจการรับจ้างถมดิน ทราย และลูกรัง โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบส่งมอบงานและรับค่าจ้างถมดินด้วยและหุ้นส่วนทุกคนจะรับผิดชอบในกิจการดังกล่าวจนแล้วเสร็จการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างช่วงให้โจทก์ถมดินในที่ดินบางส่วนซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างกับผู้ว่าจ้าง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้รับมอบหมายจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นโดยตรง แต่กิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้นก็เพื่อให้สามารถส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้างทันตามสัญญา จึงอยู่ภายในกรอบแห่งวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายโดยตรงของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนอันถือได้ว่าเป็นการจัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในกิจการที่ว่าจ้างนั้น และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา: อำนาจฟ้องยังไม่สิ้นสุดแม้ถอนฟ้องคดีก่อน
แม้ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป ก็มีความหมายว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 และคดีก่อนศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง ยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เมื่อโจทก์มาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
ที่จำเลยฎีกาว่า ค่าถมดินที่ค้างชำระได้หักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วนั้น จำเลยให้การต่อสู้คดีแต่เพียงว่า ที่ดินที่ซอยอ่อนนุชจำเลยไม่เคยจ้างโจทก์ให้ถมดินหรือรับซื้อดินจากโจทก์ ส่วนที่ดินที่ซอย 50 เขตบางเขนนั้น จำเลยมิได้จ้างโจทก์ถมดิน จำเลยเพียงแต่รับซื้อดินจากโจทก์บางส่วนแต่ก็ได้ชำระค่าดินให้โจทก์ไปแล้ว ไม่เคยค้างชำระค่าดิน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้นั้น จึงไม่ชอบ ฎีกาจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิในการฟ้องคดีเดิมใหม่ และไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากคดียังไม่มีคำพิพากษา
โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว โจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นอนุญาต แม้คำร้องจะระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป ก็มีความหมายว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้นไม่อาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยอีก ดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
คดีก่อนศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง ยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เมื่อโจทก์มาฟ้องใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้บังคับคดีมรดกได้ แม้ยังมิได้ตั้งผู้จัดการมรดก
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมขอให้บังคับคดีเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องรอให้มีผู้จัดการมรดกหรือแบ่งมรดกระหว่างทายาทของจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะคัดค้านและขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลก็ตาม กรณีก็หาใช่เหตุสมควรที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 292 (2) ไม่
of 31