พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่ละเลยหน้าที่ทำให้บริษัทเสียหาย คดีไม่ขาดอายุความหากอ้างอิงอายุความ 10 ปี
แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนและในมูลละเมิด แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือในฐานะตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำการฝ่าฝืนระเบียบสหกรณ์ น. ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยการทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อและมิได้ให้บริษัท ภ. จัดหาหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามระเบียบ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2764/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้บริโภค: ความเสียหายต่อสุขภาพจากสารสะสม/แสดงอาการ & การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
อายุความตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 13 แยกความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้บริโภค และกรณีที่สองเป็นผลของสารที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการของผู้บริโภค เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า จําเลยที่ 2 ฉีดชีวโมเลกุลให้โจทก์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2558 รวม 6 ครั้ง การฉีดชีวโมเลกุลเข้าสู่ร่างกายเป็นการให้บริการทางการแพทย์ซึ่งอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของฝ่ายจําเลยผู้ประกอบธุรกิจ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังจากโจทก์ได้รับการฉีดชีวโมเลกุลครั้งแรก โจทก์มีอาการแพ้ และเมื่อโจทก์ได้รับการฉีดในครั้งต่อ ๆ มา โจทก์มีอาการแพ้รุนแรงมากขึ้นจนเกิดอาการผื่นขึ้นบนใบหน้า ลำคอและเกิดตุ่มขึ้นตามร่างกายโจทก์ จนกระทั่งจําเลยที่ 1 ต้องพาโจทก์เข้ารับการรักษาอาการแพ้ที่โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 จนถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 แต่การรักษาไม่ได้ผล แพทย์จึงหยุดการรักษา แสดงว่าอาการแพ้ที่เกิดขึ้นตามร่างกายของโจทก์มีมาอย่างต่อเนื่องเกือบ 2 ปี ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ และไม่แน่นอนว่าในอนาคตจะมีอาการอย่างไรต่อไป ผลของสารที่โจทก์ได้รับจากการฉีดสารชีวโมเลกุลจําต้องใช้ระยะเวลาในการแสดงอาการ ไม่อาจถืออาการแพ้ที่เห็นได้โดยประจักษ์ก่อนหน้านั้นเป็นผลสุดท้ายของความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีจึงต้องใช้อายุความ 3 ปี ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 13 มิใช่อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วันที่โจทก์รู้ถึงความเสียหายจึงยังไม่เริ่มต้นนับ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2560 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากผู้ชำระบัญชีที่ไม่ถูกต้อง การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชำระบัญชี การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 โจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระภาษี เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่พ้น 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 และเมื่อโจทก์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมมีผลต่อการบังคับคดีของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกัน กับการฟ้องคดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันดังกล่าวและเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดนับแต่พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 วันที่ 30 กันยายน 2556 คดียังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอม การทุบทำลายกำแพงคอนกรีตที่เป็นสาธารณูปโภคถือเป็นการละเมิดและกระทบต่อสิทธิเจ้าของรวม
กำแพงคอนกรีตด้านหลังอาคารพาณิชย์ นอกจากจะบ่งบอกถึงแนวเขตที่ดินโครงการจัดสรรที่ดินของโจทก์แล้ว ยังมีสภาพเพื่อป้องกันทั้งบุคคลภายนอกและบุคคลที่อาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์ทุกคนจำต้องเข้าออกตามทางที่โจทก์กำหนดเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ในโครงการจัดสรรและบุคคลทั่วไปที่เข้ามาติดต่อหรือค้าขาย กำแพงคอนกรีตจึงเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ที่โจทก์ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณูปโภคตามความหมายของ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 4 และ 43
การที่จำเลยทุบทำลายกำแพงคอนกรีตแล้วทำเป็นทางเข้าออกไปสู่ที่ดินแปลงอื่นนอกโครงการจัดสรรของโจทก์ เพื่อประโยชน์สำหรับจำเลย บริวารลูกจ้าง และลูกค้าในกิจการค้าของจำเลยโดยไม่ต้องใช้เส้นทางถนนในโครงการจัดสรรของโจทก์ไปออกถนนสาธารณะ ไม่ต้องผ่านทางเข้าออกที่โจทก์กำหนด และไม่ต้องผ่านระบบการรักษาความปลอดภัยของโจทก์เหมือนเจ้าของที่ดินในโครงการรายอื่น ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการรักษาความปลอดภัย การจราจร การรักษาความสงบเรียบร้อยของโจทก์และผู้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ถือว่าเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นในโครงการจัดสรรของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ จึงเป็นการใช้สอยกำแพงคอนกรีตขัดต่อสิทธิเจ้าของรวมคนอื่น โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมและในฐานะผู้มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินในการบำรุงรักษากำแพงคอนกรีตแทนเจ้าของสามยทรัพย์ทั้งปวง ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้สั่งห้ามจำเลยกระทำการที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
แม้การทุบทำลายกำแพงคอนกรีตซึ่งเป็นสาธารณูปโภค จะเป็นการทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับทรัพยสิทธิ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิขอบังคับให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์กระทำการอย่างใดที่ทำให้ประโยชน์หรือความสะดวกแห่งภารยทรัพย์กลับคืนมาดังเดิม ซึ่งการติดตามเอากำแพงคอนกรีตที่ถูกทุบทำลายคืนมาเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมกลับขึ้นมาตามเดิมก็คือการซ่อมหรือสร้างกำแพงคอนกรีตให้กลับคืนสภาพตามที่เป็นอยู่เดิมนั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอบังคับให้จำเลยซ่อมหรือสร้างกำแพงคอนกรีตให้กลับคืนสภาพเดิมได้ ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการถูกทำละเมิด จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยทุบทำลายกำแพงคอนกรีตแล้วทำเป็นทางเข้าออกไปสู่ที่ดินแปลงอื่นนอกโครงการจัดสรรของโจทก์ เพื่อประโยชน์สำหรับจำเลย บริวารลูกจ้าง และลูกค้าในกิจการค้าของจำเลยโดยไม่ต้องใช้เส้นทางถนนในโครงการจัดสรรของโจทก์ไปออกถนนสาธารณะ ไม่ต้องผ่านทางเข้าออกที่โจทก์กำหนด และไม่ต้องผ่านระบบการรักษาความปลอดภัยของโจทก์เหมือนเจ้าของที่ดินในโครงการรายอื่น ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการรักษาความปลอดภัย การจราจร การรักษาความสงบเรียบร้อยของโจทก์และผู้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ถือว่าเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นในโครงการจัดสรรของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ จึงเป็นการใช้สอยกำแพงคอนกรีตขัดต่อสิทธิเจ้าของรวมคนอื่น โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมและในฐานะผู้มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินในการบำรุงรักษากำแพงคอนกรีตแทนเจ้าของสามยทรัพย์ทั้งปวง ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้สั่งห้ามจำเลยกระทำการที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
แม้การทุบทำลายกำแพงคอนกรีตซึ่งเป็นสาธารณูปโภค จะเป็นการทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับทรัพยสิทธิ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิขอบังคับให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์กระทำการอย่างใดที่ทำให้ประโยชน์หรือความสะดวกแห่งภารยทรัพย์กลับคืนมาดังเดิม ซึ่งการติดตามเอากำแพงคอนกรีตที่ถูกทุบทำลายคืนมาเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมกลับขึ้นมาตามเดิมก็คือการซ่อมหรือสร้างกำแพงคอนกรีตให้กลับคืนสภาพตามที่เป็นอยู่เดิมนั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอบังคับให้จำเลยซ่อมหรือสร้างกำแพงคอนกรีตให้กลับคืนสภาพเดิมได้ ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการถูกทำละเมิด จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด, การรับช่วงสิทธิ, และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุละเมิดทางแพ่ง
คำร้องให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ไม่ใช่คำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) เพราะเป็นแต่คำร้องให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยด้วยเท่านั้น ยังไม่มีผู้ใดเสนอข้อหาต่อศาลโดยการสอดเข้ามาในคดี คำร้องดังกล่าวจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม และเมื่อศาลหมายเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้ว หากศาลเห็นว่าจำเลยร่วมจะต้องรับผิดก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือที่ปรากฏในคำฟ้อง
พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 เป็นจำเลยในคดีส่วนอาญาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์รับอันตรายแก่กายและทรัพย์สินเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยร่วมที่ 1 ผู้เดียวเป็นฝ่ายประมาท ในคดีส่วนแพ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมที่ 1 ผู้เดียวทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 เป็นคดีส่วนอาญา อายุความที่โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 เป็นคดีส่วนแพ่งย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.อ. มาตรา 95 ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง โจทก์ขอหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในระหว่างคดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์รับจ้างขนส่งข้าวสารของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยมีข้อตกลงว่าหากข้าวสารเกิดความเสียหายโจทก์จะต้องรับผิดชอบ แม้ขณะเกิดเหตุละเมิดข้าวสารจะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนข้าวสารที่เสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนของข้าวสารที่เสียหายจากจำเลยร่วมทั้งสองผู้ทำละเมิด
พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 เป็นจำเลยในคดีส่วนอาญาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์รับอันตรายแก่กายและทรัพย์สินเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยร่วมที่ 1 ผู้เดียวเป็นฝ่ายประมาท ในคดีส่วนแพ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมที่ 1 ผู้เดียวทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 เป็นคดีส่วนอาญา อายุความที่โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 เป็นคดีส่วนแพ่งย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.อ. มาตรา 95 ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง โจทก์ขอหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในระหว่างคดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์รับจ้างขนส่งข้าวสารของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยมีข้อตกลงว่าหากข้าวสารเกิดความเสียหายโจทก์จะต้องรับผิดชอบ แม้ขณะเกิดเหตุละเมิดข้าวสารจะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนข้าวสารที่เสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนของข้าวสารที่เสียหายจากจำเลยร่วมทั้งสองผู้ทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: ผลของการไม่รับฟ้องแย้งและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2553 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันทำละเมิด โจทก์จึงต้องฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 โจทก์ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องแย้งในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 ภายในกำหนดอายุความ ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวรับฟ้องแย้งของโจทก์ แต่ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2554 ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยเห็นว่าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จะสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยมิได้สั่งให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ฟ้องเป็นคดีต่างหาก แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีผลเป็นการให้สิทธิแก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คำสั่งดังกล่าว ถึงที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนนับแต่วันทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ซึ่งหมายความว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ดังนั้นอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จึงสิ้นสุดลงอย่างช้าในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 เมื่อนับอายุความนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ถึงวันอายุความสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 คงเหลือกำหนดอายุความเพียง 9 วัน ซึ่งน้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุด จึงต้องขยายอายุความให้อีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 สิงหาคม 2554 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
โจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง และชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นปัญหาอื่นต่อไป แต่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คำสั่งดังกล่าว ถึงที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนนับแต่วันทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ซึ่งหมายความว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ดังนั้นอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จึงสิ้นสุดลงอย่างช้าในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 เมื่อนับอายุความนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ถึงวันอายุความสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 คงเหลือกำหนดอายุความเพียง 9 วัน ซึ่งน้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุด จึงต้องขยายอายุความให้อีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 สิงหาคม 2554 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
โจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง และชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นปัญหาอื่นต่อไป แต่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้เสียหายและผู้ก่อเหตุเป็นสำคัญในการนับอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด กรณีจึงต้องนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดประการหนึ่ง และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกประการหนึ่งประกอบกันเป็นวันใด และพ้นหนึ่งปีนับแต่วันดังกล่าว คดีจึงจะขาดอายุความ แม้ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้ยื่นฟ้องกรมทางหลวงชนบทเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้รับผิดในเหตุละเมิด โดยเข้าใจว่ากรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทางหลวงที่เกิดเหตุ ต่อมากรมทางหลวงชนบทยื่นคำให้การในคดีดังกล่าว โจทก์ได้รับสำเนาคำให้การวันที่ 1 กันยายน 2551 ทำนองว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 1 กันยายน 2551 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยเข้ารับช่วงสิทธิของพันตำรวจโท บ. ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์จึงมีเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยตามที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่าเหตุเกิดวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 โดยไม่ได้นำสืบว่าพันตำรวจโท บ. ไม่รู้ตัวผู้พึงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าพันตำรวจโท บ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2550 เพราะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจทางหลวงย่อมรู้ว่าถนนที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลของจำเลยอายุความละเมิดจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากพันตำรวจโท บ. จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าวด้วย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9999/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดต่อเนื่อง: การยึดครองทรัพย์สินโดยมิชอบและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะมีการเลิกยึดครอง
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวก ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เข้าซ่อมแซมอาคารพิพาทครั้งแรกวันที่ 6 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 ครั้งที่สองวันที่ 26 มีนาคม 2550 ถึงวันที่ 5 เมษายน 2550 และหลังจากเดือนเมษายน 2550 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2551 พวกจำเลยยังคงครอบครองและยึดหน่วงอาคารพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ โจทก์มีรูปถ่ายความเสียหายของอาคารที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างนั้นมาแสดง ซึ่งจากการประมวลรูปถ่ายดังกล่าว สรุปได้ว่าระหว่างเดือนเมษายน 2550 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2551 ที่จำเลยที่ 2 กับพวกเข้ายึดถือครอบครองอาคารพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยที่ 2 กับพวกมีโอกาสก่อให้เกิดหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินในอาคารได้ทุกเมื่อ ความเสียหายดังกล่าวเป็นการละเมิดที่สืบต่อเนื่องกันมาโดยพวกจำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินให้ดี ไม่บำบัดปัดป้องความเสียหายที่จะเกิดขึ้นดังเช่นวิญญูชนพึงกระทำ อายุความละเมิดยังไม่เริ่มนับจนกว่าพวกของจำเลยจะเลิกยึดถือครอบครองอาคารพิพาทโดยไม่ชอบเพราะหากจำเลยกับพวกยังอยู่ในอาคารพิพาทแล้วไซร้ ก็ยังอยู่ในวิสัยที่พวกจำเลยสามารถทำละเมิดแก่ทรัพย์สินของโจทก์ได้ทุกขณะเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายเพิ่มมากขึ้นโดยไม่หยุดยั้ง แต่เมื่อพวกจำเลยออกไปจากอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมเข้าไปตรวจสอบความเสียหายได้อย่างอิสระตามวิถีที่เจ้าของทรัพย์สินพึงกระทำได้ ดังนั้น เมื่อนับจากวันที่ 11 มกราคม 2551 ที่พวกจำเลยออกไปจากอาคารพิพาทถึงวันฟ้องวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่การกระทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่, ความรับผิดของหน่วยงาน, อายุความ, ความเสียหายจากการประกอบธุรกิจ
คำฟ้องของโจทก์ระบุว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เอกสารที่จำเลยที่ 2 ทำปลอมขึ้นได้กระทำที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวมาขายให้แก่โจทก์ที่ร้านของโจทก์ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ร้านของโจทก์ดังกล่าวจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าขาดอายุความเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด และในวรรคสองที่ว่า แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่า ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับนั้น คงใช้บังคับได้แต่ในกรณีการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากตัวผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิดโดยเฉพาะเท่านั้น มิได้รวมถึงการเรียกร้องจากผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิดด้วย
จำเลยที่ 4 มิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิด เพียงแต่เป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ปลอมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวต้องรับผิดทางแพ่งต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยเท่านั้นหาได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดร่วมกับเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดดังเช่นในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่ จึงไม่อาจนำกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้บังคับแก่กรณีนั้นได้ แต่เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 จะให้การต่อสู้ว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2548 แต่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าขาดอายุความเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด และในวรรคสองที่ว่า แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่า ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับนั้น คงใช้บังคับได้แต่ในกรณีการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากตัวผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิดโดยเฉพาะเท่านั้น มิได้รวมถึงการเรียกร้องจากผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิดด้วย
จำเลยที่ 4 มิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิด เพียงแต่เป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ปลอมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวต้องรับผิดทางแพ่งต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยเท่านั้นหาได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดร่วมกับเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดดังเช่นในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่ จึงไม่อาจนำกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้บังคับแก่กรณีนั้นได้ แต่เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 จะให้การต่อสู้ว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2548 แต่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4966/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทางประกันภัย: สิทธิของผู้รับประกันภัยย่อมมีเท่ากับผู้เอาประกันภัย
โจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้รับประกันภัยจึงมีเท่ากับสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย