คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 340 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการปล้นทรัพย์: ไม่ริบหากใช้หลังการกระทำความผิดสำเร็จ
แม้จะฟังได้ว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปปล้นทรัพย์ก็เป็นเพียงยานพาหนะซึ่งจำเลยขับมายังที่เกิดเหตุและขับออกไปจากที่เกิดเหตุเมื่อการปล้นทรัพย์สำเร็จแล้ว รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษชิงทรัพย์จนผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้ไขโทษโดยไม่นำมาตรา 340 ตรี มาปรับใช้
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยโดยเห็นว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่า หรือหนักขึ้นกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ได้อีก จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสุดท้าย เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4665/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ด้วยการขู่เข็ญด้วยอาวุธปืน การรับคำสารภาพ และการริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด
ถึงแม้โจทก์จะไม่มีพยานเห็นตัวคนร้ายที่เป็นคนยิง ไม่ได้ อาวุธปืนจากจำเลย ไม่พบปลอกกระสุนและร่องรอยการยิงปืนของคนร้ายในที่ เกิดเหตุ โจทก์ก็มี ป. ผู้เสียหาย กับ ข.ผู้ใหญ่บ้าน ที่เกิดเหตุเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า คนร้ายยิงปืนขึ้นก่อน ผู้เสียหายจึงได้ยิงปืนสวนไป กับมีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย ทั้งสาม ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การไว้ใจความตรงกันในเบื้องต้นว่า มีเสียงปืนดังขึ้นที่รถยนต์ของจำเลยก่อน จากนั้นมีเสียงปืนทางอื่น ยิงมาที่รถยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจว่า น. ผู้ตาย ซึ่งเป็นพวกของจำเลยทั้งสามเป็นคนยิงปืน ส่วนจำเลยที่ 3 เห็นและรู้ว่า น. มีปืนมาก่อนเกิดเหตุ ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับสารภาพก็ดี ให้จำเลยที่ 3 ลงชื่อในบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความ ให้ฟังก็ดี จำเลยทั้งสามมีแต่ตนเองเบิกความลอย ๆ ภายหลัง เมื่อโจทก์ มีพนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสาม ชั้นสอบสวน จำเลยทั้งสามมิได้ถามค้านถึงความข้อนี้ไว้ เชื่อว่า ชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ และตามสัตย์จริง คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามจึงเป็น หลักฐานประกอบถ้อยคำของ ป. และข. พยานโจทก์ ฟังได้ว่าขณะเมื่อจะยกเครื่องยนต์รถไถนาของผู้เสียหายขึ้นบรรทุกรถยนต์ของจำเลยที่ 1 เพื่อจะขนเอาไป ซึ่งเป็นเวลาที่การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอนลงนั้น จำเลยทั้งสามกับพวกได้กระทำการประทุษร้ายขู่เข็ญผู้เสียหายกับพวก ด้วยการยิงปืนขึ้นหนึ่งนัด การกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวก จึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการปล้นทรัพย์เป็นทรัพย์ที่พึงต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนีหลังก่ออาชญากรรม ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เข้าข่ายการริบหากไม่ได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปจอดรอพวกของจำเลย และเมื่อพวกของจำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหายเสร็จ ก็กลับมานั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยแล้วจำเลยขับหลบหนีไป พฤติการณ์ของจำเลยกับพวก เป็นเพียงการใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้นไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) จึงริบรถจักรยานยนต์ของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4067/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานและการยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา
โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวเบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดปลายแหลมจี้แล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไป แต่ผู้เสียหายตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่าผู้เสียหายกับจำเลยเป็นญาติกัน บ้านอยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตรทางเข้าออกบ้านจำเลยต้องผ่านบ้านผู้เสียหาย ผู้เสียหายกับจำเลยพบกันเป็นประจำ และเบิกความว่าหลังเกิดเหตุยังเห็นจำเลยขับรถจักรยานยนต์ผ่านไปมาตามปกติไม่ได้หลบหนีไปไหนแต่ทั้งผู้เสียหายและบิดาของผู้เสียหายไม่เคยพูดกับจำเลยถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ผู้เสียหายเพิ่งแจ้งความหลังจากเกิดเหตุคดีนี้แล้วถึง17 วัน และเหตุที่จำเลยถูกจับกุมก็เป็นเรื่องอื่นมิใช่เพราะผู้เสียหายไปแจ้งความไว้ แสดงว่าผู้เสียหายเองก็ไม่แน่ใจว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ พยานโจทก์มีเหตุอันควรสงสัย จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย ให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4063/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้ศาลชั้นต้นจะคืนให้เจ้าของไปแล้ว หากคดีถึงที่สุด
คนร้ายใช้รถจักรยานยนต์ของกลางทั้ง 2 คัน แล่นไล่ตามและขับปาดหน้ารถจักรยานยนต์ผู้เสียหายให้หยุด เพื่อทำการปล้นรถจักรยานยนต์ผู้เสียหาย รถจักรยานยนต์ของกลางทั้ง 2 คัน เป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดจึงต้องริบตามกฎหมาย แต่เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางคันหนึ่ง ศาลชั้นต้นสั่งคืนให้เจ้าของที่แท้จริงไปแล้ว และคดีถึงที่สุด ศาลฎีกาย่อมให้ริบเฉพาะรถจักรยานยนต์ของกลางคันที่เหลืออยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และมีอาวุธปืน
โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียวและไม่ได้ตัวมาเบิกความ คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย บันทึกการชี้ตัวผู้ต้องหาและภาพถ่าย การ ชี้ตัวผู้ต้องหา ที่ผู้เสียหายเป็นผู้ชี้เป็นพยานต่อศาลว่าผู้เสียหายจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้าย แต่พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานชั้นสอง มิได้ทำต่อหน้าศาล จำเลยไม่มีโอกาส ซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างชัดแก่ศาลได้ พยานโจทก์ที่เหลือมีแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนและในชั้นแจ้งข้อหา บันทึกการนำชี้เกิดเหตุประกอบคำสารภาพ และภาพถ่ายผู้ต้องหานำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ เมื่อจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าได้ให้ การรับสารภาพดังกล่าวเพราะถูกขู่บังคับและทำร้าย แม้โจทก์จะมีพนักงานสอบสวนผู้ดำเนินการตามเอกสารและภาพถ่ายดังกล่าวมา เป็นพยานประกอบ พยานหลักฐานโจทก์ก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตาม ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทง ไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทรัพย์ ผู้เสียหายแล้ว ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปตามฟ้องด้วย ศาลฎีกามีอำนาจ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยมีอาวุธปืน: การเพิ่มโทษตามมาตรา 340 ตรี
จำเลยขอเงินผู้เสียหาย 1,000 บาท ผู้เสียหายว่าไม่มี จำเลยจึงชี้ไปที่สร้อยคอของผู้เสียหายพร้อมกับเปิดชายเสื้อให้ดูอาวุธปืนสั้นที่เหน็บอยู่ที่เอวจำเลย จากนั้นจำเลยก็กระชากสร้อยคอผู้เสียหายหลุดติดมือไป ผู้เสียหายแย่งคืนได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง โดยมีอาวุธปืน กรณีจึงต้องระวางโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยมีอาวุธปืนและการเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดขอให้ลงโทษหนักขึ้น ปรากฏว่าขณะจำเลยกระทำผิดมิได้ใช้ยานพาหนะเจ้าพนักงานจับจำเลยได้ภายหลังความผิดสำเร็จแล้วขณะจำเลยใช้ยานพาหนะ ศาลอุทธรณ์มิได้ลงโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี ด้วยเหตุดังกล่าวจึงชอบแล้ว แต่การที่จำเลยกระทำผิดโดยมีอาวุธปืน กรณีจึงต้องลงโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานผู้เสียหายและสถานการณ์ขณะเกิดเหตุ
เหตุเกิดเวลาประมาณ 18 นาฬิกาของเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นฤดูร้อน เวลากลางวันยาวกว่าเวลากลางคืน เวลาดังกล่าวยังไม่มืดมีแสงสว่างมองเห็นได้ชัดเจน ทั้งรถจักรยานยนต์คนร้ายก็สวนไปมาถึง3 ครั้ง จนผู้เสียหายสังเกตได้ก่อนลงมือกระชากสร้อยคนร้ายเดินเข้าไปหาผู้เสียหาย ผู้เสียหายยังเข้าใจว่าจะเดินมาถามทาง ผู้เสียหายจึงมีโอกาสได้เห็นหน้าคนร้ายในระยะใกล้ เมื่อคนร้ายไปถึงตัวได้ใช้อาวุธปืนจี้พร้อมทั้งห้ามผู้เสียหายมิให้ส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือแล้วกระชากสร้อยคอไป จึงมีระยะเวลาที่ผู้เสียหายเห็นคนร้ายนานพอสมควรที่จะจำคนร้ายได้ จึงเชื่อว่าผู้เสียหายจำคนร้ายได้แน่นอนไม่ผิดตัว.
of 7