คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 340 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์ - การกระทำโดยปัจจุบันทันด่วนและการไม่มีส่วนรู้เห็นร่วมกัน
จำเลยที่ 1 อาศัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 3 ขับไปกระทำกิจธุระอื่นโดยมิได้มีเจตนาจะกระทำผิดฐานชิงทรัพย์มาก่อน เหตุชิงทรัพย์เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยที่ 1 ลงไปกระทำการขณะที่รถยนต์จอดเพราะการจราจรติดขัด ประกอบกับจำเลยที่ 3 ก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยแต่อย่างใด การชิงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการกระทำโดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยไม่เจตนาใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะ และความเกี่ยวข้องของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 อาศัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 3 ขับไปกระทำกิจธุระอื่นโดยมิได้มีเจตนาจะกระทำผิดฐานชิงทรัพย์มาก่อน เหตุชิงทรัพย์เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยที่ 1 ลงไปกระทำการขณะที่รถยนต์จอดเพราะการจราจรติดขัด ประกอบกับจำเลยที่ 3 ก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยแต่อย่างใด การชิงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการกระทำโดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์: การระบุวรรคมาตราที่ถูกต้องและการพิจารณาบทเพิ่มโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวและใช้ยานพาหนะในการกระทำผิดโดยไม่ระบุวรรคในมาตราที่จำเลยกระทำผิดและใช้คำว่าเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 340 ตรี เป็นบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง,83,340 ตรี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์: การระบุวรรคมาตราที่ถูกต้องและบทเพิ่มโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวและใช้ยานพาหนะในการกระทำผิดโดยไม่ระบุวรรคในมาตราที่จำเลยกระทำผิดและใช้คำว่าเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีนั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะมาตรา 340 ตรีเป็นบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง,83,340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานพยานแวดล้อมเพียงพอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดปล้นทรัพย์ แม้ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์
แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมายืนยันว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนร้ายแต่จำเลยที่ 1 รับต่อเจ้าพนักงานตำรวจในคืนเกิดเหตุว่าจำเลยที่ 2ร่วมปล้นทรัพย์ด้วย ขณะเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยที่ 2 ในคืนนั้นจำเลยที่ 2 ก็พยายามหลบหนีอันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อพิรุธ ทั้งจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในคืนถูกจับและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพให้ถ่ายภาพไว้หลังถูกจับเพียง 3 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้ชิดกับวันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นผู้เช่ารถแท็กซี่ที่คนร้ายใช้เป็นยานพาหนะหลบหนี พยานแวดล้อมของโจทก์สอดคล้องกันดีมีน้ำหนัก พอฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และพวก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานปล้นทรัพย์และทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วย มาตรา 340 ตรี ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่22 ปี 6 เดือน ถึง 30 ปี เป็นบทที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80,52(1) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษ ตามบทหนัก ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ จึงพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าข่มขืน ลักทรัพย์ และรับราชการทหารแทนผู้อื่น โดยพิจารณาความผิดหลายกระทงและเจตนาในการกระทำ
การที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งฝ่ายทหารให้มาฟังการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นทหารตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมในการกระทำผิดแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธ ดังนั้น การที่พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมดังกล่าว จะถือว่าจำเลยร่วมกับพวกพกพาอาวุธมีดปลายแหลมนั้นไปในทางสาธารณะ ในหมู่บ้านด้วย หาได้ไม่ จำเลยทำร้ายและฆ่าผู้ตายโดยเจตนาให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ดังนี้ การที่จำเลยกับพวกปลดเอาทรัพย์ของผู้ตายก่อนหลบหนีเห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ มิใช่ฐานปล้นทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานข่มขืนฆ่าและลักทรัพย์ ความรับผิดทางอาญาและอัตราโทษ
การที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งฝ่ายทหารให้มาฟังการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นทหารตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ
พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมในการกระทำผิดแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธ ดังนั้น การที่พวกของจำเลยมีและใช้อาวุธมีดปลายแหลมดังกล่าว จะถือว่าจำเลยร่วมกับพวกพกพาอาวุธมีดปลายแหลมนั้นไปในทางสาธารณะ ในหมู่บ้านด้วย หาได้ไม่
จำเลยทำร้ายและฆ่าผู้ตายโดยเจตนาให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ดังนี้ การที่จำเลยกับพวกปลดเอาทรัพย์ของผู้ตายก่อนหลบหนี เห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ มิใช่ฐานปล้นทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีชิงทรัพย์ที่ไม่สามารถพิสูจน์การกระทำความผิดได้ และการฟ้องที่ไม่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมลักทรัพย์และใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญผู้เสียหาย โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 392 มาด้วยเมื่อการกระทำตามมาตรา 392 มิใช่การกระทำอันรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 392 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดมาตรากฎหมายที่ถูกต้องสำหรับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ
จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี โดยไม่ระบุมาตรา 340 วรรคใดนั้น ไม่ถูกต้องศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี.
of 7