คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อมร วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดยาเสพติด: การมอบยาให้ผู้อื่นจำหน่าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับ ด. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแต่ข้อเท็จจริงในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ในขณะที่ ด. จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยไม่ได้อยู่ ร่วมด้วย โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ที่บ้านเพื่อนของจำเลย แต่จำเลยได้มอบเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ให้ ด. จำหน่ายให้สายลับผู้ล่อซื้อ อันเป็นการใช้หรือก่อให้ ด. กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ดังนี้ จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วม กับ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดตามมาตรา 83 ที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง การที่จำเลยมอบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ไว้ให้ ด. เพื่อจำหน่ายถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ ด. กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ และเป็นการ ให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่ ด.กระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่ทางพิจารณาได้ความนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือและขาดหลักฐานสนับสนุน ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
โจทก์มีคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่าย กับมีพันตำรวจตรีป. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยที่ 2 รับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิง แต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนกับภาพถ่ายที่แสดงท่าทางและนำชี้ที่เกิดเหตุ แล้วแต่เป็นพยานบอกเล่าจึงมีน้ำหนักน้อย ส่วนปลอกกระสุนปืนที่ยึดได้จากบ้านของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการตายของผู้ตาย จึงขาดการต่อเนื่อง นอกจากคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานหรือวัตถุ ของกลางที่ยืนยันได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1ฆ่าผู้ตาย พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบจึงยังมี ความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่ง ความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การชั้นจับกุม/สอบสวน, คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด, พยานหลักฐานประกอบ, การวินิจฉัยความผิด, การรอการลงโทษ
ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้น สุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้
โจทก์มีร้อยตำรวจโท ฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสารหมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธตามเอกสารหมาย จ.14และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18 ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด และระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ.ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตาย ประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับ บ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่า ส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ. เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อช่วย บ.จริง
ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของ ร.และ น.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของ ส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว
เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การรับสารภาพและคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดประกอบการพิจารณาคดีอาญา
ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชิ้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้นสุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำชัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้ โจทก์มีร้อยตำรวจโทฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การ รับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสาร หมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพ ในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธ ตามเอกสารหมาย จ.14 และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดและระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ. ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรีธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตายประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับบ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่าส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ.เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพส. เพื่อช่วยบ. จริง ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของร.และน.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3 ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดย ปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุก จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษ ดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจ พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอ การลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบ ด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาจากหลายบทเป็นบทเดียวโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์และฐานบุกรุก แต่เป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน จึงพิพากษา ลงโทษในความผิดฐานบุกรุกจำคุกคนละ 6 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้คนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เพียงบทเดียวและคงลงโทษตามศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไข เพียงบทลงโทษจากหลายบทเป็นบทเดียวโดยไม่ได้แก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแตกต่างจาก ศาลชั้นต้นได้ การฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์และ การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ ย่อมไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษในชั้นอุทธรณ์โดยไม่แก้โทษ ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานบุกรุก แต่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน จึงพิพากษาลงโทษในความผิดฐานบุกรุกจำคุกคนละ 6 เดือน ปรับคนละ2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้คนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพียงบทเดียวและคงลงโทษตามศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเพียงบทลงโทษจากหลายบทเป็นบทเดียวโดยไม่ได้แก้โทษด้วยจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแตกต่างจากศาลชั้นต้นได้ การฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์และการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ ย่อมไม่ขัดต่อป.วิ.อ.มาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษในชั้นอุทธรณ์ และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานบุกรุก แต่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน จึงพิพากษาลงโทษในความผิดฐานบุกรุกจำคุกคนละ 6 เดือน ปรับคนละ2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้คนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพียงบทเดียวและคงลงโทษตามศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเพียงบทลงโทษจากหลายบทเป็นบทเดียวโดยไม่ได้แก้โทษด้วยจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแตกต่างจากศาลชั้นต้นได้ การฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์และการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ ย่อมไม่ขัดต่อป.วิ.อ.มาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน, การโต้แย้งเรื่องผู้เสียหาย, และเหตุรอการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดครั้งแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายเพียงฝ่ายเดียวรวมสองครั้งต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้อง ของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าผู้เสียหายกับจำเลย ต่างฝ่ายต่าง ทะเลาะตอบโต้ กันไปมาในลักษณะชุลมุน ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่อาจร้องทุกข์ต่อพนักงาน สอบสวนได้ การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะเป็น การโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็น ปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การลงโทษจำคุกระยะสั้น นอกจากจะไม่เกิดผลในการแก้ไข ให้จำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีแล้วยังทำให้จำเลยกลายเป็นคน มีประวัติเสื่อมเสีย เมื่อพ้นโทษแล้วก็ยากที่จะกลับตัว ประกอบสัมมาชีพโดยสุจริตต่อไปได้ ซึ่งย่อมส่งผลต่อสังคม โดยรวม เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ ส่วน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ก็เพิ่งพ้นจากสภาวะการเป็นผู้เยาว์ และจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดคดีนี้เป็นครั้งแรก การให้ โอกาสจำเลยทั้งห้าได้กลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษ และคุมประพฤติไว้น่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งห้าและสังคม ส่วนรวมมากกว่า ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้า เคยรับโทษจำคุกมาก่อนจึงมีเหตุอันสมควรรอการลงโทษให้แก่ จำเลยทั้งห้า แต่เพื่อให้จำเลยทั้งห้าหลาบ จำ จึงสมควรปรับจำเลยทั้งห้าอีกสถานหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เนื่องจากไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาภายในกำหนด
การเขียนอุทธรณ์ของโจทก์จะต้องตรวจดูถ้อยคำต่าง ๆในคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยละเอียดเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยมิฉะนั้นอาจไม่เป็นอุทธรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเขียนอุทธรณ์และโจทก์ก็ยื่นคำแถลงขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ การที่ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับขน: ผู้รับใบตราส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งได้ แม้ของไม่ถึงปลายทาง
ขณะเกิดข้อพิพาท พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ที่กำหนดว่าเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบ แล้ว นับแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญา รับขนนั้นย่อมตกแก่ผู้รับตราส่ง แสดงให้เห็นว่าสัญญารับขน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกถ้อยคำที่ว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง" มีความหมายเป็นเพียงเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าผู้รับตราส่งจะแสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนได้เมื่อใดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งหากไม่มีของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วจะเป็นเหตุ ให้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งไม่ เมื่อโจทก์เป็น ผู้ทรงใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ขายและเป็นผู้มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าพิพาทตามใบตราส่งนั้น แม้โจทก์ไม่อาจ แสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนโดยเรียกให้ส่งมอบ ของได้เพราะไม่มีกำหนดเวลาที่จะเรียกให้ส่งมอบของได้ ตามมาตรา 627 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย เพราะเหตุที่สินค้าพิพาทต้องสูญหายเนื่องจากการขนส่งนั้น โดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทย่อม มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท ให้รับผิดตามสัญญารับขนได้ เมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งของทางทะเลตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเลฯมาปรับแก่คดีได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาข้อจำกัดความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวมาอ้างเพื่อให้รับผิดน้อยลงได้
of 23