พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่การขายฝากและการฟ้องร้องเมื่อเกินกำหนดสัญญา
คดีที่ศาลนัดชี้สองสถานไว้ แต่ถึงวันนัด โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่มีทางปรองดองกัน ขอให้นัดพิจารณาไป โจทก์รับเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเพียงเท่านี้ หาใช่เป็นการชี้สองสถานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183ไม่ ฉะนั้นคู่ความจึงมีสิทธิขอแก้ฟ้องหรือคำให้การได้ก่อนวันสืบพยาน
ขายฝากทรัพย์ไว้แก่เขาแล้วได้ติดต่อขอไถ่ถอนภายในกำหนดเขารับว่าจะรับการไถ่ถอน แต่ถึงกำหนด ก็ไม่มาผู้ขายฝากจึงร้องต่ออำเภอท้องที่ และนำเงินไปเพื่อไถ่ถอนที่อำเภอก่อนครบกำหนดตามสัญญา ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่การขายฝากภายในกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ผู้รับซื้อฝากรับการไถ่ถอนการขายฝากได้แม้จะฟ้องเมื่อเกินกำหนดสัญญาไปก็ดี
ขายฝากทรัพย์ไว้แก่เขาแล้วได้ติดต่อขอไถ่ถอนภายในกำหนดเขารับว่าจะรับการไถ่ถอน แต่ถึงกำหนด ก็ไม่มาผู้ขายฝากจึงร้องต่ออำเภอท้องที่ และนำเงินไปเพื่อไถ่ถอนที่อำเภอก่อนครบกำหนดตามสัญญา ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่การขายฝากภายในกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ผู้รับซื้อฝากรับการไถ่ถอนการขายฝากได้แม้จะฟ้องเมื่อเกินกำหนดสัญญาไปก็ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝาก: ข้อความในวงเล็บเป็นอายุสัญญา
หนังสือสัญญาขายฝากบรรทัดต้นที่หัวเรื่องมีความบันทึกว่า หนังสือสัญญาขายฝากกรรมสิทธิ์ที่ดิน ต่อจากนั้นมีวงเล็บในวงเล็บมีบันทึกว่ามีกำหนด 18 เดือน ต่อจากบรรทัดนั้นลงมามีข้อความในเรื่องการขายฝากแต่ไม่มีข้อความกำหนดเวลาไถ่กัน ดังนี้ ถือได้ว่า ข้อความในวงเล็บที่ว่ามีกำหนด18 เดือนนั้น คือเป็นอายุของสัญญา นัยหนึ่งก็คือกำหนดเวลาไถ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝาก: ข้อความในวงเล็บถือเป็นอายุสัญญาและกำหนดเวลาไถ่
หนังสือสัญญาขายฝากบรรทัดต้นที่หัวเรื่องมีความบันทึกว่า หนังสือสัญญาขายฝากกรรมสิทธิที่ดิน ต่อจากนั้นมีวงเล็บ ในวงเล็บมีบันทึกว่า มีกำหนด 18 เดือน ต่อจากบรรทัดนั้นลงมามีข้อความในเรื่องการขายฝากแต่ไม่มีข้อความกำหนดเวลาไถ่กัน ดังนี้ ถือได้ว่า ข้อความในวงเล็บที่ว่ามีกำหนด 18 เดือนนั้น คือเป็นอายุของสัญญา นัยหนึ่งก็คือกำหนดเวลาไถ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนสัญญาขายฝาก การชำระเงินและผลทางกฎหมาย
โจทก์ผู้ขายฝากได้ขอไถ่ก่อนครบกำหนด และจำเลยผู้ซื้อฝากได้ยินยอมรับชำระเงินไถ่ถอน และเวนคืนสัญญาขายฝากให้กับโจทก์ โจทก์ได้ทำลายสัญญานั้นเสีย ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ถอน ในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 494 แล้ว เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการชำระเงินค่าไถ่ถอนให้ไปชำระกันที่อำเภอ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย ขอให้ไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนขายฝาก แม้ฟ้องหลังกำหนด แต่โจทก์ไม่ยอมให้ไถ่ ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยขายฝากที่สวนกับบ้านเรือนไว้กับโจทก์ และทำสัญญาเช่าทรัพย์นั้นจากโจทก์ โจทก์มาฟ้องว่า บัดนี้พ้นกำหนดไถ่ถอนแล้วขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยต่อสู้ว่าได้ไปไถ่ถอนแล้วโจทก์ไม่ยอม จึงฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับไถ่ถอนศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อจะครบกำหนดสัญญา จำเลยได้ไปขอไถ่ถอนแต่โจทก์ไม่ยอมให้ไถ่โดยจะขอเงินเพิ่มขึ้น แต่ขณะที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้รับไถ่ถอนนี้เกินกำหนดเวลาในสัญญาขายฝากแล้ว ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยผู้ขายฝากได้ไปขอไถ่ตามกำหนดในสัญญาแล้ว โจทก์ต้องยอมให้ไถ่ ถ้าไม่ยอมโจทก์ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมฟ้องแย้งขอให้บังคับให้รับไถ่ตามสัญญาได้ คดีนี้รูปคดีไม่เหมือนกับฎีกาที่ 185/2491 เพราะคดีนั้น ผู้ขายฝากไปขอไถ่ ผู้ซื้อฝากขอผัด ผู้ขายฝากก็ยอม ซึ่งจะถือเป็นกรณีผู้ซื้อฝากผิดสัญญาไม่ยอมให้ไถ่ไม่ได้ เมื่อผู้ขายฝากยอมให้เวลาใช้สิทธิไถ่ถอนพ้นไปจากกำหนดแล้ว ก็ต้องรับสนองในการนั้น จึงไถ่ไม่ได้จะถือว่า ได้ตกลงยืดเวลาไถ่ถอนกันไปก็ไม่ได้ เพราะขัดกับมาตรา496(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝาก: แม้ฟ้องหลังกำหนด ก็ยังฟ้องได้ หากผู้ซื้อฝากไม่ยอมให้ไถ่ตามสัญญา
จำเลยขายฝากที่สวนกับบ้านเรือนไว้กับโจทก์ และทำสัญญาเช่าทรัพย์นั้นจากโจทก์ ๆ มาฟ้องว่า บัดนี้พ้นกำหนดไถ่ถอนแล้วขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยต่อสู้ว่าได้ไปไถ่ถอนแล้วโจทก์ไม่ยอม จึงฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับไถ่ถอน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อจะครบกำหนดสัญญา จำเลยได้ไปขอไถ่ถอนแต่โจทก์ไม่ยอมให้ไถ่ โดยจะขอเงินเพิ่มขึ้น แต่ขณะที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้รับไถ่ถอนนี้เกินกำหนดเวลาในสัญญาขายฝากแล้ว ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยผู้ขายฝากได้ไปขอไถ่ตามกำหนดในสัญญาแล้ว โจทก์ต้องยอมให้ไถ่ ถ้าไม่ยอมโจทก์ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมฟ้องแย้งขอให้บังคับให้รับไถ่ตามสัญญาได้ คดีนี้รูปคดีไม่เหมือนกับฎีกาที่ 185/2491 เพราะคดีนั้น ผู้ขายฝากไปขอไถ่ ผู้ซื้อฝากขอผัด ผู้ขายฝากก็ยอม ซึ่งจะถือเป็นกรณีผู้ซื้อฝากผิดสัญญาไม่ยอมให้ไถ่ไม่ได้เมื่อผู้ขายฝากยอมให้เวลาใช้สิทธิไถ่ถอนพ้นไปจากกำหนดแล้ว ก็ต้องรับสนองในการนั้น จึงไถ่ไม่ได้ จะถือว่า ได้ตกลงยืดเวลาไถ่ถอนกันไปก็ไม่ได้ เพราะขัดกับมาตรา 496.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำ/ขายฝากที่ดินก่อนประมวลกฎหมายแพ่ง: ดูตามกิริยา ไม่ใช่ข้อสัญญา
สัญญาจำนำที่นาทำกันเมื่อ พ.ศ.2467 เป็นเวลาก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 กรณีต้องบังคับตามพ.ร.บ.การขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ.115 และประกาศเรื่องจำนำและขายฝาก ร.ศ.118
คดีเรื่องจำนำ(จำนอง)หรือขายฝากที่ดิน(ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3)นั้น ให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน (อ้างฎีกาที่ 22 ร.ศ.117, ที่ 25 ร.ศ.123,467/2487,81/2469,790/2469)
โจทก์ได้มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยมาตั้งแต่พ.ศ.2470 อันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจำนำที่ทำกันขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467จึงเป็นกิริยาการขายฝากเมื่อไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่นาก็หลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยตามลักษณะขายฝากโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอไถ่ได้ (อ้างฎีกาที่ 760/2469)
คดีเรื่องจำนำ(จำนอง)หรือขายฝากที่ดิน(ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3)นั้น ให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน (อ้างฎีกาที่ 22 ร.ศ.117, ที่ 25 ร.ศ.123,467/2487,81/2469,790/2469)
โจทก์ได้มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยมาตั้งแต่พ.ศ.2470 อันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจำนำที่ทำกันขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467จึงเป็นกิริยาการขายฝากเมื่อไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่นาก็หลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยตามลักษณะขายฝากโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอไถ่ได้ (อ้างฎีกาที่ 760/2469)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาจำนา/ขายฝากก่อน ป.ม.แพ่งฯ: ดูจากกิริยาการปฏิบัติของคู่สัญญา
สัญญาจำนาที่นาทำกันเมื่อ พ.ศ. 2467 เป็นเวลาก่อนประกาศใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 3 กรณีต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ. 115 และประกาศเรื่องจำนำและขายฝาก ร.ศ. 118
คดีเรื่องจำนา (จำนอง) หรือขายฝากที่ดิน (ก่อน ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 3 )นั้นให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน
(อ้างฎีกาที่ 22 ร.ศ. 117, ที่ 25 ร.ศ. 123, 467/2487,81/2469, 790/2469)
โจทก์ได้มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 อันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจำนำที่ทำกันขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2467 จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่นาก็หลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยตามลักษณะขายฝาก โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอไถ่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 760/2469)
คดีเรื่องจำนา (จำนอง) หรือขายฝากที่ดิน (ก่อน ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 3 )นั้นให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน
(อ้างฎีกาที่ 22 ร.ศ. 117, ที่ 25 ร.ศ. 123, 467/2487,81/2469, 790/2469)
โจทก์ได้มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 อันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจำนำที่ทำกันขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2467 จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่นาก็หลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยตามลักษณะขายฝาก โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอไถ่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 760/2469)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สิน ต้องเป็นการฟ้องร้องต่อศาล ไม่ใช่แค่การพูดคุยหรือนัดหมาย
คำว่า "ถ้าไถ่ภายในเวลา" ตามมาตรา 492 ป.ม.แพ่ง ฯ ย่อมหมายความว่า ได้มีการไถ่ถอนถูกต้องบริบูรณ์ตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วเท่านั้น การขอไถ่ยังหาเป็นการไถ่ไม่.
สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นก็คือสิทธิอันหนึ่งที่ผู้ขายฝากมีอยู่ในอันที่จะเรียกร้องบังคับให้ผู้ซื้อฝากทำนิติกรรมให้กรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินนั้น กลับคืนมาสู่ตน ฉะนั้นการใช้สิทธิไถ่ถอน จึงต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องต่อศาล ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ซื้อฝากกระทำการเช่นว่านั้น หรือให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อฝากในนิติกรรมเช่นนั้น
การไปพูดขอไถ่ หรือนัดให้ผู้ขายฝากไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำการไถ่ถอน ยังหาเป็นการใช้สิทธิไถ่ถอนไม่ เมื่อผู้จัดการซื้อฝากไม่ไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด ก็เป็นการแสดงอาการปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่ถอนอยู่ในตัวแล้ว ผู้ขายฝากย่อมต้องจัดการฟ้องร้องขอให้บังคับตามสิทธิไถ่ถอนของตนเสีย ในกำหนดอายุความไถ่ถอนตามสัญญา.
(อ้างฎีกา 545/2490, 185/2491)
สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นก็คือสิทธิอันหนึ่งที่ผู้ขายฝากมีอยู่ในอันที่จะเรียกร้องบังคับให้ผู้ซื้อฝากทำนิติกรรมให้กรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินนั้น กลับคืนมาสู่ตน ฉะนั้นการใช้สิทธิไถ่ถอน จึงต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องต่อศาล ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ซื้อฝากกระทำการเช่นว่านั้น หรือให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อฝากในนิติกรรมเช่นนั้น
การไปพูดขอไถ่ หรือนัดให้ผู้ขายฝากไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำการไถ่ถอน ยังหาเป็นการใช้สิทธิไถ่ถอนไม่ เมื่อผู้จัดการซื้อฝากไม่ไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด ก็เป็นการแสดงอาการปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่ถอนอยู่ในตัวแล้ว ผู้ขายฝากย่อมต้องจัดการฟ้องร้องขอให้บังคับตามสิทธิไถ่ถอนของตนเสีย ในกำหนดอายุความไถ่ถอนตามสัญญา.
(อ้างฎีกา 545/2490, 185/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนที่ดินขายฝาก: การขอไถ่ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ ต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้บังคับได้
คำว่า 'ถ้าไถ่ภายในเวลา'ตามมาตรา 492 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมหมายความว่า ได้มีการไถ่ถอนถูกต้องบริบูรณ์ตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เท่านั้นการขอไถ่ยังหาเป็นการไถ่ไม่
สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นก็คือสิทธิอันหนึ่งที่ผู้ขายฝากมีอยู่ในอันที่จะเรียกร้องบังคับให้ผู้ซื้อฝากทำนิติกรรมให้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาสู่ตน ฉะนั้นการใช้สิทธิไถ่ถอน จึงต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องต่อศาล ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ซื้อฝากกระทำการเช่นว่านั้น หรือให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อฝากในนิติกรรมเช่นนั้น
การไปพูดขอไถ่ หรือนัดให้ผู้ขายฝากไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำการไถ่ถอน ยังหาเป็นการใช้สิทธิไถ่ถอนไม่ เมื่อผู้จัดการซื้อฝากไม่ไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด ก็เป็นการแสดงอาการปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่ถอนอยู่ในตัวแล้ว ผู้ขายฝากย่อมต้องจัดการฟ้องร้องขอให้บังคับตามสิทธิไถ่ถอนของตนเสีย ในกำหนดอายุความไถ่ถอนตามสัญญา (อ้างฎีกาที่ 544/2490, 185/2491)
สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นก็คือสิทธิอันหนึ่งที่ผู้ขายฝากมีอยู่ในอันที่จะเรียกร้องบังคับให้ผู้ซื้อฝากทำนิติกรรมให้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาสู่ตน ฉะนั้นการใช้สิทธิไถ่ถอน จึงต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องต่อศาล ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ซื้อฝากกระทำการเช่นว่านั้น หรือให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อฝากในนิติกรรมเช่นนั้น
การไปพูดขอไถ่ หรือนัดให้ผู้ขายฝากไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อทำการไถ่ถอน ยังหาเป็นการใช้สิทธิไถ่ถอนไม่ เมื่อผู้จัดการซื้อฝากไม่ไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัด ก็เป็นการแสดงอาการปฏิเสธไม่ยอมรับไถ่ถอนอยู่ในตัวแล้ว ผู้ขายฝากย่อมต้องจัดการฟ้องร้องขอให้บังคับตามสิทธิไถ่ถอนของตนเสีย ในกำหนดอายุความไถ่ถอนตามสัญญา (อ้างฎีกาที่ 544/2490, 185/2491)