พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: แม้ไม่ใช่พนักงานสอบสวนโดยตรง แต่การช่วยปฏิบัติหน้าที่ก็เข้าข่ายความผิดฐานดูหมิ่นได้
แม้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ตำแหน่งรองสารวัตรจราจร ไม่ใช่พนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบคดีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำการเป็นการเฉพาะตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 38 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำเองเป็นการเฉพาะตัวไปเสียทั้งหมด ดังจะเห็นได้จาก ป.วิ.อ. มาตรา 128 (1) และ (2) ได้บัญญัติให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะร้องขอหรือสั่งให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทนตนได้บ้าง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมช่วยร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบโดยนั่งเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับให้แก่ผู้ต้องหากระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบกตามที่ตั้งด่านกวดขันวินัยจราจร และผู้ต้องหายินยอมชำระค่าปรับตามที่ร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว อยู่บนโต๊ะใกล้ ๆ กับร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน ถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้พนักงานสอบสวนต้องเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับด้วยตนเอง การกระทำของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่พนักงานสอบสวนได้มอบหมายให้กระทำ และข้อความที่จำเลยลงในเฟซบุ๊กของจำเลยซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์สาธารณะว่า โจทก์ร่วมปิดหน้าปิดตายังกะโจร เป็นข้อความที่กล่าวสบประมาทโจทก์ร่วมขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเปรียบเทียบความผิดทำร้ายร่างกายขึ้นอยู่กับบาดแผลถึงขั้นบาดเจ็บหรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ถึงบาดเจ็บ แต่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบปรับจำเลยโดยไม่มีอำนาจทำได้เพราะบาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บจำเลยต่อสู้ว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วดังนี้ ประเด็นเรื่องการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อยู่ที่บาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บหรือไม่ ถ้าบาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บเป็นความผิดตามมาตรา 254 พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ การเปรียบเทียบชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปแล้วแต่ศาลอุทธรณ์กลับไปวินิจฉัยว่าผู้เสียหายและผู้ต้องหาไม่ได้ให้ความยินยอมในการเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบจึงใช้ไม่ได้ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ การเปรียบเทียบชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปแล้วแต่ศาลอุทธรณ์กลับไปวินิจฉัยว่าผู้เสียหายและผู้ต้องหาไม่ได้ให้ความยินยอมในการเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบจึงใช้ไม่ได้ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเปรียบเทียบของพนักงานสอบสวนในคดีทำร้ายร่างกาย: ประเด็นบาดแผลถึงบาดเจ็บและการยินยอม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ถึงบาดเจ็บ แต่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบปรับจำเลยโดยไม่มีอำนาจทำได้ เพราะบาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บ จำเลยต่อสู้ว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้ว ดังนี้ ประเด็นเรื่องการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อยู่ที่บาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บหรือไม่ ถ้าบาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บเป็นความผิดตามมาตรา 254 พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ การเปรียบเทียบชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์กลับไปวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายและผู้ต้องหาไม่ได้ให้ความยินยอมในการเปรียบเทียบ ๆ จึงใช้ไม่ได้ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ การเปรียบเทียบชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์กลับไปวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายและผู้ต้องหาไม่ได้ให้ความยินยอมในการเปรียบเทียบ ๆ จึงใช้ไม่ได้ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น