คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตและฝ่าฝืนระเบียบ แม้ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น หากมีโอกาสเกิดอันตรายร้ายแรงได้
โจทก์มีหน้าที่ควบคุมหม้อกำเนิดไอน้ำ หากเครื่องของหม้อกำเนิดไอน้ำเกิดขัดข้องขึ้น และไม่มีผู้ใดปิดเครื่องอาจทำให้พลังไอน้ำที่อยู่ในเครื่องดันให้หม้อน้ำระเบิด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของจำเลยและชีวิตของลูกจ้างอื่นของจำเลยได้ เห็นได้ว่าการที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นได้ ฉะนั้นแม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จะไม่ได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่และการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3561/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้คำว่า 'ขอร้อง' หากวิญญูชนเข้าใจได้ว่าเป็นคำสั่ง
ที่หัวกระดาษเอกสารที่มีถึงโจทก์ มีเครื่องหมายและชื่อบริษัทจำเลยพร้อมที่อยู่และวันเดือนปีที่ทำขึ้น ต่อจากนั้นมีข้อความว่า"ถึงคุณอัจฉรา ปั้นน้อย พนักงานบัญชี เรื่องให้ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงาน หนังสือฉบับนี้เป็นการขอร้องให้คุณบันทึก เวลาทำงานของคุณที่บริษัทออยล์เท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้เครื่องบันทึกเวลาลงในบัตรทั้งเวลาเริ่มทำงานและเวลาเลิกงาน ขอให้รับบัตรตอกเวลาดังกล่าวได้ที่หัวหน้าของคุณ ลงชื่อ น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ" แม้เอกสารดังกล่าวใช้คำว่าขอร้อง แต่โดยสภาพและเนื้อความของเอกสารทั้งฉบับ วิญญูชนที่พบเห็นย่อมทราบดีว่า น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการและกรรมการของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และถือได้ว่าเป็นนายจ้างของโจทก์ ต้องการที่จะสั่งให้โจทก์ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานตามข้อบังคับของจำเลยเพียงแต่น. ใช้ถ้อยคำสุภาพเป็นภาษาอังกฤษซึ่งแปลเป็นไทยว่า ขอร้องอันเป็นรูปแบบหนึ่งของการสั่งให้ทำนั่นเอง ดังนั้น เอกสารดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217-2218/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรงและเป็นเหตุตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์กระทำผิดข้อบังคับของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงตามที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยจะถือเป็นเหตุให้โจทก์ออกจากงานได้ไม่ใช่จะมีเฉพาะแต่เหตุตามข้อที่โจทก์กล่าวอ้าง ทั้งกรณีของโจทก์ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน, อายุความสัญญาจ้าง, การฟ้องแย้ง, สิทธิในการนำสืบ, ความรับผิดจากละเลยหน้าที่
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และมาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่ ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3ตุลาคม 2532 ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลยจำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้งแต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81 บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาทนับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหนังสือตักเตือน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ในกรณีที่มิใช่เป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนของนายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของนายจ้างนายจ้างจึงได้เลิกจ้างตามคำตักเตือนนั้น หนังสือตักเตือนโจทก์ทั้งสี่ของจำเลยมีข้อความว่า เมื่อมีการตักเตือน 3 ครั้งแล้วจะถูกพักงานทันที แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนที่โจทก์ทั้งสี่กระทำผิดครั้งนี้ จำเลยเคยตักเตือนโจทก์ที่ 1มาแล้วเพียง 2 ครั้ง และตักเตือนโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 เพียงคนละ1 ครั้ง ในเหตุเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่กระทำผิดซ้ำคำเตือนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือตักเตือนอันจะทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เมาสุราขณะปฏิบัติงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดว่า "ห้ามพนักงานดื่ม หรือเสพสุราเครื่องดอง ของเมา หรือยาเสพติดใด ๆ ในขณะปฏิบัติงานหรือในบริเวณโรงงานหรือบริษัท... โดยมิได้รับอนุญาตจากฝ่ายบริหารเป็นอันขาด ผู้ใดฝ่าฝืนถือเป็นความผิด" นั้น มีความมุ่งหมายที่จะห้ามมิให้พนักงานมึนเมาสุราในขณะปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้างและผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของนายจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างออกไปดื่ม สุราหรือเครื่องดอง ของเมาข้างนอกบริษัทและเมาสุรากลับเข้าไปทำงานในโรงงานหรือบริษัทย่อมถือได้ว่าลูกจ้างเมาสุราในขณะปฏิบัติงาน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าว งานขับรถเครน ยกของหนักที่ลูกจ้างทำต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงและเคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับเครน ทำให้พนักงานได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างเมาสุราเข้ามาปฏิบัติงานซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) นายจ้างย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 เมื่อการกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างย่อมมีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิโดยเอกสารหลักฐานและการเช่าซื้อที่ดิน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลานานเกินสมควรอันจะถือว่าคำตักเตือนนั้นสิ้นผลที่ไม่อาจถือได้ว่ามีการตักเตือน แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนจะมีผลอยู่ตลอดไป การพิจารณาว่าระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์เป็นแต่ละกรณีถึงเหตุและความหนักเบาของการกระทำความผิดตลอดจนความเสียหายที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดแก่นายจ้างว่ามีเพียงใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถรับส่งพนักงานของจำเลยได้กระทำผิดครั้งแรกโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้โจทก์ขับรถไปส่งคนเจ็บและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ขับรถไปส่งพนักงานจ่ายเงินอีก ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อย อันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ ซึ่งเมื่อนับแต่ที่จำเลยได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือเนื่องจากการกระทำผิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2532 จนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดครั้งหลังเมื่อวันที่ 7มีนาคม 2533 เป็นเวลาไม่เนิ่นนาน ทั้งไม่ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ได้ปรับปรุงตน ไม่ได้กระทำผิดโดยที่ได้สำนึกและเชื่อฟังคำตักเตือนดังกล่าว คำตักเตือนของจำเลยจึงยังมีผลอยู่การกระทำผิดของโจทก์ครั้งหลัง จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างไม่จ่ายค่าล่วงเวลาตามกำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เข้าข่ายบกพร่องหน้าที่แต่ไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ และสิทธิในการได้รับเงินสะสม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์อันเป็นการลดตำแหน่งลงต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนและงดจ่ายเงินโบนัส มีคำสั่งพักงานแล้วมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำ ความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยรับโจทก์ กลับ เข้า ทำงานตามเดิม ให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง คือเงินเดือน เงินค่าเลี้ยงชีพ และ ค่าเช่าบ้านย้อนหลังนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่า จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานเงินที่จำเลยมีคำสั่งลดขั้นเงินเดือน เงินโบนัสที่งดจ่าย เงินสะสมในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือน ที่จำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ในปี 2528,2529 และ 2530 ถึงวัน เลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยแจ้งชัดถึงเรื่องเงินสะสมว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่จ่ายเงินสะสมให้โจทก์และจำเลยไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสะสมของพนักงาน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์ หรือไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเงินสะสมนับแต่วันเลิกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินสะสมเมื่อใด ศาลฎีกาให้ คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พ. ได้รับอนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารจำเลย สาขารังสิตก่อนที่โจทก์จะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขารังสิต ขณะที่โจทก์ย้ายมานั้น พ. ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้วจำนวน 1,304,382 บาท และหลังจากนั้น ผู้จัดการภาคกลาง 2 ก็ได้อนุมัติให้ พ. กู้เงินอีก 3,500,000 บาทส่วน การ ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. กู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน2,100,000 บาทนั้นเป็นกรณีที่ลูกค้าขอโอนภาระหนี้มาจากธนาคารจำเลย สาขาห้วยขวางโดยการอนุมัติของผู้จัดการภาคกลาง 2 โจทก์มิได้เป็นผู้อนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกเช่นเดียวกัน จำเลยอุทธรณ์ ว่า โจทก์อนุมัติให้ พ. และและห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ซึ่งมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่แล้วเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าวงเงิน ตามสัญญา อันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า อำนาจของโจทก์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลาง รับฟังมา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควบคุมดูแลให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าว นำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้อยู่ ภายในวงเงินตามสัญญานั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ลูกค้า 2 ราย ดังกล่าว กู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงิน เกิน บัญชี เกินกว่า อำนาจดังนั้น แม้จะมีการควบคุมดูแลให้มีการ นำ เงิน ชำระหนี้ เพื่อ ลด จำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ใช่ว่า จะทำให้ลูกค้ามีเงินมาชำระหนี้ได้เสมอไป โจทก์เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อให้แก่ ลูกค้าของธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อซ้ำซ้อนและอนุมัติในการรับซื้อ เช็ค ที่ มิใช่เป็นเช็คทางการค้าให้แก่ลูกหนี้ของธนาคาร แต่ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตและทำให้เกิดความเสียหาย แก่ จำเลย แต่อย่างใดการกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง โจทก์ลงชื่อในรายงานการตรวจและประเมินราคาหลักทรัพย์ ที่ นำมาเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้ไปตรวจดู หลักทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ช่วยผู้จัดการ สาขา ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาสินเชื่อเป็นผู้ไป ตรวจ สภาพ หลักทรัพย์ และ เป็นผู้ทำรายงานตามทางเคยปฏิบัติกันมา และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการตรวจหลักทรัพย์โดยมิชอบ ประการใด การที่โจทก์ทำการดังกล่าว แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์การกระทำเป็นรายกรณี แม้มีข้อห้ามในระเบียบ
แม้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการมีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลยถือ เป็นความผิดกรณีร้ายแรง แต่ การกระทำใด ๆที่ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่ง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้อง เป็นไปตาม ลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เพียงแต่ มีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย โดย ไม่ได้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในอาณาเขตโรงงานดังกล่าวด้วย จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานผิดระเบียบข้อบังคับซ้ำคำเตือน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดไว้ว่าพนักงานซึ่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย และข้อบังคับอาจถูกผู้บังคับบัญชา หรือฝ่ายบุคคลพิจารณาลงโทษได้ตามลักษณะความผิดเป็นกรณี ๆ ไป ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้มาทำงานและมิได้ยื่นใบลากิจหรือลาป่วยโดยไม่มีเหตุจำเป็น จำเลยเคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ระบุการกระทำของโจทก์ว่าหยุดงานโดยไม่ลา และไม่มีเหตุอันควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยในเรื่องการหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร โจทก์ได้ขาดงานอีกรวม 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ยื่นใบลากิจ หรือลาป่วยเช่นเดียวกัน การกระทำผิดของโจทก์จึงเป็นการซ้ำคำเตือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
of 6