คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นในขณะที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ในส่วนที่ 3การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงถูกยกเลิกแล้ว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลบังคับ การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ และราคาตลาด
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตดุสิตเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2527 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินจึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว ข้อ 76 คือต้องกำหนดเท่ากับราคาซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2517 ใช้บังคับจะกำหนดตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังที่จำเลยกำหนดให้โจทก์หาได้ไม่ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เป็นเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 หาได้กล่าวถึงหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมไม่ จึงจะนำประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนต้องประเมินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า"เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฎว่า วันที่ 28 ธันวาคม2527 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทนต้องเป็นราคาซื้อขายจริงในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2525 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหกที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนต้องเป็นราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ การใช้บัญชีราคาคงที่ไม่เป็นธรรม
ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 กำหนดว่าเงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนโดยถือบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2525-2527 อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใชับัญชีดังกล่าวมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์และไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ศาลยืนราคาตลาดตามการซื้อขายที่ดินแปลงใกล้เคียง แม้ผู้ซื้อมีวัตถุประสงค์จัดสรร
ที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างว่าจะนำมาเปรียบเทียบกับราคาที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนของโจทก์ไม่ได้นั้นไม่มีอาณาเขตด้านใดติดทางสาธารณะแต่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนเรื่องที่ผู้ซื้อที่ดินแปลงนั้นจะซื้อไปเพื่อจัดสรรหรือไม่อย่างใดนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะยกขึ้นอ้างว่าราคาที่ซื้อขายกันจะต้องสูงกว่าราคาท้องตลาด เพราะผู้ซื้อซื้อที่ดินไปเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อเอง เมื่อปรากฏว่าวันที่ 28 เมษายน 2523 มีการจดทะเบียนขายที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างราคาตารางวาละ 900 บาท วันที่ 25กรกฎาคม 2523 มีการจดทะเบียนขายที่ดินใกล้เคียงกันราคาตารางวาละ849 บาท ทั้งตามสำเนาบันทึกการประชุมของคณะกรรมการปรองดองฯของจำเลยก็ยอมรับว่าการซื้อขายที่ดินบริเวณนี้น่าจะมีแนวโน้มของราคาตลาดค่อนข้างสูง ราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในราคาที่ใกล้เคียงกันราคาซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยอ้างเฉลี่ยตารางวาละ 900บาท จึงเป็นราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด ดังนั้นที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกันน่าจะมีราคาใกล้เคียงกัน ดังนั้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2523อันเป็นวันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษฯ มีผลใช้บังคับ ที่ดินของโจทก์มีราคาซื้อขายในท้องตลาดตารางวาละ 900 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: การกระทำครบถ้วนตามประกาศคปช. และการกำหนดเจ้าหน้าที่เวนคืนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุสิทธิในการฟ้องว่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2524 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับโดยบัญญัติให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และวันที่ 30 มีนาคม 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกำหนดให้ทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกเป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตั้งอยู่ที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ตามมาตรา 3 ซึ่งมีพื้นที่เขตยานนาวาตรงตามโฉนดที่ดินของโจทก์ดังกล่าวในฟ้องและเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการปรองดองฯเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทน แต่ตกลงกันไม่ได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการสำรวจที่ดินซึ่งถูกเวนคืน มีที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนด้วย แต่ตกลงค่าทดแทนกันไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เพื่อชดใช้ให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์แล้วจึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการหรือได้ปฏิบัติครบถ้วน แห่งเงื่อนไขตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67แล้วที่ดินของโจทก์ถูกสร้างเป็นทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วมิใช่ถูกสร้างเป็นทางด่วนพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือที่ดินของโจทก์จึงมิได้ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือแม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกให้แก่จำเลยที่ 1 และต่อมาอนุมัติให้ทางการพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตั้งงบประมาณ ความรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างถนนเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 64 ได้กำหนดเงื่อนไข ในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนต้องระบุ (1) ความประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์(2) เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (3) ท้องที่ที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ข้อ 4 ให้จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ก็คือเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) นั่นเอง และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมเมื่อจำเลยกำหนดราคาไม่เหมาะสม
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่า จำเลยกำหนด ค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประเด็นดังกล่าวเกิดจากที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีถูกเวนคืนมูลแห่งคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีเมื่อโจทก์ขออนุญาตฟ้องและศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) การกำหนดค่าทดแทนให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกเวนคืน มีกฎหมายบัญญัติไว้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายรัฐบาลและเอกชน จำเลยไม่อาจกำหนดค่าทดแทนให้ตามใจชอบ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนให้ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลกำหนดค่าทดแทนให้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกพ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนด แนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74ถึง 77 ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อ โจทก์เห็นว่าที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มี กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้อง บังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยาน บุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาทดแทนที่ดินตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันประกาศใช้ พ.ร.ฎ.เวนคืน
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1และตาม พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึง 77 ดังนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุวัตตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายจึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย.
of 4