พบผลลัพธ์ทั้งหมด 420 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: จำเลยไม่ต้องพิสูจน์ตนเอง โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นของโจร
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว จำเลยต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ไม่เป็นของที่ได้มาจากการกระทำความผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ พยานโจทก์จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจทก์ ลำพังคำรับสารภาพชั้นจับกุม แต่จำเลยให้การปฎิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาคดี จะนำมาฟังลงโทษจำเลยว่าการกระทำความผิดฐานรับของโจรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญา ทำให้เจ้าของสิทธิสิ้นสุดการเรียกร้องในมูลละเมิด
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมีข้อความว่า จำเลยตกลงนำรถยนต์ของนายมนูที่เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ โดยจะทำการซ่อมให้เสร็จภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่รับรถไปจากพนักงานสอบสวน และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่นายมนูที่ได้รับบาดเจ็บเป็นเงิน 1,000 บาท กับค่าสิ่งของที่นายมนูซื้อนำมากับรถและได้รับความเสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท และตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีจะไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใด ๆ อันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้เชิดให้นายมนูเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำบันทึกดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาแทน ย่อมมีผลผูกพันกับผู้มอบอำนาจ
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างจำเลยกับ ม. มีข้อความระบุว่าจำเลยตกลงนำรถยนต์ของ ม. ซึ่งเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่ ม. ที่ได้รับบาดเจ็บตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใดอันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งคู่กรณีโดย ม. และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และพฤติการณ์หลังเกิดเหตุที่โจทก์มอบให้ ม. ไปตกลงกับจำเลยเรื่องค่าซ่อมรถและค่าเสียหายและโจทก์ยอมรับบันทึกดังกล่าว จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้เชิดให้ ม. เป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม จำเลย 3 ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แม้มีการรับประกันภัย ก็ไม่อาจทำให้ฟ้องชอบด้วยกฎหมายได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนายจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 3ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยขับรถดั๊มโดยประมาทกระบะหลังกระแทกถูกหลังคาปั๊มน้ำมันของบริษัท ค. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายเป็นเงิน 312,000 บาท โจทก์ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสาม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร ร่วมกระทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดเพราะอะไร จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่ารับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจนความรับผิดจำเลยที่ 3 คำฟ้องเคลือบคลุม ศาลยกฟ้อง
คำฟ้องบรรยายไว้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนายจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยขับรถดั๊มโดยประมาท กระบะหลังรถกระแทกถูกหลังคาปั๊มน้ำมันของบริษัท ค. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เสียหายเป็นเงิน 312,000 บาท โจทก์ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสาม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร ร่วมกระทำละเมิด หรือต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดเพราะอะไรล้วนแต่ไม่ปรากฏทั้งสิ้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง เป็นฟ้องเคลือบคลุม และแม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่ารับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีจำนองที่มีต่อคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการบังคับชำระหนี้
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้ มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น เพราะจำเลยจดทะเบียนจำนองประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม2529 ให้โจทก์ในฐานะผู้ร้องในคดีดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญในต้นเงินไม่เกิน 7,000,000 บาท เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคดีนี้ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงต้องฟังว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2529
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำวินิจฉัยศาลในคดีจำนอง และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินมีโฉนดทั้งสองแปลงของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้ เพราะที่ดินทั้งสองแปลงจำเลยจดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาว่า หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2529 เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้น เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมด แล้วพิพากษาให้ในส่วนที่คงเหลือ จึงไม่ถูกต้อง เพราะในที่สุดอาจไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์หรือโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์อื่นของจำเลยอย่างเจ้าหนี้สามัญ หรือให้ชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาดอยู่จากการบังคับจำนองก็ได้ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ซ้ำซ้อนเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง เพราะโดยอำนาจแห่งมูลหนี้โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เฉพาะหนี้ที่มีอยู่โดยสิ้นเชิงเท่านั้น
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้น เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมด แล้วพิพากษาให้ในส่วนที่คงเหลือ จึงไม่ถูกต้อง เพราะในที่สุดอาจไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์หรือโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์อื่นของจำเลยอย่างเจ้าหนี้สามัญ หรือให้ชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาดอยู่จากการบังคับจำนองก็ได้ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ซ้ำซ้อนเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง เพราะโดยอำนาจแห่งมูลหนี้โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เฉพาะหนี้ที่มีอยู่โดยสิ้นเชิงเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินต้องระบุรายละเอียดการปฏิเสธลายมือชื่อ หากไม่ทำตามจะสิทธิในการนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน โดยจำเลยนำเช็คมาขายลดให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปขึ้นเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินกับโจทก์ ทั้งไม่เคยนำเช็คมาขายลดให้แก่โจทก์ และไม่เคยได้รับเงินจากโจทก์ คำให้การดังกล่าวเป็นเพียงปฏิเสธลอย ๆ จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบว่า ไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยหากจำเลยสืบพยานก็ต้องห้ามมิให้รับฟังเพราะคำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธลอยๆ ในคดีซื้อขายลดตั๋วเงิน จำเลยต้องปฏิเสธรายละเอียดลายมือชื่อเพื่อสืบพยานได้
จำเลยให้การว่าไม่เคยทำสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินกับโจทก์ ทั้งไม่เคยนำเช็คตามฟ้องมาขายลดให้แก่โจทก์ และไม่เคยรับเงินจากโจทก์คำให้การดังกล่าวเป็นเพียงปฏิเสธลอยไม่ได้ให้รายละเอียดว่าลายมือชื่อจำเลยในสัญญาขายลดตั๋วเงินและลายมือชื่อในเช็คตามเอกสารท้ายฟ้องไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าชื่อว่า ไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยหากจำเลยสืบพยานก็ต้องห้ามมิให้รับฟัง เพราะคำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดแข่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องไม่เคลือบคลุม-การคำนวณหนี้-เอกสารประกอบพยาน-การส่งเอกสารต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มีจำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ