คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พีรพล จันทร์สว่าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับลดหนี้ภาษีอากรในแผนฟื้นฟูกิจการ และการแปลงหนี้เป็นทุนของหน่วยงานรัฐ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 ประสงค์ให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นภาษีอากรก็ตาม นอกจากนี้กรณีใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำมาตรา 56 ในเรื่องผลของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้โดยอนุโลมได้ ดังนั้น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดปรับลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้
กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินการแตกต่างจากนิติบุคคลโดยทั่วไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับกรมศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับลดหนี้ภาษีอากรในแผนฟื้นฟูกิจการ และการแปลงหนี้เป็นทุนของกรมศุลกากร
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27, 90/60 ประสงค์ให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรก็ตามหาก พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง ดังนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อาจนำมาตรา 56 เรื่องของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้โดยอนุโลมได้ ดังนั้น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดปรับลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะหรือมีบทบัญญัติห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลังฯ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ ซึ่งกำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้ อย่างไรก็ตามเมื่อแผนได้จัดทำโดยสุจริตและมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจเอาไว้และเพื่อจะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งปวงประกอบกับแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากเจ้าหนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว เพียงแต่ปรากฏเหตุขัดข้องในแผนเฉพาะส่วนที่กำหนดให้มีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยหุ้น จึงสมควรแจ้งให้ผู้ทำแผนทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวเสียก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนไปเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่านายหน้า - การชำระหนี้ค่าซื้อขาย - เลิกสัญญโดยปริยาย - สิทธิในการรับเงินค่านายหน้าคืน
ตามสัญญานายหน้าจำเลยตกลงจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์ไว้ 2 กรณี ในกรณีแรก ตามสัญญาข้อ 3 ถ้าโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาไม่ต่ำกว่าห้องละ 6,500,000 บาท จำเลยทั้งสองตกลงจ่ายค่านายหน้าห้องละ 300,000 บาท ในกรณีที่สอง ตามสัญญาข้อ 4 หากโจทก์สามารถชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาสูงกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 3 จำเลยทั้งสองตกลงให้จำนวนเงินส่วนที่เกินเป็นของโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ห้อง เอ. 9 และ เอ. 10 ได้ตามราคาที่กำหนดโจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่านายหน้าห้องละ 300,000 บาท และโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยขายอาคารพาณิชย์ห้อง เอ. 2, เอ. 6 ถึง เอ. 8 ในราคาสูงกว่าที่กำหนด โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่านายหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยทั้งสองขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาไม่ต่ำกว่าที่กำหนดตามสัญญาข้อ 3 และมีสิทธิได้รับเงินในส่วนที่สามารถชี้ช่องให้จำเลยทั้งสองขายในราคาสูงกว่าที่กำหนดตามสัญญาข้อ 4 อีกด้วย
ตามสัญญานายหน้าข้อ 5 ระบุไว้ชัดว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันให้ถือว่าค่านายหน้าที่โจทก์พึงได้รับส่วนหนึ่งเป็นการชำระค่าซื้อห้อง เอ. 1 ส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยเป็นเงินสดภายใน 150 วัน นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อขายกัน แต่นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นต้นมา โจทก์และจำเลยยังคงโต้เถียงพิพาทกันถึงจำนวนเงินค่านายหน้าที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับจากจำเลยทั้งสองตามสัญญานายหน้าซึ่งย่อมส่งผลให้ไม่สามารถคำนวณจำนวนหนี้ค่าซื้อห้อง เอ. 1 ส่วนที่เหลือได้ว่าเท่าไร ดังนั้น การที่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ค่าซื้อห้อง เอ. 1 ให้แก่จำเลยเพราะพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยไม่มีสิทธิเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ทำให้สัญญาจะซื้อจะขายห้อง เอ. 1 ระงับลงเพราะไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาตามกฎหมาย
จำเลยได้นำห้อง เอ. 1 ที่ตกลงขายให้แก่โจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่น โดยโจทก์มิได้ทักท้วงหรือเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายห้อง เอ. 1 โดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องยอมให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าจำนวน 3,000,000 บาท ที่จำเลยหักไว้เป็นการชำระค่าซื้อห้อง เอ. 1 คืน พร้อมดอกเบี้ยตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่านายหน้าเพียง 2,500,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้ง จึงเป็นอันยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลาย: ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์และข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา?" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย เว้นแต่? (3) คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน?" เช่นนี้ การอุทธรณ์คำสั่งในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 วรรคสองดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกา เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นนี้ไม่เกินสองแสนบาท ประกอบกับอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ในปัญหาว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้หรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับคดีนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 วรรคสี่ อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพยายามฆ่าและการแยกความผิดกรรมต่อผู้เสียหายหลายราย
จำเลยใช้มีดดาบปลายแหลมยาว 2 ฟุต ใบมีดกว้าง 1 นิ้ว ซึ่งเป็นมีดดาบที่มีขนาดใหญ่ฟันผู้เสียหายที่ 1 บริเวณกลางหน้าผาก ลึกถึงกะโหลกศีรษะจนกะโหลกศีรษะร้าว หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้แสดงว่า จำเลยฟันผู้เสียหายที่ 1 โดยแรงบริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 อาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1
จำเลยฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ผู้เสียหายที่ 2 จะเข้าไปห้ามจึงถูกจำเลยทำร้ายอีก แสดงว่าในการฟันของจำเลยแต่ละครั้ง ความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการฟันของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าฟันครั้งใดจำเลยมุ่งประสงค์จะฟันผู้เสียหายคนใด มิใช่ฟันในขณะที่ชุลมุนกัน เจตนาที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองจึงแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยต่อผู้เสียหายทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายไม่อยู่ในข้อยกเว้นอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย อุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่อนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม และเมื่อไม่มีเหตุที่จะรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมาย หากไม่ยื่นถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
การที่โจทก์จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์นำสรรพเอกสารที่อ้างไว้ในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับนำพยานหลักฐานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้มาสืบ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น อันถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่และไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ทั้งได้แถลงขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ศาลชั้นต้นได้แจ้งประเด็นกลับ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่พนักงานอัยการโจทก์จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เสียก่อน การที่พนักงานอัยการประจำศาลที่มีการส่งประเด็นมาสืบซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์นำสรรพเอกสารที่อ้างไว้ในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้โดยผิดหลง จึงมีผลเท่ากับนำพยานหลักฐานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้มาสืบ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวอันถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การสืบ อ. พยานโจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 เป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมมีผลเป็นการลบล้างการสืบ อ. และทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการสืบ อ. ในวันนั้นเลย โจทก์จึงมีสิทธินำ อ. ตามที่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เข้าสืบในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ได้โดยชอบ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสืบ อ. ถูกเพิกถอนไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การยื่นเอกสารไม่ใช่การฟ้องคดี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจา โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยไดกระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น โจทก์จึงต้องมาศาลกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว การที่โจทก์ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น และเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพของบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การที่ในวันดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลเองก็ไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษหรือพิพากษายกฟ้องจำเลยได้ กรณีต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
of 26