คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เทวรักษ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินจากการขายสินค้าก่อนจดทะเบียนบริษัท ผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องทุกข์
ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท อ. ร่วมกันนั้น จำเลย โจทก์ร่วม กับพวก ได้ตกลงกันให้ดำเนินการในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. (ซึ่งเป็นห้างเดิมของจำเลย) และ บริษัท ศ. ไปพลางก่อน โดยให้จำเลยเปิดบัญชีในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมเบิกถอนเงินได้แต่เพียงผู้เดียว ขณะอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท ได้มีการจำหน่ายสินค้าในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไป แต่เช็คถึงกำหนดชำระหลังจากจดทะเบียนบริษัท เรียบร้อยแล้ว จำเลยนำเช็คเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยที่โจทก์ร่วมและผู้ถือหุ้นคนอื่นไม่ยินยอมโดยอ้างว่าเพื่อ ชดใช้ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานและเครื่องมือแพทย์ของจำเลยที่นำมาลงทุนไว้ในบริษัท เมื่อพิจารณาตามข้อตกลง ที่ว่าจำเลยเป็นเพียงผู้ลงหุ้นด้วยแรงงานเท่านั้น ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟัง เมื่อเงินส่วนนี้เป็นเงินที่ได้จากการขายสินค้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนบริษัท จึงเป็นของโจทก์ร่วม การที่จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปเสียโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมโมฆะ: การจัดทำพินัยกรรมไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 1658, 1705)
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658 ที่บัญญัติว่า "(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน (2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการทำพินัยกรรมมีเฉพาะ ส. เข้าไปในบ้านเพื่อทำพินัยกรรมให้กับ บ. ตามที่ได้ยื่นคำร้องไว้ โดยปลัดอำเภออาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอกับ ถ. นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ร้านอาหารตรงกันข้ามกับปากตรอกทางเข้าบ้าน บ. เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ส. จึงนำพินัยกรรมนั้นมาให้ปลัดอำเภออาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอและ ถ. ลงลายมือชื่อที่ร้านอาหารแม้ในหน้าสุดท้ายของพินัยกรรมจะระบุว่า ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอ รับรองว่าเป็นผู้ทำหน้าที่จดข้อความ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าผู้ทำหน้าที่จดข้อความคือ ส. แม้จะฟังว่า ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอสั่งให้ ส. ช่วยจดข้อความแทน แต่ขณะจดข้อความนั้นมิได้กระทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันพินัยกรรมนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1658 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6415/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ชอบด้วยกฎหมาย และการส่งคำร้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมศาล เนื่องมาจากศาลฎีกามีคำสั่งให้ยก คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเสียนั้น มิใช่คำสั่งในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินคดี อย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา อันจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แต่เป็นการสั่งไปตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ให้อำนาจไว้ หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว จะต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ตามมาตรา 223 ที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยมายังศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. หรือตามที่ศาลกำหนดไว้หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วย วิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่นเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้น ระยะเวลานั้น ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 23
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลฎีกาได้กำหนดไว้เพื่อให้จำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยฎีกาว่า เหตุที่ไม่ได้ชำระภายในกำหนดเพราะหลงผิดไปว่าศาลชั้นต้นจะแจ้งคิดรายการจำนวนเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียเท่าไรให้จำเลยทราบอีกครึ่งหนึ่งนั้น มิได้เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมแต่ไม่เจตนาฆ่า
++ เรื่อง ความผิดต่อชีวิต ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไม้ท่อนเหลี่ยมขนาดยาวประมาณ 46 เซนติเมตร กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร หนาประมาณ4.5 เซนติเมตร ตีทำร้ายร่างกายนายยศฟ้า แก้วสีสม ผู้ตาย ที่บริเวณศีรษะด้วยเจตนาฆ่า นายยศฟ้าผู้ตายได้รับบาดเจ็บจนกะโหลกศีรษะแตก สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงถึงแก่ความตายสมเจตนาของจำเลยที่ 1
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่
++ ได้ความจากคำเบิกความของนายกิติพงษ์ รัตนพจน์ พยานโจทก์ตอบถามค้านทนายจำเลยว่า ก่อนที่ผู้ตายจะถูกทำร้ายถึงแก่ความตายนั้น จำเลยทั้งสองมาที่บ้านพยานผู้ตายก็มาและได้ชกต่อยกับจำเลยที่ 1 พยานช่วยห้ามแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับโดยผู้ตายกับเพื่อนกลับไปก่อน หลังจากนั้นประมาณ 5ถึง 10 นาที จำเลยทั้งสองก็ขับรถจักรยานยนต์ตามไป ต่อมาทราบว่ามีการฆ่ากันตาย นายสุทธิชัย เภาโพธิ์ เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า ในวันเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์ไปเที่ยวกับผู้ตาย ในตอนกลับได้แวะเยี่ยมเพื่อนที่บ้านที่เกิดเหตุ มีจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ตามมาแล้วตะโกนเข้ามาว่าอย่าเพิ่งไปไหน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองได้ขับรถกลับไปก่อน ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์มาอีกพร้อมด้วยไม้หน้าสาม ยาวประมาณ 1 ศอก หนาประมาณ 5 เซนติเมตร คนซ้อนท้ายคือจำเลยที่ 1เป็นคนถือไม้ดังกล่าวเข้ามาตีผู้ตาย และได้ความจากคำเบิกความของนายสุทธิชัยและนายถาวร เกตุสีพรม พยานโจทก์ ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุตรงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ตีทำร้ายร่างกายผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์หลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 2
++ เห็นว่า พยานโจทก์ไม่เคยมีสาเหตุกับจำเลยที่ 2 มาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งเบิกความใส่ร้ายจำเลยที่ 2 เชื่อว่าเบิกความตามที่รู้เห็นจริง ดังปรากฏว่ารายละเอียดในข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ที่ได้ความจากคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ก็เจือสมกับข้อนำสืบของโจทก์ ทั้งในเรื่องการชกต่อยของจำเลยที่ 1กับผู้ตายก็สอดคล้องตรงกับคำเบิกความของนายกิติพงษ์ดังกล่าวข้างต้นแม้กระทั่งการไปมาของจำเลยทั้งสองในวันเกิดเหตุก็ตรงกัน ว่าจำเลยที่ 2ร่วมไปกับจำเลยที่ 1 โดยตลอด จึงรับรู้รับทราบเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1ได้กระทำลงไปโดยใกล้ชิด พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ตายชกต่อยเป็นเหตุการณ์ที่เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 2
++ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ไปกับจำเลยที่ 1 โดยปรากฏว่าเมื่อตามไปพบผู้ตายอยู่ที่บ้านเกิดเหตุแล้วตะโกนบอกว่าอย่าเพิ่งไปไหน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองมาด้วยกันมีไม้เป็นอาวุธสำหรับใช้ทำร้ายผู้ตายติดตัวมาด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้และมีเจตนาร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ที่จะทำร้ายผู้ตาย เท่านั้น
++ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 สมคบคิดกับจำเลยที่ 1 ถึงกับจะมาฆ่าผู้ตาย และจำเลยที่ 2 ไม่อาจคาดคิดหรือเล็งเห็นผลว่า จำเลยที่ 1จะตีผู้ตายอย่างรุนแรงจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
++ พฤติการณ์เช่นนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายด้วย
++ เมื่อผลการทำร้ายเป็นเหตุทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษจำคุก 9 ปี คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษามาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ศาลไม่รับฟ้องคดีเดิมซ้ำ เมื่อประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว
คดีเดิมเมื่อจำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเลยว่า โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้น อันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เอง เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า ความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย ขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ดังนี้ เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกัน ซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: โจทก์ไม่ยกเหตุไม่ได้รับเงินในคดีเดิม แล้วกลับมาฟ้องใหม่
คดีเดิมเมื่อจำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเลยว่า โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้นอันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เอง เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า ความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย ขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ ดังนี้ เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกัน ซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องไม่ได้รับเงินในคดีเดิม
คดีก่อน จำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่าโจทก์ไม่ได้ รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท อันเป็นความบกพร่อง ไม่รอบคอบของโจทก์ ดังนี้เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าความจริงแล้วโจทก์ ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย เท่ากับ เป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความ รายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้อง กลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและการเพิกถอนชื่อออกจาก น.ส.3
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แปลงหนึ่งมี น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งไม่มีหนังสือเอกสารสิทธิ โดยได้มาจากการให้ต่างตอบแทนจาก ป. และจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้เงินยืม โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครอง โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ส่วนจำเลยที่ 1 ก็หมดสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตามมาตรา 1378 การที่จำเลยที่ 1 ยังคงมีชื่อใน น.ส.3 มีผลให้จำเลยที่ 1 ยังได้รับคำรับรองของทางราชการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373สิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับตามกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ตามความเป็นจริงโดยตรง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้อง ขอให้เพิกถอนชื่อของจำเลยที่ 1 ออกจาก น.ส.3 ได้ กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการโต้แย้งตัวทรัพย์ คือ ที่ดินที่ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองตาม น.ส.3 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยกระทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 2 ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตาม น.ส.3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนชื่อใน น.ส.3 ที่ไม่ถูกต้องกระทบสิทธิผู้ครอบครองจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แปลงหนึ่งมี น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งไม่มีหนังสือเอกสารสิทธิ โดยได้มาจากการให้ต่างตอบแทนจาก ป. และจำเลยที่ 1เพื่อชำระหนี้เงินยืม โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครอง โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367ส่วนจำเลยที่ 1 ก็หมดสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตามมาตรา 1378 การที่จำเลยที่ 1 ยังคงมีชื่อใน น.ส.3 มีผลให้จำเลยที่ 1 ยังได้รับคำรับรองของทางราชการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตาม ป.ที่ดินมาตรา 4 ทวิ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373สิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับตามกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ตามความเป็นจริงโดยตรง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อของจำเลยที่ 1 ออกจาก น.ส.3 ได้ กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการโต้แย้งตัวทรัพย์ คือ ที่ดินที่ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองตามน.ส.3 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยกระทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 2ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตาม น.ส.3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การที่ไม่เพิ่มเติมประเด็นใหม่ ไม่กระทบผลคดี ศาลมีอำนาจไม่อนุญาตได้
คำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลยเป็นการสรุปคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นข้อพิพาทระหว่างคู่ความขึ้นใหม่ให้แตกต่างไปจากคำให้การเดิม และไม่ติดใจบังคับตามฟ้องแย้งตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีซึ่งศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยตรงตามประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยให้การต่อสู้แล้วเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งที่ให้ยกคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
of 7