พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอริบทรัพย์สินในคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติด: ผู้มิได้เข้ามาคัดค้านย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง และศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ผู้ร้องได้แถลงเพื่อให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและได้ส่งหมายนัดให้จำเลยที่ 1 โดยชอบการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การดำเนินคดีขอริบทรัพย์สินในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อันเป็นกระบวนการพิเศษ พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแตกต่างไปจากการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กล่าวคือตามมาตรา 30 วรรคสอง จะมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดอ้างตัวเป็นเจ้าของทรัพย์สินก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 30 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งริบทรัพย์สินได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามมาตรา 30 วรรคสองส่วนกรณีมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านตามมาตรา 30 วรรคสอง บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีอาจจะเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกคดีดังกล่าวก็ได้ บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีในกรณีนี้จึงไม่ได้เข้ามาในคดีในฐานะจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เข้ามาในฐานะอ้างว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การไต่สวนคำร้องของศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
การไต่สวนคำร้องที่ขอให้ริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีอัตราโทษที่ศาลต้องตั้งทนายความให้จำเลยหากกรณีมีบุคคลเข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง และบุคคลดังกล่าวไม่มีทนายความ ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ที่ศาลจะต้องตั้งทนายความให้ก่อนเริ่มพิจารณา แม้จำเลยที่ 1 จะมาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรก และในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 30 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ใน มาตรา 30 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องนัดแรกโดยไม่เลื่อนคดีไปนั้นชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ของกลางเข้าไปเกี่ยวข้องในความผิดที่จำเลยที่ 1กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยสมัครใจและมีส่วนได้เสียหรือไม่และคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ศาลจะสั่งริบรถยนต์ของกลางไม่ได้นั้น เท่ากับจำเลยที่ 1ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดในคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคสาม หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็มีผลให้ศาลไม่อาจสั่งริบรถยนต์ของกลางนั่นเอง การที่บุคคลใดจะพิสูจน์ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุทธรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 วรรคสาม จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 วรรคสองเสียก่อน คือต้องยื่นคำร้องขอคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เพราะมิฉะนั้นหากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ยังให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้อีก ก็ย่อมมีผลเท่ากับให้บุคคลดังกล่าวร้องขอทรัพย์สินของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 โดยปริยายอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้ายที่ห้ามมิให้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 30 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีดังกล่าวไม่ได้
การดำเนินคดีขอริบทรัพย์สินในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อันเป็นกระบวนการพิเศษ พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแตกต่างไปจากการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กล่าวคือตามมาตรา 30 วรรคสอง จะมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดอ้างตัวเป็นเจ้าของทรัพย์สินก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 30 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งริบทรัพย์สินได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามมาตรา 30 วรรคสองส่วนกรณีมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านตามมาตรา 30 วรรคสอง บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีอาจจะเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกคดีดังกล่าวก็ได้ บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีในกรณีนี้จึงไม่ได้เข้ามาในคดีในฐานะจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เข้ามาในฐานะอ้างว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การไต่สวนคำร้องของศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
การไต่สวนคำร้องที่ขอให้ริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีอัตราโทษที่ศาลต้องตั้งทนายความให้จำเลยหากกรณีมีบุคคลเข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง และบุคคลดังกล่าวไม่มีทนายความ ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ที่ศาลจะต้องตั้งทนายความให้ก่อนเริ่มพิจารณา แม้จำเลยที่ 1 จะมาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรก และในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 30 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ใน มาตรา 30 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องนัดแรกโดยไม่เลื่อนคดีไปนั้นชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ของกลางเข้าไปเกี่ยวข้องในความผิดที่จำเลยที่ 1กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยสมัครใจและมีส่วนได้เสียหรือไม่และคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ศาลจะสั่งริบรถยนต์ของกลางไม่ได้นั้น เท่ากับจำเลยที่ 1ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดในคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคสาม หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็มีผลให้ศาลไม่อาจสั่งริบรถยนต์ของกลางนั่นเอง การที่บุคคลใดจะพิสูจน์ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุทธรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 วรรคสาม จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 วรรคสองเสียก่อน คือต้องยื่นคำร้องขอคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เพราะมิฉะนั้นหากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ยังให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้อีก ก็ย่อมมีผลเท่ากับให้บุคคลดังกล่าวร้องขอทรัพย์สินของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 โดยปริยายอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้ายที่ห้ามมิให้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 30 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความกรณีตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้อนและอายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์คดีแรกเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย คดีมีประเด็นว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ ส่วนในคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์อ้างว่าจำเลยทำสัญญาแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหลักทรัพย์ที่จำเลยสั่งซื้อ แต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินคืนโจทก์ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ แม้พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองคดีจะเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกัน แต่ก็เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน และการวินิจฉัยของศาลในเรื่องทั้งสองดังกล่าวก็ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่านายหน้าที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จากตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่านายหน้าที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จากตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อายุความ: คดีตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ เรียกค่าทดรองจากตัวการ
คดีโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย มีประเด็นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าจำเลยทำสัญญาแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ โจทก์ออกเงินทดรองชำระค่าหลักทรัพย์ที่จำเลยสั่งซื้อ แต่จำเลยไม่ชำระเงินคืนโจทก์ มีประเด็นว่า จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ แม้พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นชุดเดียวกัน แต่ก็เป็นคนละประเด็น และการวินิจฉัยของศาลทั้งสองคดีไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน และเป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จาก ตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการฟ้องล้มละลายต่ออายุความค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์ แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาสิ้นสุดคดีผิดสัญญาประกัน เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
ในคดีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันผู้ประกันนำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นนัดไต่สวน ถึงวันนัดผู้ประกันไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ประกันไม่ติดใจขอลดค่าปรับและจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับเข้ามาใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ประกันจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองบ้านและที่ดินโดยทายาทหลังนิติกรรมการให้มีผลเกิน 10 ปี ถือเป็นบริวารของผู้รับโอน
จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และได้จดทะเบียนโอนบ้านเลขที่ 103/9 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 21740 ให้แก่โจทก์แทนการชำระหนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้บ้านและที่ดินดังกล่าวมาโดยมีค่าตอบแทน แม้จะฟังตามที่ผู้ร้องทั้งห้าอ้างว่าโจทก์รับโอนมาโดยทราบว่าบ้านและที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างนายวิชัยและ นางเพิ่มสุขจดทะเบียนยกให้จำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายวิชัยก็ตาม แต่ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้เพิกถอน นิติกรรมการให้ระหว่างนางเพิ่มสุขกับจำเลย จำเลยผู้มีชื่อในทะเบียนที่ดินจึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าว และแม้จะฟังว่านายวิชัยอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างนางเพิ่มสุขกับจำเลยได้ แต่นับแต่ นางเพิ่มสุขจดทะเบียนยกบ้านและที่ดินดังกล่าวให้จำเลยเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2524 ถึงวันที่ผู้ร้องทั้งห้ายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2538 เป็นเวลาเกิน 10 ปี ผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของนายวิชัยจึงไม่มีสิทธิฟ้อง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างนางเพิ่มสุขกับจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง การที่ผู้ร้องทั้งห้าอยู่ในบ้านและที่ดินโฉนดเลขที่ 21740 ถือว่าอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย ผู้ร้องทั้งห้าจึงเป็นบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีน) ในวาระเดียวกัน ถือเป็นกรรมเดียว
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนต่างก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) ซึ่งกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ลำดับที่ 20 ส่วนเฮโรอีนอยู่ในลำดับที่ 14 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวไว้ในครอบครองในวาระเดียวกัน ดังนั้น แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดจะต่างชนิดกันแต่ก็ต่างเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: หากรัฐไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องค่าเวนคืน และการคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่กำหนด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์