พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศูนย์การค้ามีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยรถลูกค้า การฟ้องละเมิดและการแบ่งความรับผิดชอบของบริษัทรักษาความปลอดภัย
จ. ผู้เอาประกันภัย เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มาจากธนาคาร ธ. หากรถยนต์สูญหายไปโจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ธนาคาร ธ. เจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ส่วนเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรับประกันภัยของโจทก์หลงลืมระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ และยังคงยืนยันว่าผู้รับผลประโยชน์คือธนาคาร ธ. ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ จ. มีข้อโต้แย้งกันในเรื่องที่โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ธนาคาร ธ. จึงฟังได้ว่า จ. ยินยอมให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ธนาคาร ธ. โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจประเภทศูนย์การค้าโดยแบ่งพื้นที่ภายในศูนย์การค้าให้บุคคลอื่นเช่าเพื่อทำการค้า และจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่อความสะดวกของผู้เช่าพื้นที่และลูกค้าที่มาใช้บริการ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการต่างๆ ให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 โดยตรง แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบกิจการเช่นว่าย่อมต้องให้ความสำคัญในด้านบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารและการใช้สถานที่ศูนย์การค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการในเรื่องของที่จอดรถซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งในการตัดสินใจของลูกค้าว่าจะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งปัจจัยข้อนี้มีผลโดยตรงต่อจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้แจกบัตรจอดรถ ไม่เรียกเก็บค่าบริการจอดรถ บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 ก็สามารถนำรถเข้าจอดได้ ไม่ต้องฝากกุญแจรถไว้กับพนักงานของจำเลยที่ 1 หรือพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 แต่เมื่อที่จอดรถเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการประกอบกิจการศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารสถานที่เป็นผู้ประกอบกิจการศูนย์การค้าขนาดใหญ่จึงต้องคำนึงถึงและมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถของลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการตามสมควร มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าผู้มาใช้บริการต้องเป็นฝ่ายระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเองในระหว่างที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ ภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้ว่าจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่และลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้า บริเวณทางเข้าและทางออกลานจอดรถไม่มีการมอบและคืนบัตรจอดรถ ไม่มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำอยู่ คงมีแต่เพียงกล้องวงจรปิดติดตั้งไว้เพื่อบันทึกภาพรถเข้าและออก ซึ่งเห็นได้ว่าไม่สามารถป้องกัน ระงับ หรือยับยั้งการโจรกรรมรถยนต์ได้ เช่นนี้จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลย งดเว้น ไม่สอดส่อง ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอดรถตามหน้าที่ตามสมควร เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ซึ่งจอดอยู่ในลานจอดรถศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 สูญหายไป อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ความตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ข้อ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ทำการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ณ อาคารศูนย์การค้า ซ. แต่สัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยและเอกสารแนบท้ายหาได้ระบุให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินตลอดจนรถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ แม้ลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 จะทำให้เข้าใจได้ว่ามีการดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินรวมถึงรถยนต์ของลูกค้าด้วย แต่ความเข้าใจของลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการเช่นว่าไม่มีผลเป็นการก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยที่ 2 เกินไปกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาว่าจ้างดูแลรักษาความปลอดภัยโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงหาจำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ไม่
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจประเภทศูนย์การค้าโดยแบ่งพื้นที่ภายในศูนย์การค้าให้บุคคลอื่นเช่าเพื่อทำการค้า และจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่อความสะดวกของผู้เช่าพื้นที่และลูกค้าที่มาใช้บริการ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการต่างๆ ให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 โดยตรง แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบกิจการเช่นว่าย่อมต้องให้ความสำคัญในด้านบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารและการใช้สถานที่ศูนย์การค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการในเรื่องของที่จอดรถซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งในการตัดสินใจของลูกค้าว่าจะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งปัจจัยข้อนี้มีผลโดยตรงต่อจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้แจกบัตรจอดรถ ไม่เรียกเก็บค่าบริการจอดรถ บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 ก็สามารถนำรถเข้าจอดได้ ไม่ต้องฝากกุญแจรถไว้กับพนักงานของจำเลยที่ 1 หรือพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 แต่เมื่อที่จอดรถเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการประกอบกิจการศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารสถานที่เป็นผู้ประกอบกิจการศูนย์การค้าขนาดใหญ่จึงต้องคำนึงถึงและมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถของลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการตามสมควร มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าผู้มาใช้บริการต้องเป็นฝ่ายระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเองในระหว่างที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ ภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้ว่าจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่และลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้า บริเวณทางเข้าและทางออกลานจอดรถไม่มีการมอบและคืนบัตรจอดรถ ไม่มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำอยู่ คงมีแต่เพียงกล้องวงจรปิดติดตั้งไว้เพื่อบันทึกภาพรถเข้าและออก ซึ่งเห็นได้ว่าไม่สามารถป้องกัน ระงับ หรือยับยั้งการโจรกรรมรถยนต์ได้ เช่นนี้จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลย งดเว้น ไม่สอดส่อง ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอดรถตามหน้าที่ตามสมควร เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ซึ่งจอดอยู่ในลานจอดรถศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 สูญหายไป อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ความตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ข้อ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ทำการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ณ อาคารศูนย์การค้า ซ. แต่สัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยและเอกสารแนบท้ายหาได้ระบุให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินตลอดจนรถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ แม้ลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 จะทำให้เข้าใจได้ว่ามีการดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินรวมถึงรถยนต์ของลูกค้าด้วย แต่ความเข้าใจของลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการเช่นว่าไม่มีผลเป็นการก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยที่ 2 เกินไปกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาว่าจ้างดูแลรักษาความปลอดภัยโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงหาจำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดีถึงมีผลแพ้ชนะ จึงจะมีความผิด
ความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 นั้น ข้อความเท็จที่ได้เบิกความต่อศาลในการพิจารณาคดีจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดี ซึ่งหมายถึงต้องเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างแท้จริงถึงขนาดมีผลทำให้แพ้ชนะคดีกันได้โดยอาศัยคำเบิกความอันเป็นเท็จเท่านั้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงโดยวินิจฉัยถึงหน้าที่นำสืบของโจทก์ประกอบคำเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์และคำเบิกความของ พ. จำเลยในคดีดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนคำเบิกความของจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นไม่ได้นำมากล่าวถึง เพียงแต่นำมารับฟังประกอบข้อวินิจฉัยที่ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบกับคำเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยของโจทก์เท่านั้น แล้ววินิจฉัยถึงพฤติการณ์ต่างๆ ดังที่หยิบยกขึ้นมากล่าว โดยมิได้นำคำเบิกความของจำเลย มาเป็นข้อวินิจฉัยให้มีผลเป็นการแพ้ชนะกัน ข้อความที่จำเลยเบิกความดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการไล่เบี้ยค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และสิทธิการไล่เบี้ยของบริษัทประกันภัย
ร. เอาประกันภัยรถจักรยานยนต์ไว้กับโจทก์ เป็นการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งมาตรา 7 บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ โจทก์ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 และ 25 เมื่อได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย ทั้งไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เพราะผู้ประสบภัยไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย โดยเดิม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 บัญญัติให้การใช้สิทธิไล่เบี้ยต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย แต่ต่อมามี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550 มาตรา 11 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 โดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ใช้ข้อความใหม่แทนข้อความเดิมที่ถูกยกเลิกไป จึงเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไล่เบี้ยไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่ที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นความรับผิดประกันภัยกรณีรถยนต์บรรทุกพืชกระท่อม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเจตนาต้องชัดเจนว่าใช้ขนยาเสพติดโดยตรง
การใช้รถยนต์ในทางผิดกฎหมายโดยใช้ขนยาเสพติด ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 7.2 หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก มีเจตนายกเว้นการใช้รถยนต์เพื่อประโยชน์ในการทำผิดกฎหมายโดยตรงเท่านั้น การที่พบถุงปุ๋ยซุกซ่อนอยู่บริเวณช่องว่างของเครื่องยนต์รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่าต้องการใช้รถกระบะเพื่อซุกซ่อนพืชกระท่อมเท่านั้น ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถกระบะในทางผิดกฎหมายโดยใช้ขนยาเสพติดโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการกระทำผิดยาเสพติด: จำหน่ายให้ผู้อื่นนำไปจำหน่ายต่อ แม้ไม่ร่วมครอบครอง ศาลลงโทษฐานสนับสนุน
ที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเกิดในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองตาก พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสุโขทัยไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นการขอให้ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มิใช่ขอมาในคำแก้ฎีกา จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
ก่อนเกิดเหตุ ส. ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยเพื่อนำมาจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง มิใช่จำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ ส. นำไปจำหน่ายก่อน แล้ว ส. จึงโอนเงินค่าเมทแอมเฟตามีนให้จำเลยโดย ส. ได้กำไรผลต่างที่นำไปจำหน่ายเกินกว่าราคาต้นทุน เมื่อ ส. ซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยแล้ว เมทแอมเฟตามีนของกลางย่อมตกเป็นของ ส. เพียงลำพัง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับ ส. แม้ก่อนที่จะจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ ส. เมทแอมเฟตามีนอยู่ในความครอบครองของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 เวลากลางวัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดวันดังกล่าวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้เพราะเกินกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องเกี่ยวกับเวลาซึ่งมิถือว่าต่างกันในข้อสำคัญ อย่างไรก็ตามการที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ส. ย่อมถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ส. ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการ แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เพราะข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้
ก่อนเกิดเหตุ ส. ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยเพื่อนำมาจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง มิใช่จำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ ส. นำไปจำหน่ายก่อน แล้ว ส. จึงโอนเงินค่าเมทแอมเฟตามีนให้จำเลยโดย ส. ได้กำไรผลต่างที่นำไปจำหน่ายเกินกว่าราคาต้นทุน เมื่อ ส. ซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยแล้ว เมทแอมเฟตามีนของกลางย่อมตกเป็นของ ส. เพียงลำพัง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับ ส. แม้ก่อนที่จะจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ ส. เมทแอมเฟตามีนอยู่ในความครอบครองของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 เวลากลางวัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดวันดังกล่าวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้เพราะเกินกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องเกี่ยวกับเวลาซึ่งมิถือว่าต่างกันในข้อสำคัญ อย่างไรก็ตามการที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ส. ย่อมถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ส. ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการ แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เพราะข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8908/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ดูแลความปลอดภัยลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า และความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัย
แม้จำเลยจะต้องจัดให้มีสถานที่จอดรถตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9) ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องมีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยประกอบกิจการค้าห้างขนาดใหญ่ ขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ จำเลยย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้า ความปลอดภัย ความสะดวกสบายเพื่อสร้างความพึงพอใจและดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการและซื้อสินค้าอันจะส่งผลต่อรายได้ของจำเลย การจัดสถานที่จอดรถที่สะดวกและปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการในห้างของจำเลยซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการของจำเลยโดยตรง จำเลยต้องคำนึงถึงและมีหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สินตามสมควร ไม่ปล่อยให้ลูกค้าต้องเป็นผู้ระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอง จำเลยจึงมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้าไปจอดในลานจอดรถที่จำเลยจัดไว้เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ถูกโจรกรรมได้ อันเนื่องมาจากลักษณะของการประกอบกิจการค้าเช่นจำเลยจะพึงต้องปฏิบัติต่อลูกค้า แม้จำเลยไม่ได้สัญญาว่าจะรับดูแลทรัพย์สินหรือรับฝากรถยนต์ของลูกค้าโดยตรง หรือมิได้มีการเรียกเก็บเงินค่าจอดรถก็ตาม ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยเคยจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำของจำเลยร่วมอยู่ที่จุดทางเข้าออกของห้าง และแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ามาจอด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากคนขับรถไม่มีบัตรจอดรถจะต้องมีหลักฐานมาแสดงความเป็นเจ้าของรถและยังต้องเสียค่าปรับจึงจะนำรถออกไปได้ แต่จำเลยกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสีย โดยติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ที่ตำแหน่งทางเข้าออกแทน และไม่จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลจุดทางเข้าออกของห้างเพื่อสกัดกั้นมิให้มีการขับรถออกไปจากลานจอดรถของห้างได้โดยสะดวก มีผลเป็นการลดมาตรการป้องกันมิให้รถยนต์ที่ลูกค้านำมาจอดไว้ถูกโจรกรรมและนำออกไปจากพื้นที่ได้โดยง่าย พฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่า จำเลยงดเว้นการที่จะต้องดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรม เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เมื่อเป็นผลโดยตรงทำให้คนร้ายฉวยโอกาสโจรกรรมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
ตามสัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัยระบุว่า จำเลยร่วมตกลงรับจ้างบริการรักษาความปลอดภัยให้แก่จำเลย โดยมีหน้าที่สอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลอื่นที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการ ซึ่งได้แก่อาคาร สถานที่ และอาณาบริเวณของอาคารให้มีความปลอดภัย จำเลยร่วมผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลสถานที่จอดรถให้มีความปลอดภัยตามสมควร รวมถึงมีหน้าที่ป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรมไปเช่นเดียวกับจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้สั่งยกเลิกการแจกบัตรจอดรถยนต์ และยกเลิกการจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำของจำเลยร่วมอยู่ที่จุดทางเข้าออกของห้างและแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ามาจอดโดยเพียงแต่ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่บริเวณทางเข้าออกแทนก่อนเกิดเหตุ ซึ่งมีผลเป็นการลดมาตรการป้องกันมิให้รถยนต์ที่ลูกค้านำมาจอดไว้ถูกโจรกรรมไป การที่จำเลยสั่งให้จำเลยร่วมจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยเพียง 5 คนประจำตามจุดที่จำเลยกำหนดเพื่อดูแลพื้นที่ลานจอดรถยนต์ขนาด 1,096 คัน ซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถขนาดใหญ่และมีการแบ่งพื้นที่จอดรถเป็นหลายส่วนรอบอาคารของห้าง การสอดส่องตรวจตราดูแลย่อมกระทำได้ไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอต่อการป้องกันมิให้เกิดการโจรกรรมรถยนต์ของลูกค้าไป เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับคำสั่งบกพร่องอย่างไร และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้อยู่ในความรู้เห็นของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วม การที่รถยนต์คันดังกล่าวถูกโจรกรรมจึงไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมที่จำเลยร่วมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย
ตามสัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัยระบุว่า จำเลยร่วมตกลงรับจ้างบริการรักษาความปลอดภัยให้แก่จำเลย โดยมีหน้าที่สอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลอื่นที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการ ซึ่งได้แก่อาคาร สถานที่ และอาณาบริเวณของอาคารให้มีความปลอดภัย จำเลยร่วมผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลสถานที่จอดรถให้มีความปลอดภัยตามสมควร รวมถึงมีหน้าที่ป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรมไปเช่นเดียวกับจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้สั่งยกเลิกการแจกบัตรจอดรถยนต์ และยกเลิกการจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำของจำเลยร่วมอยู่ที่จุดทางเข้าออกของห้างและแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ามาจอดโดยเพียงแต่ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่บริเวณทางเข้าออกแทนก่อนเกิดเหตุ ซึ่งมีผลเป็นการลดมาตรการป้องกันมิให้รถยนต์ที่ลูกค้านำมาจอดไว้ถูกโจรกรรมไป การที่จำเลยสั่งให้จำเลยร่วมจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยเพียง 5 คนประจำตามจุดที่จำเลยกำหนดเพื่อดูแลพื้นที่ลานจอดรถยนต์ขนาด 1,096 คัน ซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถขนาดใหญ่และมีการแบ่งพื้นที่จอดรถเป็นหลายส่วนรอบอาคารของห้าง การสอดส่องตรวจตราดูแลย่อมกระทำได้ไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอต่อการป้องกันมิให้เกิดการโจรกรรมรถยนต์ของลูกค้าไป เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับคำสั่งบกพร่องอย่างไร และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้อยู่ในความรู้เห็นของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วม การที่รถยนต์คันดังกล่าวถูกโจรกรรมจึงไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมที่จำเลยร่วมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยครอบครองยาเสพติดในบ้านเช่า นัดรับยาจากผู้อื่น สมุดบัญชีพบในห้องพัก พยานเบิกความประกอบ เชื่อได้ว่าจำเลยรู้เห็น
ก. ผู้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยทั้งสองมิใช่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยทั้งสอง คำเบิกความของ ก. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานย่อมมิใช่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิด แต่ ก. เบิกความแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนเป็นการเบิกความกลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องรอย ทั้งข้อเท็จจริงบางส่วนยังสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของ ก. ด้วย จึงมีเหตุผลเชื่อว่า ก. เบิกความช่วยเหลือจำเลยทั้งสองมากกว่าที่จะเบิกความไปตามที่เป็นจริง เชื่อว่า ก. ให้การในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจ เมื่อรับฟังประกอบคำเบิกความของ ร้อยตำรวจโท ศ. ผู้ร่วมจับกุม ที่ยืนยันว่า ก. โทรศัพท์สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสอง โดยให้ ก. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 และนัดรับมอบเมทแอมเฟตามีนที่บ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งต่อมาจำเลยทั้งสองก็ขับรถจักรยานยนต์มายังบ้านที่เกิดเหตุ แต่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสองได้ก่อนที่จะส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ก. การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
ร้อยตำรวจโท ศ. และ ร้อยตำรวจโท พ. ผู้ร่วมจับกุมตรวจค้นพบสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ภายในห้องของบ้านที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นกุญแจให้ไขตู้เสื้อผ้าที่ปิดล็อกก็พบเมทแอมเฟตามีนของกลาง และตามบันทึกการจับกุมระบุว่าจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นสามีภริยากันและเป็นผู้เช่าบ้านที่เกิดเหตุจริง จึงเชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้ว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนอยู่ภายในบ้านที่เกิดเหตุ จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วย จึงมีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 ใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ร้อยตำรวจโท ศ. และ ร้อยตำรวจโท พ. ผู้ร่วมจับกุมตรวจค้นพบสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ภายในห้องของบ้านที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นกุญแจให้ไขตู้เสื้อผ้าที่ปิดล็อกก็พบเมทแอมเฟตามีนของกลาง และตามบันทึกการจับกุมระบุว่าจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นสามีภริยากันและเป็นผู้เช่าบ้านที่เกิดเหตุจริง จึงเชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้ว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนอยู่ภายในบ้านที่เกิดเหตุ จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วย จึงมีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 ใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการกระทำผิดคดียาเสพติด: ความผิดฐานสนับสนุนและบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 และข้อ 1.2 แยกต่างหากจากกัน โดยฟ้องโจทก์ข้อ 1.1 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 ส่วนฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 เพียงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกที่หลบหนีไปยังไม่ได้ตัวมาฟ้องสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมิได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยที่ 2 สมคบกับจำเลยที่ 1 ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งกรณีไม่อาจนำเอาการบรรยายฟ้องข้อ 1.2 มาประกอบฟ้องข้อ 1.1 ได้ เพราะเป็นการฟ้องคนละฐานความผิดกัน ฟ้องโจทก์ข้อ 1.1 สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ส่วนฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่เมื่อฟ้องโจทก์ข้อดังกล่าวได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าวโดยการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 กับพวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 ได้ให้คำนิยาม ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ว่าหมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือหรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจำหน่ายให้แก่สายลับในที่เกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 2 ขับรถกระบะของกลางพาจำเลยที่ 1 กับ จ. ไปดูเงินที่จะใช้ล่อซื้อและมารับจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (1)
ส่วนฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่เมื่อฟ้องโจทก์ข้อดังกล่าวได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าวโดยการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 กับพวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 ได้ให้คำนิยาม ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ว่าหมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือหรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจำหน่ายให้แก่สายลับในที่เกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 2 ขับรถกระบะของกลางพาจำเลยที่ 1 กับ จ. ไปดูเงินที่จะใช้ล่อซื้อและมารับจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6733/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนข้ามเขต, การริบของกลาง, พยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ, และการพิสูจน์การใช้โทรศัพท์
ร้อยตำรวจเอก ท. และดาบตำรวจ บ. กับพวกตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางได้จากจำเลยที่อำเภอปากพนัง ซึ่งอยู่ในอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรปากพนัง การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนครศรีธรรมราช จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ คดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน กรณีจึงมิใช่ความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่งอันทำให้พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนครศรีธรรมราช มีอำนาจสอบสวนได้
แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่โจทก์มีคำขอให้ริบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบโดยอ้างว่าจำเลยใช้ในการติดต่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อคำเบิกความของพยานโจทก์มีข้อพิรุธน่าสงสัยว่าจะมีการวางแผนล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยหรือไม่ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบถึงรายการการใช้โทรศัพท์ระหว่างโทรศัพท์ของสายลับกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นใดซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และไม่ใช่ทรัพย์สิน ที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดตามฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่โจทก์มีคำขอให้ริบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบโดยอ้างว่าจำเลยใช้ในการติดต่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อคำเบิกความของพยานโจทก์มีข้อพิรุธน่าสงสัยว่าจะมีการวางแผนล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยหรือไม่ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบถึงรายการการใช้โทรศัพท์ระหว่างโทรศัพท์ของสายลับกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นใดซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และไม่ใช่ทรัพย์สิน ที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดตามฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการตรวจค้นยาเสพติด: การรับฟังพยานหลักฐาน, คำรับสารภาพ, และการแก้ไขบทกฎหมายโทษ
ตามบันทึกการจับกุม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก ห. ชาวเขาเผ่าลีซอ โดยไปซื้อที่บริเวณหมู่บ้านทับเดื่อก่อนที่จะเข้ามาพักที่โรงแรมในราคาถุงละ 8,700 บาท ในการไปซื้อและรับเมทแอมเฟตามีนครั้งนี้มีจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเจ้าของเงินทุนที่ใช้ซื้อเมทแอมเฟตามีน และจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ขับรถยนต์ แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 บัญญัติมิให้นำคำรับสารภาพชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความอื่นซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งกฎหมายมิได้ห้ามนำมารับฟังเสียทีเดียว ที่จำเลยที่ 1 เบิกความว่า เหตุที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุม เนื่องจากเจ้าพนักงานบอกให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ โดยไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่าน และจำเลยที่ 2 เบิกความว่าเจ้าพนักงานตำรวจนำเอกสารมาให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกาย จึงเกิดความกลัว และลงชื่อในเอกสารดังกล่าว โดยเจ้าพนักงานตำรวจมิได้ให้จำเลยที่ 2 อ่าน มิฉะนั้นแล้วคงไม่ต้องทำบันทึกการจับกุมก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ง่ายต่อการกล่าวอ้าง ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอยโดยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองผู้ร่วมจับกุมในข้อหานี้ไว้ด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มานำสืบในภายหลังเช่นนี้ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ เชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การชั้นจับกุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจ จึงนำไปรับฟังประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองได้ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย