พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 กรณีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อทั้งสองคดีคู่ความเป็นคนเดียวกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: โจทก์ฟ้องชดใช้ราคารถยนต์ซ้ำ หลังศาลตัดสินให้ส่งมอบรถยนต์จากสัญญาเช่าแล้ว
ประเด็นข้อพิพาทสำคัญในคดีก่อน เป็นการพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษาเนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อคดีก่อนและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นในคดีก่อน และคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคาทรัพย์ในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยกันถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วหาได้ไม่ กรณีจึงเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728-7729/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถที่ให้เช่ารถพร้อมคนขับแก่ตัวแทน และการละเมิดของคนขับ
ลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางให้บริษัทเขมจิราขนส่ง จำกัด เช่ารถบรรทุกน้ำมันคันเกิดเหตุโดยมีชื่อและเครื่องหมายของลูกหนี้อยู่ที่รถ แล้วนำไปบรรทุกน้ำมันส่งให้แก่ลูกค้าทั่วราชอาณาจักร ถือได้ว่าบริษัทดังกล่าวเป็นตัวแทนของลูกหนี้ในการขนส่งน้ำมัน เมื่อผู้ขับรถบรรทุกน้ำมันซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวได้กระทำละเมิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสองในทางการที่จ้าง ลูกหนี้ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างของตัวแทนได้กระทำไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 425, 427, 820
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของผู้พิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่รวบรวมในคดีนี้ผู้คัดค้านได้มาจากการอายัดเงินฝากของลูกหนี้ที่ธนาคารกับเงินตามคำพิพากษาตามยอมและค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการร้องขอให้ยึด อายัด หรือชี้ช่องให้รับเงินแต่ประการใด การที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นการใช้สิทธิทางศาลให้มีการนำกระบวนการทางกฎหมายมาจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ มิใช่กระทำเพื่อประโยชน์ของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเอาความจริงจากข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบและตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏว่าโจทก์นำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จหรือแกล้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้อำนาจบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ ถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการอายัดและรับเงินของลูกหนี้เอง ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 155 และ 179 (3) ที่จะออกคำสั่งให้โจทก์ต้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้คัดค้านล้มละลายในการเรียกค่าธรรมเนียมจากโจทก์ กรณีศาลพิพากษายกฟ้องและทรัพย์สินถูกส่งคืน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นการใช้สิทธิทางศาลให้นำกระบวนทางกฎหมายมาจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเอาความจริงจากข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบและตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการอายัดและรับเงินของลูกหนี้เอง ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ที่จะออกคำสั่งให้โจทก์นำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระต่อผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5989/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจปกครอง หากมีการอุปการะเลี้ยงดูต่อเนื่อง
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 หมายความว่า ผู้กระทำความผิดได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาหรือต่อผู้ปกครองหรือต่อผู้ดูแลของผู้เยาว์ คดีนี้บิดาของผู้เสียหายมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาผู้เสียหายจึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดาและมารดาของผู้เสียหายได้เลิกร้างกันมานานถึง 17 ปี โดยผู้เสียหายอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามาตลอด บิดาของผู้เสียหายจึงเป็นผู้ปกครองผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากผู้ปกครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้พิพากษาลงนามคนเดียว ทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลแขวงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลแขวงจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
ปัญหาข้างต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2548)
ปัญหาข้างต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำคุกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาคนเดียว จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633-5638/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องอาศัยเจตนาของคู่สัญญาฝ่ายเดียวกันทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 390
การไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/41 ทวิ นั้น ต้องกำหนดรายการปฏิเสธสิทธิดังกล่าวไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามมาตรา 90/42 (10) และเนื่องจากแผนฟื้นฟูกิจการเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้เกี่ยวกับรายละเอียดในการชำระหนี้ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ภายใต้กรอบของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง กรณีใดที่กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วก็จะต้องนำบทบัญญัติในเรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นมาใช้บังคับ การเลิกสัญญาในกรณีที่คู่สัญญาเป็นบุคคลหลายคนด้วยกันอยู่ข้างหนึ่งหรืออีกข้างหนึ่ง กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการมิได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 390 ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าในสัญญาใดคู่สัญญาเป็นบุคคลหลายคนด้วยกันอยู่ข้างหนึ่งหรืออีกข้างหนึ่ง ท่านว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก็แต่เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันใช้ ทั้งใช้ต่อบุคคลเหล่านั้นรวมหมดทุกคนด้วยกัน?" บทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าการที่ลูกหนี้จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างในโครงการบำบัดน้ำเสียกับผู้ร้องที่ 4 ซึ่งมีผลเท่ากับบอกเลิกสัญญาก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียได้นั้น ลูกหนี้กับบริษัท พ. และบริษัท ล. ซึ่งได้ตกลงทำสัญญากิจการร่วมค้าในลักษณะห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนจะต้องแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาด้วยกัน ลูกหนี้จะแสดงเจตนาไปโดยลำพังหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาพัฒนาที่ดิน โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์แก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาและต่อมาจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทั้งให้นำเงินที่เหลือไปชำระ แสดงว่าจำเลยได้ยืนยันต่อโจทก์ว่าจำเลยได้พัฒนาที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด ส่วนที่หนังสือของจำเลยระบุว่าก่อนถึงวันนัดให้โจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยก่อนวันที่กำหนดในหนังสือเพื่อเป็นการยืนยันว่าจะไปรับโอนกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดขึ้นเองฝ่ายเดียว โดยไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวระบุในสัญญา อย่างไรก็ตามการที่โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยว่าจำเลยยังพัฒนาที่ดินไม่เรียบร้อย แต่โจทก์ก็พร้อมที่จะไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามวันเวลาที่จำเลยกำหนดนัด เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์มีหนังสือตอบรับยืนยันไปยังจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ไปตามกำหนดนัดจึงถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกเลิกสัญญาจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน การที่โจทก์ได้เบิกความยืนยันในชั้นพิจารณาว่าได้มอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์ว่าได้ยอมรับการกระทำของทนายความที่กระทำแทนโจทก์ในกรณีดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 การบอกเลิกสัญญาจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและการบอกเลิกสัญญาของโจทก์มีผลสมบูรณ์แล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะมีหนังสือนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกครั้งหนึ่งและโจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินตามกำหนดนัดดังกล่าว ก็เป็นเพียงการให้โอกาสแก่จำเลยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาข้อพิพาทกันอีกต่อไป แต่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยก็ยังผิดนัดอีก พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะเลิกสัญญากับจำเลยอีกต่อไป
เมื่อเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับให้แก่โจทก์และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่รับไว้ด้วยซึ่งการคิดดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด แต่เป็นเรื่องที่จำเลยประพฤติผิดสัญญา และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยที่โจทก์จะคิดจากจำเลยในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไว้ก็ตาม แต่โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามมาตรา 391 วรรคสอง
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกเลิกสัญญาจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน การที่โจทก์ได้เบิกความยืนยันในชั้นพิจารณาว่าได้มอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์ว่าได้ยอมรับการกระทำของทนายความที่กระทำแทนโจทก์ในกรณีดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 การบอกเลิกสัญญาจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและการบอกเลิกสัญญาของโจทก์มีผลสมบูรณ์แล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะมีหนังสือนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกครั้งหนึ่งและโจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินตามกำหนดนัดดังกล่าว ก็เป็นเพียงการให้โอกาสแก่จำเลยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาข้อพิพาทกันอีกต่อไป แต่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยก็ยังผิดนัดอีก พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะเลิกสัญญากับจำเลยอีกต่อไป
เมื่อเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับให้แก่โจทก์และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่รับไว้ด้วยซึ่งการคิดดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด แต่เป็นเรื่องที่จำเลยประพฤติผิดสัญญา และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยที่โจทก์จะคิดจากจำเลยในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไว้ก็ตาม แต่โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามมาตรา 391 วรรคสอง