พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากการซื้อขายสินค้า: ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมและรวมพิจารณาได้
หนี้ทั้งสองรายที่โจทก์และจำเลยกล่าวอ้างเกิดจากการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์อันเป็นหนี้เงินและทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าถึงกำหนดชำระแล้ว ซึ่งหากโจทก์เป็นหนี้จำเลยจริงจำเลยย่อมอาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ เนื่องจากหนี้นั้นมีวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสาม
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินที่มิใช่ของตน
ช. และ ป. ยกที่ดินพิพาทให้ ภ. มารดาโจทก์ แม้การให้จะไม่สมบูรณ์เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของ ภ. จากบุคคลอื่น ภ. ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตั้งแต่ได้รับการยกให้ตลอดมาจนถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรได้ครอบครองต่อมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ดังนั้น การที่ ป. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของตนเองให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีและการอายัดทรัพย์สิน: ค่าธรรมเนียมการบังคับคดีผู้ใดต้องรับผิด
หลังจากที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้คัดค้านชำระหนี้แก่ผู้ร้อง คดีนี้ไม่มีการทุเลาการบังคับคดีหรืองดการบังคับคดี และผู้คัดค้านยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงมีสิทธิบังคับคดีตามเงื่อนไขในหมายบังคับคดี การที่ผู้ร้องดำเนินการขออายัดบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่วางต่อศาลไว้โดยไม่มีการทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นวิธีการหนึ่งของการบังคับคดีซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ค่าธรรมเนียมการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมิใช่เกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่จำเป็นอันจะอยู่ในความรับผิดของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมหมั้นและการคืนสินสอด: สัญญาที่ทำขึ้นภายหลังยังผูกพันได้
ในขณะที่ อ. ทำการหมั้นกับ บ. นั้น บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่า บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและ บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของ อ. และ บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่ อ. กับ บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากันว่าจำเลยตกลงจะคืนสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการหมั้นและการแต่งงานเมื่ออายุไม่ครบ 17 ปี และผลกระทบต่อการคืนของหมั้นสินสอด
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้น นางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่านางสาว บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและนางสาว บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนาย อ. และนางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ว่าจำเลยตกลงจะคืนเงินสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย, การร่วมกันต่อสู้ขัดขวางการจับกุม, และการพิจารณาโทษ
เมื่อนายดาบตำรวจ ป. พบ ส. ผู้ต้องหาซึ่งมีการออกหมายจับไว้แล้ว นายดาบตำรวจ ป. มีอำนาจจับกุม ส. ได้โดยไม่จำต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3) เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาที่ทำขึ้นโดยการพิมพ์ และมีเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ซึ่งเป็นวิธีการจัดทำสำเนาเอกสารวิธีหนึ่งนอกจากการจัดทำสำเนาเอกสารด้วยการถ่ายจากต้นฉบับ ดังนั้นที่เอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้ถ่ายจากต้นฉบับและผู้ลงลายมือชื่อออกหมายไม่ได้เป็นผู้รับรองนั้นก็ไม่ทำให้เอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบ อันจะมีผลทำให้การจับกุม ส. ของนายดาบตำรวจ ป. เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ประการใด
การสอบสวนเพิ่มเติมของร้อยตำรวจโท ส. ที่ได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงลายมือชื่อเป็นเพียงการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพันตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนและพันตำรวจโท ช. หัวหน้าพนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเองร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพันตำรวจโท น. และพันตำรวจโท ช. ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมแทน ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2)
การสอบสวนเพิ่มเติมของร้อยตำรวจโท ส. ที่ได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงลายมือชื่อเป็นเพียงการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพันตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนและพันตำรวจโท ช. หัวหน้าพนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเองร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพันตำรวจโท น. และพันตำรวจโท ช. ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมแทน ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมโดยไม่ต้องมีหมายจับ และการสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานสอบสวนอื่น
นายดาบตำรวจ ป. พบ ส. ผู้ต้องหาซึ่งมีการออกหมายจับไว้แล้ว นายดาบตำรวจ ป. ย่อมมีอำนาจจับกุม ส. ได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3)
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสอง และสอบสวนเพิ่มเติมจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนและมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเอง จึงถือว่าการสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2) แล้ว
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสอง และสอบสวนเพิ่มเติมจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนและมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเอง จึงถือว่าการสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานก่อนฟ้องคดี: ไม่จำกัดว่าผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัว
ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุดังที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ วรรคแรก พนักงานอัยการย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งสืบพยานนั้นไว้ทันทีก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นกรณีที่ผู้ที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่หรือไม่ ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ วรรคสี่ ก็ให้ศาลสามารถมีคำสั่งอนุญาตให้สืบพยานและอ่านคำเบิกความของพยานให้พยานฟังนั้นฟังได้แม้ผู้ต้องหาจะไม่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมตัวอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างบริการขนส่ง: การผิดสัญญา, อายุความ 10 ปี, และขอบเขตความรับผิด
ตามสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ (ยุทโธปกรณ์ทางทหาร) ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์มาส่งมอบให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในข้อ 17 ระบุว่า เมื่อโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการรับจัดบริการขนส่ง เป็นต้นว่า ไม่สามารถที่จะควบคุมสั่งการประสานงานกับตัวแทนจัดการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โจทก์ที่ 1 มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องควบคุมสั่งการประสานงานกับตัวแทนจัดการขนส่งให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จำเลยที่ 1 ขัดแย้งกับตัวแทนจัดการขนส่งถึงขนาดบอกเลิกการเป็นตัวแทนจัดการขนส่งสิ่งอุปกรณ์อีกต่อไปและทำให้ตัวแทนจัดการขนส่งกักสิ่งอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดบริการขนส่งไว้นั้น ต้องด้วยกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถควบคุมตัวแทนจัดการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ข้อ 17 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่สามารถจัดการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายในการดำเนินการจัดส่งคณะผู้แทนและทนายความของโจทก์ที่ 1 ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามเอาคืนสิ่งอุปกรณ์ที่ถูกกักเก็บโดยตัวแทนจัดการขนส่งของจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำสิ่งอุปกรณ์ออกจากโกดังของตัวแทนจัดการขนส่งดังกล่าวที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อส่งมายังประเทศไทย รวมทั้งความเสียหายเนื่องจากสิ่งอุปกรณ์บุบสลายและสูญหาย อันสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการขนส่งให้ได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีฟ้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ดำเนินการขนส่งสินค้าแล้วสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี นับแต่ส่งมอบหรือวันที่ควรจะได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสี่จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่สามารถจัดการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายในการดำเนินการจัดส่งคณะผู้แทนและทนายความของโจทก์ที่ 1 ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามเอาคืนสิ่งอุปกรณ์ที่ถูกกักเก็บโดยตัวแทนจัดการขนส่งของจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำสิ่งอุปกรณ์ออกจากโกดังของตัวแทนจัดการขนส่งดังกล่าวที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อส่งมายังประเทศไทย รวมทั้งความเสียหายเนื่องจากสิ่งอุปกรณ์บุบสลายและสูญหาย อันสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการขนส่งให้ได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีฟ้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ดำเนินการขนส่งสินค้าแล้วสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี นับแต่ส่งมอบหรือวันที่ควรจะได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสี่จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากศาลฎีกายังไม่อนุญาตทุเลาการบังคับคดี
การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง แม้ผู้คัดค้านจะได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้แล้ว แต่เมื่อศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหรืองดการบังคับคดี