คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1359

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งระหว่างญาติ: การฟ้องบุพการี (ยาย) ของผู้สืบสันดาน (หลาน) และข้อยกเว้น
โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะผู้สืบสันดานคือเป็นหลานจำเลยจำเลยอยู่ในฐานะเป็นยายย่อมเป็นบุพการีของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยจึงเป็นการฟ้องบุพการี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบุตรเขยไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของจำเลย จำเลยไม่ได้เป็นบุพการีของโจทก์ที่ 1 ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในที่พิพาทย่อมมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการบังคับคดี การที่เจ้าของรวมใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินเพื่อต่อสู้คดี คำพิพากษาจึงใช้ยันเจ้าของรวมรายอื่นได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนเรือนออกจากที่ดินของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินในเขตโฉนดของจำเลย หากจำเลยครอบครองล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนนั้นโดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินที่ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย จึงเป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์ พิพากษาให้จำเลยรื้อห้องแถวและบ้านของจำเลยออกจากที่พิพาท คำพิพากษาดังกล่าวจึงใช้ยันผู้ร้องได้ ทั้งการที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยและเป็นภริยาจำเลยในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลย ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการบังคับคดีแก่บริวาร: คำพิพากษาคดีครอบครองปรปักษ์ยันได้ถึงเจ้าของรวมและภริยา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนเรือนออกจากที่ดินของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินในเขตโฉนดของจำเลยหากจำเลยครอบครองล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนนั้นโดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อปรากฏว่าที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินที่ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยจึงเป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์พิพากษาให้จำเลยรื้อห้องแถวและบ้านของจำเลยออกจากที่พิพาทคำพิพากษาดังกล่าวจึงใช้ยันผู้ร้องได้ทั้งการที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยและเป็นภริยาจำเลยในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลย ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันทายาทอื่น กรณีเจ้าของรวมไม่ใช้สิทธิครอบครองต่อสู้บุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและทายาทผู้รับมรดกของ ก.ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาท 2 แปลง เป็นของโจทก์มีสิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง ดังกล่าวมีบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ก. มีสิทธิครอบครองรวมอยู่ด้วยการที่จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง เป็นของโจทก์ยินยอมเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในเอกสารสิทธิให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 และการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่พิพาท อันจะมีผลใช้ยันทายาทของ ก. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อทายาทผู้รับมรดก: สิทธิในทรัพย์สินร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและทายาทผู้รับมรดกของ ก.ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาท 2 แปลงเป็นของโจทก์มีสิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงดังกล่าวมีบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ก. มีสิทธิครอบครองรวมอยู่ด้วยการที่จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นของโจทก์ยินยอมเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในเอกสารสิทธิให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 และการ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่พิพาทอันจะมีผลใช้ยันทายาทของ ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าของเจ้าของรวมและการฟ้องขับไล่ผู้เช่าค้างค่าเช่า
ตึกแถวพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้ง 14 คน จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวและไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ที่1 ซึ่งเป็น เจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมมีสิทธิบอกเลิกการเช่าโดยมอบอำนาจ ให้ทนายความกระทำแทนได้ เพราะเป็นการจัดการอันเป็นการทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสองเมื่อโจทก์ที่ 1 มีสิทธิบอกเลิกการเช่าซึ่งถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาเช่าจึงเป็นอันระงับ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบอกเลิกสัญญาเช่าของเจ้าของรวมและการฟ้องขับไล่ผู้เช่าค้างค่าเช่า
ตึกแถวพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้ง 14 คน จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวและไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ที่1 ซึ่งเป็น เจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมมีสิทธิบอกเลิกการเช่าโดยมอบอำนาจ ให้ทนายความกระทำแทนได้ เพราะเป็นการจัดการอันเป็นการทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 มีสิทธิบอกเลิกการเช่าซึ่งถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาเช่าจึงเป็นอันระงับ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้กฎหมาย & ฟ้องซ้อนจากคดีเดิม
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว อำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับ ซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพัง แต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้ว และถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีก แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางการจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อน ประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้ไขกฎหมาย และฟ้องซ้อนจากประเด็นข้อตกลงทางเดิน
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้วอำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา" จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการปล่อยทรัพย์: เจ้าของรวม vs. ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 ต้องเป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึด เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นอยู่ด้วย ศาลก็ต้องยกคำร้องของผู้ร้องเสีย เพราะกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือทรัพย์สินทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่ง
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 981/2492)
of 17