พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ & สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามระเบียบ คดีนี้ศาลแก้ดอกเบี้ยเป็น 7.5%
ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้อง และเนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 4 บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงเป็นการอ้างบทกฎหมายคลาดเคลื่อนอย่างไรก็ตาม โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างจากจำเลย ซึ่งเมื่อปรับบทกฎหมายแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534
จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาว่าจ้างมีกำหนด 1 ปี ให้เงินตอบแทนรวม 3,600,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจ้างทำนองเดียวกันปีต่อปี โดยให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดพัฒนาระบบการจัดแผนดำเนินงานของทุกฝ่ายงาน และเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาด โจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายเงินสดและการอนุมัติค่าใช้จ่ายเฉพาะฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาดเทียบเท่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทางปฏิบัติโจทก์มาทำงานที่ธนาคารจำเลยทุกวัน ทั้งในการทำงานจำเลยสั่งการถึงโจทก์และโจทก์สั่งการต่อไปยังพนักงานอื่นของจำเลยได้ด้วย โจทก์จึงมีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาว่าจ้างกำหนดสถานะไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เป็นผู้รับจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะได้รับ โจทก์ไม่ต้องมีบัตรพนักงาน โจทก์ไม่เคยถูกประเมินผลงานหรือได้รับการปรับเงินเดือนรายปี ทั้งโจทก์ไม่มีรายชื่อในฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยด้วยนั้น เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์แตกต่างจากพนักงานอื่น ยังไม่พอที่จะถือว่าโจทก์มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย ดอกเบี้ยและเงินเพิ่มจากจำเลยโดยอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ก็มิได้มีข้อใดกำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่ม กรณีมิได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเท่านั้น
จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาว่าจ้างมีกำหนด 1 ปี ให้เงินตอบแทนรวม 3,600,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจ้างทำนองเดียวกันปีต่อปี โดยให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดพัฒนาระบบการจัดแผนดำเนินงานของทุกฝ่ายงาน และเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาด โจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายเงินสดและการอนุมัติค่าใช้จ่ายเฉพาะฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาดเทียบเท่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทางปฏิบัติโจทก์มาทำงานที่ธนาคารจำเลยทุกวัน ทั้งในการทำงานจำเลยสั่งการถึงโจทก์และโจทก์สั่งการต่อไปยังพนักงานอื่นของจำเลยได้ด้วย โจทก์จึงมีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาว่าจ้างกำหนดสถานะไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เป็นผู้รับจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะได้รับ โจทก์ไม่ต้องมีบัตรพนักงาน โจทก์ไม่เคยถูกประเมินผลงานหรือได้รับการปรับเงินเดือนรายปี ทั้งโจทก์ไม่มีรายชื่อในฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยด้วยนั้น เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์แตกต่างจากพนักงานอื่น ยังไม่พอที่จะถือว่าโจทก์มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย ดอกเบี้ยและเงินเพิ่มจากจำเลยโดยอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ก็มิได้มีข้อใดกำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่ม กรณีมิได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาจากลักษณะการทำงาน แม้สัญญาจะระบุเป็นผู้รับจ้าง
ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงตกอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ไม่ได้อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่ามีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ แต่เมื่อปรับบทกฎหมายตามข้อหาของโจทก์ดังกล่าวแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายในคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามสิทธิเรียกร้อง แม้บทกฎหมายที่อ้างไม่ตรงกับสถานะนายจ้าง
คำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาหากครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะอ้างบทกฎหมายอันเป็นการอ้างกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับแก่กิจการของจำเลยก็ตาม แต่ในการวินิจฉัยคดี ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการปรับบทกฎหมายเพื่อให้ตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ คดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องโดยเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้องในคดีนี้ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ เป็นการพิพากษาที่ถูกต้องตามบทกฎหมายที่อ้างถึงข้างต้นแล้ว จึงมิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ การนับวันเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
เมื่อกรรมการของจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2543 และสำนักงานของจำเลยถูกปิด ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ไม่สามารถเข้าไปทำงานในสำนักงานได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างงาน ความรับผิดชอบค่าจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในคดีแรงงาน
เจ้าของตึกที่ตั้งสำนักงานจำเลยได้ตัดน้ำ ตัดไฟ และปิดสำนักงาน ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยสัญญาจ้างแรงงานนั้นจำเลยได้ยอมรับแล้วทั้งโจทก์ก็มีพยานบุคคลอื่นมานำสืบด้วยว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานนั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างข้อกฎหมายปะปนมากับข้อเท็จจริงเพื่อที่จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างก็ได้ความเพียงว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด เพื่อกิจการใดและโจทก์จะเบิกจากจำเลยได้ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างไร อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์เบิกความลอย ๆว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่านายหน้าร้อยละ 15 ของค่าตอบแทนที่บริษัทลูกค้าที่โจทก์นำมาจ่ายให้จำเลยเป็นเงินเดือนละ 45,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารอื่นสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้า ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้นำ จ. มาสืบยืนยันว่าจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่ลูกจ้างฝ่ายที่ปรึกษาผู้นำลูกค้ามาให้จำเลย การสืบพยานของโจทก์เท่าที่สืบได้ในเรื่องค่านายหน้าก็น่าจะสมบูรณ์แล้ว หาใช่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่ ที่มิได้ปรากฏว่าเบิกค่านายหน้าก็เพราะจำเลยไม่มีเงินนั้น ก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงดังที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยสัญญาจ้างแรงงานนั้นจำเลยได้ยอมรับแล้วทั้งโจทก์ก็มีพยานบุคคลอื่นมานำสืบด้วยว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานนั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างข้อกฎหมายปะปนมากับข้อเท็จจริงเพื่อที่จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างก็ได้ความเพียงว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด เพื่อกิจการใดและโจทก์จะเบิกจากจำเลยได้ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างไร อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์เบิกความลอย ๆว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่านายหน้าร้อยละ 15 ของค่าตอบแทนที่บริษัทลูกค้าที่โจทก์นำมาจ่ายให้จำเลยเป็นเงินเดือนละ 45,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารอื่นสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้า ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้นำ จ. มาสืบยืนยันว่าจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่ลูกจ้างฝ่ายที่ปรึกษาผู้นำลูกค้ามาให้จำเลย การสืบพยานของโจทก์เท่าที่สืบได้ในเรื่องค่านายหน้าก็น่าจะสมบูรณ์แล้ว หาใช่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่ ที่มิได้ปรากฏว่าเบิกค่านายหน้าก็เพราะจำเลยไม่มีเงินนั้น ก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงดังที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีจ้างงานเกิน 2 ปี และสิทธิค่าชดเชย
สหกรณ์จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยร่วมกันดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ด้วยกัน โดยสมาชิกในฐานะผู้ถือหุ้นร่วมลงหุ้นและรับฝากเงินจากสมาชิกแล้วนำมาให้สมาชิกกู้โดยคิดดอกเบี้ย หากมีเงินทุนเหลือก็จะนำไปให้สหกรณ์อื่นกู้ จำเลยมีรายได้เป็นค่าธรรมเนียมจากการเข้าเป็นสมาชิกและดอกเบี้ยจากการให้สมาชิกและสหกรณ์อื่นกู้ยืม เมื่อมีกำไรก็จัดสรรเป็นเงินทุนสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์และจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับจ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจจำเลยจึงมิใช่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตามข้อ (3) แห่งกฎกระทรวงฯ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯจึงต้องนำมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่จำเลย เมื่องานที่จำเลยจ้างโจทก์มิใช่การจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่ปกติทางธุรกิจ มิใช่งานตามฤดูกาล แต่เป็นการทำงานตามปกติธุรกิจของจำเลย แม้การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจะเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นโจทก์ก็มิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งทำงานมาแล้ว 2 ปี จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันตามมาตรา 118(2) พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2702/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการหักกลบลบหนี้ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
จำเลยอ้างว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติของการเป็นพนักงานตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยของพนักงาน แต่ระเบียบข้อบังคับฯที่จำเลยอ้างดังกล่าว มิใช่คุณสมบัติของการเป็นพนักงาน และหากเป็นข้อกำหนดวินัยในการทำงานก็มิได้ระบุเรื่องการมีภาระหนี้สินของพนักงานไว้โดยตรง จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุการมีภาระหนี้สินของโจทก์มาปรับเข้ากับเรื่องวินัยในการทำงานและถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติของการเป็นพนักงานได้ ทั้งภาระหนี้สินของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นกรณีที่โจทก์เป็นหนี้จำเลยเพียงรายเดียว และเป็นหนี้ที่จำเลยเองเป็นผู้พิจารณาให้โจทก์กู้ยืม จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นหนี้เงินกู้ยืมจำเลยและศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยเป็นหนี้ต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง โจทก์และจำเลยจึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นหนี้เงินอย่างเดียวกันและหนี้ของโจทก์และจำเลยถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็สามารถนำหนี้ของตนเองมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341
โจทก์เป็นหนี้เงินกู้ยืมจำเลยและศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยเป็นหนี้ต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง โจทก์และจำเลยจึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นหนี้เงินอย่างเดียวกันและหนี้ของโจทก์และจำเลยถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็สามารถนำหนี้ของตนเองมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ข้อตกลงสภาพการจ้างไม่อาจใช้แปลความสัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันอ้างมีข้อความเกี่ยวกับการจ้างจำเลยที่ 1 เข้าทดลองงานเท่านั้น ไม่มีข้อความใดเกี่ยวพันกับสัญญาค้ำประกันที่จะนำมาแปลความหมายในสัญญาค้ำประกันได้ ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพื่อให้นำมาพิจารณาประกอบสัญญาค้ำประกัน หรืออ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าจำเลยมีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น ล้วนแต่เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญา ค้ำประกันอีก ซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การขยายความรับผิดเกินกว่าที่ตกลงกัน และข้อจำกัดการนำสืบพยานเพิ่มเติม
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 อ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าโจทก์มีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญาค้ำประกันนั้นอยู่อีก จึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากความเสียหายไม่ร้ายแรง
แม้การขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะเป็นเหตุให้ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยได้รับอันตรายแก่กาย หน้าผากแตกเลือดซึม ตาซ้าย ไหล่ซ้ายเอว และขาซ้ายเจ็บ และทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่การบาดเจ็บของผู้จัดการทั่วไปเป็นการบาดเจ็บเล็กน้อย ทั้งค่าเสียหายของรถยนต์ดังกล่าวบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จำเลยจึงได้รับความเสียหายอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ยังถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพราะเหตุใด โดยจำเลยอุทธรณ์เน้นเฉพาะบทกฎหมายที่บัญญัติว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพราะเหตุใด โดยจำเลยอุทธรณ์เน้นเฉพาะบทกฎหมายที่บัญญัติว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย