พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยครอบครองยาเสพติดในบ้านเช่า นัดรับยาจากผู้อื่น สมุดบัญชีพบในห้องพัก พยานเบิกความประกอบ เชื่อได้ว่าจำเลยรู้เห็น
ก. ผู้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยทั้งสองมิใช่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยทั้งสอง คำเบิกความของ ก. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานย่อมมิใช่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิด แต่ ก. เบิกความแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนเป็นการเบิกความกลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องรอย ทั้งข้อเท็จจริงบางส่วนยังสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของ ก. ด้วย จึงมีเหตุผลเชื่อว่า ก. เบิกความช่วยเหลือจำเลยทั้งสองมากกว่าที่จะเบิกความไปตามที่เป็นจริง เชื่อว่า ก. ให้การในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจ เมื่อรับฟังประกอบคำเบิกความของ ร้อยตำรวจโท ศ. ผู้ร่วมจับกุม ที่ยืนยันว่า ก. โทรศัพท์สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสอง โดยให้ ก. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 และนัดรับมอบเมทแอมเฟตามีนที่บ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งต่อมาจำเลยทั้งสองก็ขับรถจักรยานยนต์มายังบ้านที่เกิดเหตุ แต่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสองได้ก่อนที่จะส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ก. การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
ร้อยตำรวจโท ศ. และ ร้อยตำรวจโท พ. ผู้ร่วมจับกุมตรวจค้นพบสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ภายในห้องของบ้านที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นกุญแจให้ไขตู้เสื้อผ้าที่ปิดล็อกก็พบเมทแอมเฟตามีนของกลาง และตามบันทึกการจับกุมระบุว่าจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นสามีภริยากันและเป็นผู้เช่าบ้านที่เกิดเหตุจริง จึงเชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้ว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนอยู่ภายในบ้านที่เกิดเหตุ จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วย จึงมีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 ใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ร้อยตำรวจโท ศ. และ ร้อยตำรวจโท พ. ผู้ร่วมจับกุมตรวจค้นพบสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ภายในห้องของบ้านที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นกุญแจให้ไขตู้เสื้อผ้าที่ปิดล็อกก็พบเมทแอมเฟตามีนของกลาง และตามบันทึกการจับกุมระบุว่าจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นสามีภริยากันและเป็นผู้เช่าบ้านที่เกิดเหตุจริง จึงเชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้ว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนอยู่ภายในบ้านที่เกิดเหตุ จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วย จึงมีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 ใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการกระทำผิดคดียาเสพติด: ความผิดฐานสนับสนุนและบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 และข้อ 1.2 แยกต่างหากจากกัน โดยฟ้องโจทก์ข้อ 1.1 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 ส่วนฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 เพียงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกที่หลบหนีไปยังไม่ได้ตัวมาฟ้องสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมิได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยที่ 2 สมคบกับจำเลยที่ 1 ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งกรณีไม่อาจนำเอาการบรรยายฟ้องข้อ 1.2 มาประกอบฟ้องข้อ 1.1 ได้ เพราะเป็นการฟ้องคนละฐานความผิดกัน ฟ้องโจทก์ข้อ 1.1 สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ส่วนฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่เมื่อฟ้องโจทก์ข้อดังกล่าวได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าวโดยการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 กับพวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 ได้ให้คำนิยาม ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ว่าหมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือหรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจำหน่ายให้แก่สายลับในที่เกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 2 ขับรถกระบะของกลางพาจำเลยที่ 1 กับ จ. ไปดูเงินที่จะใช้ล่อซื้อและมารับจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (1)
ส่วนฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่เมื่อฟ้องโจทก์ข้อดังกล่าวได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าวโดยการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 กับพวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 ได้ให้คำนิยาม ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ว่าหมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือหรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย จึงพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจำหน่ายให้แก่สายลับในที่เกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 2 ขับรถกระบะของกลางพาจำเลยที่ 1 กับ จ. ไปดูเงินที่จะใช้ล่อซื้อและมารับจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการตรวจค้นยาเสพติด: การรับฟังพยานหลักฐาน, คำรับสารภาพ, และการแก้ไขบทกฎหมายโทษ
ตามบันทึกการจับกุม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก ห. ชาวเขาเผ่าลีซอ โดยไปซื้อที่บริเวณหมู่บ้านทับเดื่อก่อนที่จะเข้ามาพักที่โรงแรมในราคาถุงละ 8,700 บาท ในการไปซื้อและรับเมทแอมเฟตามีนครั้งนี้มีจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเจ้าของเงินทุนที่ใช้ซื้อเมทแอมเฟตามีน และจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ขับรถยนต์ แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 บัญญัติมิให้นำคำรับสารภาพชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความอื่นซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งกฎหมายมิได้ห้ามนำมารับฟังเสียทีเดียว ที่จำเลยที่ 1 เบิกความว่า เหตุที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุม เนื่องจากเจ้าพนักงานบอกให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ โดยไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่าน และจำเลยที่ 2 เบิกความว่าเจ้าพนักงานตำรวจนำเอกสารมาให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกาย จึงเกิดความกลัว และลงชื่อในเอกสารดังกล่าว โดยเจ้าพนักงานตำรวจมิได้ให้จำเลยที่ 2 อ่าน มิฉะนั้นแล้วคงไม่ต้องทำบันทึกการจับกุมก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ง่ายต่อการกล่าวอ้าง ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอยโดยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองผู้ร่วมจับกุมในข้อหานี้ไว้ด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มานำสืบในภายหลังเช่นนี้ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ เชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การชั้นจับกุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจ จึงนำไปรับฟังประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองได้ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6670/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามยาเสพติด ไม่เพียงพอต่อการได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
การที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 นั้น ต้องประกอบด้วยเหตุสองประการ คือ ผู้กระทำผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และข้อมูลนั้นต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ลำพังเพียงให้ข้อมูลแต่ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์ธรรมดามิได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หรือเป็นประโยชน์แต่มิใช่ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลหารับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าวไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีได้ความว่า หลังจากพันตำรวจตรี ธ. ค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางบางส่วนที่ห้องพักเลขที่ 203 และ 209 แล้ว ได้สอบปากคำจำเลยที่ 3 เพิ่มเติม โดยจำเลยที่ 3 ให้การว่า ที่ห้องพักเลขที่ 203 น่าจะมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนไว้อีก พันตำรวจตรี ธ. กับพวก จึงไปตรวจค้นที่ห้องพักดังกล่าวอีกครั้งโดยไม่ได้นำจำเลยที่ 3 ไปด้วย ชี้ให้เห็นว่าการค้นห้องพักเลขที่ 203 ครั้งที่ 2 เป็นการขยายผลการตรวจค้นเพื่อหาเมทแอมเฟตามีนเพิ่มเติมสืบเนื่องมาจากการตรวจค้นครั้งแรก อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของเจ้าพนักงานที่ต้องกระทำอยู่แล้ว ประกอบกับการตรวจค้นในครั้งหลัง จำเลยที่ 3 ก็มิได้ไปด้วย ทั้งคำให้การของจำเลยที่ 3 ก็ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเมทแอมเฟตามีนซ่อนอยู่ที่ใด เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนอยู่ในตู้ทีวี ตุ๊กตาผ้า ม้วนฟูกที่นอน และช่องลับใต้โต๊ะตั้งพระบูชา ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าสามารถตรวจค้นพบได้โดยไม่ยาก ดังนี้ กรณีดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันจะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6665/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การซ่อนของกลางแสดงเจตนาครอบครอง
การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษเป็นเรื่องความรับผิดทางอาญา เมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 มิได้บัญญัติความหมายพิเศษของคำว่า มีไว้ในครอบครองไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปว่า การมียาเสพติดให้โทษอยู่ในความยึดถือหรือปกครองดูแลของตนโดยรู้ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษเป็นการมีไว้ในครอบครองแล้ว ขณะเกิดเหตุเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ดใส 2 ซอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.395 กรัม ของกลางวางอยู่ใกล้ตัวจำเลยที่ 3 และเมื่อจำเลยที่ 3 เห็นพันตำรวจโท ป. กับพวก ก็นำเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ดใสดังกล่าวไปซ่อนไว้ในเสื้อชั้นในทันที ถือว่าเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ดใส อยู่ในความยึดถือหรือปกครองดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 3 รู้ว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ดใส จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 มีเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ดใส ของกลางไว้ในครอบครอง และเมื่อของกลาง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.395 กรัม กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6278/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ถูกจำกัดเมื่อทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน แม้คดีไม่ถึงที่สุด
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ คดีของศาลแพ่งซึ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์พิพาทตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่ตราบใด ที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลแพ่งดังกล่าวย่อมมีผลอยู่ ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเป็นต้นไปทรัพย์พิพาทจึงมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งทรัพย์สินของแผ่นดินย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันนำยาเสพติดเข้าประเทศ จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็น การกระทำเป็นตัวการร่วม
คดีนี้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน คดีนี้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งระวางโทษประหารชีวิตและความผิดของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต กรณีโทษจำคุกในความผิดฐานนี้ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยก ขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อทั้งสองฝ่าย: การพิพากษาความรับผิดทางละเมิด กรณีอุบัติเหตุบนทางก่อสร้าง
เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างส่งภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ทั้งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายประมาทหรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกภาพถ่ายดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยและมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้กำหนดค่าเสียหายได้ถูกต้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาที่เกิดในท้องที่อื่น จำเลยมีภูมิลำเนาที่ศาลชั้นต้น และความสะดวกในการพิจารณา
แม้เรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี เป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความสะดวกในการพิจารณาคดี ได้ความตามฟ้องโจทก์ว่า ขณะจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำกลางสงขลา เจ้าพนักงานตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 30 เม็ด ชนิดเกล็ดใสบรรจุถุงพลาสติก 1 ถุง โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ซิมการ์ด 3 อัน และเมมโมรี่การ์ด 1 อัน ซึ่งเป็นสิ่งของต้องห้ามที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและนำเข้ามาภายในเรือนจำกลางสงขลา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 66 และ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 45 เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี เมื่อเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสงขลา และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสงขลาเป็นผู้สอบสวนคดี แม้โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดสงขลา แต่จำเลยก็โต้แย้งมาในฎีกาว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจยึดได้ไม่ใช่ของจำเลยเพราะตรวจยึดได้จากห้องนอนรวม โดยจำเลยประสงค์อ้างนักโทษชาย ส. นักโทษชาย ว. และนักโทษชาย ธ. ที่ร่วมรู้เห็นในการตรวจยึด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ประจำเรือนจำกลางสงขลาอีกหลายคนที่ร่วมสอบข้อเท็จจริงเป็นพยานจำเลย แม้พยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ตรวจค้น จับกุมและสอบสวนต่างเป็นเจ้าพนักงานของรัฐสามารถเดินทางจากจังหวัดสงขลามาเบิกความที่ศาลชั้นต้นได้โดยสะดวก แต่เมื่อพิจารณาถึงพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งเป็นนักโทษถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางสงขลา ย่อมไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายนักโทษเหล่านั้นมาเบิกความที่ศาลชั้นต้น ทั้งคดีนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมีอัตราโทษสูง สมควรให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับชำระคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีขับรถขณะเมาสุราและหลบหนีขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43,160 ตรี ตามฟ้องโจทก์แล้ว และคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า การขับรถในขณะเมาสุราของจำเลยเป็นเหตุให้ น. ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของจำเลย และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา เมื่อถึงที่เกิดเหตุ ดาบตำรวจ ป. และ น. ผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายกับพวก ตั้งจุดตรวจสกัดเพื่อป้องกันอาชญากรรม ดาบตำรวจ ป.ได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานเพื่อขอตรวจสอบ แต่จำเลยขับรถหลบหนีและพุ่งชนแผงกั้นถนนจนกระเด็นถูก น. ได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา เมื่อถึงที่เกิดเหตุ ดาบตำรวจ ป. และ น. ผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายกับพวก ตั้งจุดตรวจสกัดเพื่อป้องกันอาชญากรรม ดาบตำรวจ ป.ได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานเพื่อขอตรวจสอบ แต่จำเลยขับรถหลบหนีและพุ่งชนแผงกั้นถนนจนกระเด็นถูก น. ได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว