คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 650 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่จากหนี้เดิมหลายประเภท (เงินกู้, ทองคำ, ค่าแชร์) และดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
หนี้ตามสัญญากู้เงินพิพาทเกิดจากการนำหนี้เงินกู้ 100,000 บาท หนี้ยืมทองคำ และหนี้ค่าแชร์มารวมกัน แม้หนี้เงินกู้เดิมไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมแต่จำเลยยังมีหน้าที่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์เพียงแต่โจทก์ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยได้ อย่างไรก็ตาม คู่กรณีสามารถตกลงกันทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้ ทั้งการส่งมอบเงินกู้ไม่จำเป็นต้องส่งมอบเงินในวันทำสัญญา สามารถส่งมอบก่อนหรือหลังทำสัญญาก็ได้ และจำเลยรับว่าเป็นหนี้เงินกู้ 100,000 บาท ดังกล่าวจริง หนี้ส่วนนี้จึงสมบูรณ์ ส่วนหนี้ยืมทองคำ แม้มีการไถ่ถอนทองคำคืนโจทก์ แต่ก็เป็นการกระทำภายหลังที่มีการทำสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ทั้งโจทก์และจำเลยมีการตรวจสอบยอดหนี้ในส่วนนี้ว่ายังมีหนี้ค้างชำระกันอีก หนี้ในส่วนนี้จึงสมบูรณ์เช่นกัน สำหรับหนี้ค่าแชร์เมื่อนำมารวมกับหนี้เงินกู้และหนี้ยืมทองคำแล้วจัดทำเป็นหนังสือสัญญากู้เงินพิพาท จำเลยยอมรับว่ามีการทำสัญญากู้ยืมเงินพิพาทจริง ส่วนจะเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 หรือไม่ นั้น จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้าง จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าในช่วงเวลาเดียวกันโจทก์มีการจัดให้เล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวง หรือมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน และมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าหนี้ค่าแชร์ที่นำมารวมเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เมื่อจำเลยไม่นำสืบจึงฟังไม่ได้ว่าหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์เป็นนายวงเป็นโมฆะ และเมื่อมีการนำหนี้ทั้งสามประเภทมารวมกันเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิพาท เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงก่อหนี้ขึ้นมาใหม่โดยมีเจตนาให้หนี้เดิมระงับอันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเกี่ยวกับจำนวนเงินกู้ยืมที่ไม่ตรงกับสัญญา การนำสืบเพื่อหักล้างความไม่สมบูรณ์ของหนี้
การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปเพียง 15,000 บาท แต่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โดยระบุจำนวนเงินกู้ไว้ 40,000 บาท เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะดำเนินการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน 40,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา การนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงความไม่บริบูรณ์ของสัญญากู้ยืมเงิน ทั้งนี้เพราะสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยที่ 3 ย่อมนำสืบได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 3 นำสืบดังกล่าวเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และเชื่อว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 40,000 บาท จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้นำพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 มาวินิจฉัยเพื่อชั่งน้ำหนักกับพยานหลักฐานของโจทก์ว่าข้อเท็จจริงเชื่อฟังเป็นยุติอย่างไร ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ใช้อำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้น จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้ออื่นโดยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น ข้อฎีกาดังกล่าวมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4266/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่อนุมัติและส่งมอบเงินกู้เป็นสถานที่เกิดมูลคดี ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ได้ดำเนินการเสนอคำขอสินเชื่อไปยังสำนักงานของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร และอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น (ศาลแขวงพระโขนง) เมื่อโจทก์พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้จำเลยที่สำนักงานโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของบัญชี กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยอันจะมีผลทำให้สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยบริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง ถือว่าสำนักงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พิจารณาอนุมัติเงินกู้และส่งมอบเงินกู้เป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อสำนักงานของโจทก์อยู่ในเขตศาลชั้นต้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมไม่สมบูรณ์ ไม่มีหนี้จริง การออกเช็คจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยกล่าวอ้างและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่บริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด กู้ไปจากโจทก์ร่วม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด ยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้นสัญญากู้ยืมเงินย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าบริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด เป็นหนี้โจทก์ร่วมตามสัญญากู้ยืมเงิน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบเงินกู้และการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย กรณีนำเงินกู้ไปชำระหนี้เดิม
หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินจำนวน 45,000,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 แล้วนำไปหักกับดอกเบี้ยเงินกู้รายอื่นที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ถอนเงินจำนวน 45,000,000 บาท จากบัญชีเงินฝากจำเลยที่ 1 แต่การที่โจทก์จัดให้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับอื่น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้จำนวน 45,000,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น แม้ฟังว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ไม่ทำให้มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินในคดีนี้เป็นหนี้ค่าดอกเบี้ย แต่ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงินและเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาและการนำสืบข้อจำกัดความรับผิดในสัญญา
แม้ในชั้นอุทธรณ์โจทก์จะมิได้ยกข้อกฎหมายเรื่องห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)ขึ้นว่ากล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินพิพาทไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์จำเลยย่อมนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4684/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่มีเจตนาชำระหนี้ ถือเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้
ก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1ต่อธนาคาร โจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินไว้กับโจทก์จำนวน80,000 บาท เพื่อเป็นการประกัน ดังนั้น แม้ในขณะนั้นสัญญากู้เงินจะยังไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง แต่ก่อนฟ้องคดี ธนาคารได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปแล้วเท่ากับจำนวนเงินตามหนังสือสัญญากู้ ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามหนังสือสัญญากู้นับแต่ธนาคารได้หักเงินของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หนังสือสัญญากู้จึงเป็นหนังสือสัญญาที่บริบูรณ์มีมูลหนี้ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4684/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาที่ยังไม่บริบูรณ์เป็นใช้บังคับได้เมื่อมีการชำระหนี้จริง
ก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1ต่อธนาคาร โจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินไว้กับโจทก์จำนวน 80,000 บาท เพื่อเป็นประกัน ดังนั้น แม้ในขณะนั้นสัญญากู้เงินจะยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสองแต่ก่อนฟ้องคดี ธนาคารได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปแล้วเท่ากับจำนวนเงินตามหนังสือสัญญากู้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1ได้รับเงินตามหนังสือสัญญากู้นับแต่ธนาคารได้หักเงินของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หนังสือสัญญากู้จึงเป็นหนังสือสัญญาที่บริบูรณ์มีมูลหนี้ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5313/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้เดิมเป็นหนี้กู้ยืม สัญญากู้ยืมผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์เมื่อผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืม หนี้ค่าน้ำมันและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์ รวมเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ให้แก่โจทก์จำนวน 140,000 บาท จำเลยได้รับเงินไปแล้วโดยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ปรากฏตามสัญญากู้ท้ายฟ้อง ครั้นหนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 232,400 บาท ดังนี้ ฟ้องของโจทก์แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เนื่องจากมูลหนี้ใดบ้าง เมื่อรวมหนี้ทุกประเภทจนถึงวันฟ้อง จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อีกเท่าใด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ อันเป็นการถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืมและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์จำนวน140,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินระบุหนี้เป็นจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ กรณีเป็นการที่คู่สัญญาเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้อื่น และหนี้เงินยืมมารวมผูกพันกันในลักษณะกู้ยืมตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นไว้สัญญากู้จึงผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5313/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้เดิมเป็นสัญญากู้ยืม สัญญากู้ยืมผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืม หนี้ค่าน้ำมันและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์ รวมเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ให้แก่โจทก์จำนวน 140,000 บาท จำเลยได้รับเงินไปแล้วโดยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ปรากฏตามสัญญากู้ท้ายฟ้อง ครั้นหนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 232,400 บาท ดังนี้ ฟ้องของโจทก์แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เนื่องจากมูลหนี้ใดบ้าง เมื่อรวมหนี้ทุกประเภทจนถึงวันฟ้อง จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อีกเท่าใด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ อันเป็นการถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืมและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์จำนวน140,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินระบุหนี้เป็นจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ กรณีเป็นการที่คู่สัญญาเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้อื่น และหนี้เงินยืมมารวมผูกพันกันในลักษณะกู้ยืมตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นไว้สัญญากู้จึงผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์.
of 2