พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14978/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน กรณีเครื่องชั่งน้ำหนักเป็นส่วนควบหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วด้วย" เครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นดินด้านข้างของอาคารเครื่องชั่งทั้งสองด้าน โดยใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นระบบกลไกเชื่อมโยงไปยังอาคารควบคุมเครื่องชั่ง เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังอาคารควบคุมเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารควบคุมเครื่องชั่ง แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างอาคารดังกล่าว โดยมิได้ยึดติดอยู่กับตัวอาคาร เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงมิใช่ส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำ หรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นและติดตรึงถาวรกับพื้นดิน มีแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ปิดให้รถบรรทุกวิ่งขึ้นชั่งน้ำหนักจึงมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว
สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักมีระบบคานชั่งติดตั้งอยู่ใต้พื้นและติดตรึงถาวรกับพื้นดิน มีแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ปิดให้รถบรรทุกวิ่งขึ้นชั่งน้ำหนักจึงมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14721/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาที่ขัดต่อข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองจากการรับมรดกตามพินัยกรรมของ ว. ขณะโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยทั้งสองเข้าไปบุกรุกที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิหรือชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ จ. บิดาของจำเลยที่ 2 เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ย. มารดาจำเลยที่ 2 ได้โอนที่ดินพิพาทให้ ว. ซึ่งมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกโดยชอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินมาจาก ว. จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงไม่มีข้อต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแน่ชัดที่จะแสดงว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยพินัยกรรมจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองและศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14112/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยกเว้น วัตถุประสงค์การใช้เคมีภัณฑ์ป้องกันโรคในสัตว์ เพื่อประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
ป.รัษฎากร มาตรา 81 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ดังต่อไปนี้... (จ) การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์" จากบทบัญญัติดังกล่าวคงได้ความเพียงว่า สินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ (จ) มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ยาและเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ ทั้งนี้ต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์เท่านั้น โดยไม่มีข้อความใดกำหนดไว้ว่า ยาหรือเคมีภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องใช้สำหรับฉีดให้แก่สัตว์โดยตรงหรือใช้เฉพาะภายในสัตว์โดยตรง แม้ยาตัวนี้ไม่สามารถทำให้สัตว์ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกหายจากโรคหรือฆ่าเชื้อโรคในตัวสัตว์นั้นได้ก็ตาม
โจทก์ขายผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อให้แก่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในคดีนี้ จึงเป็นเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ เพื่อป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของสัตว์ ตามความหมายของมาตรา 81 (1) (จ) แล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบกิจการขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตราดังกล่าว
โจทก์ขายผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อให้แก่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในคดีนี้ จึงเป็นเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ เพื่อป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของสัตว์ ตามความหมายของมาตรา 81 (1) (จ) แล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบกิจการขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14112/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายเคมีภัณฑ์เพื่อป้องกันโรคในสัตว์ แม้ไม่ได้ใช้ฉีดโดยตรง
ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (จ) บัญญัติว่า ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทการขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์ บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อความใดกำหนดว่า ยาหรือเคมีภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องใช้สำหรับฉีดให้แก่สัตว์หรือใช้เฉพาะภายในสัตว์โดยตรง แม้ยาตัวนี้ไม่สามารถทำให้สัตว์ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกหายจากโรคหรือฆ่าเชื้อโรคในตัวสัตว์นั้นได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิดและมีคุณสมบัติสำคัญในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสรวมทั้งเชื้อไข้หวัดนก โดยใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ จึงเป็นเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ เพื่อป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของสัตว์ ตามมาตรา 81 (1) (จ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13986/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรออกต่างประเทศ: การคำนวณและฐานภาษีที่ถูกต้อง
การจัดเก็บภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไร กฎหมายกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จะต้องหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่ายแล้วนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการจำหน่ายเงินกำไร อันแสดงความหมายอยู่ในตัวว่า เมื่อมีการส่งเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยเมื่อใด ภาระภาษีย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น
เมื่อลูกค้าได้โอนเงินค่าบริการให้แก่โจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรงหลายครั้ง เงินค่าบริการที่จำหน่ายออกไปมีส่วนของกำไรหรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรรวมอยู่ด้วย เนื่องจากการกำหนดราคาขายสินค้าหรือการให้บริการโดยทั่ว ๆ ไป ผู้ประกอบธุรกิจย่อมต้องคิดค่าสินค้าหรือค่าจ้างรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ในราคาสินค้าหรือค่าจ้างนั้นด้วย จึงต้องถือว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร สาขาของโจทก์ในประเทศไทยจึงต้องหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่ายในอัตราร้อยละ 10 และนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกค้าชำระค่าบริการแก่โจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาในแต่ละครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นวันที่สาขาของโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
เมื่อลูกค้าได้โอนเงินค่าบริการให้แก่โจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรงหลายครั้ง เงินค่าบริการที่จำหน่ายออกไปมีส่วนของกำไรหรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรรวมอยู่ด้วย เนื่องจากการกำหนดราคาขายสินค้าหรือการให้บริการโดยทั่ว ๆ ไป ผู้ประกอบธุรกิจย่อมต้องคิดค่าสินค้าหรือค่าจ้างรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ในราคาสินค้าหรือค่าจ้างนั้นด้วย จึงต้องถือว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร สาขาของโจทก์ในประเทศไทยจึงต้องหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่ายในอัตราร้อยละ 10 และนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกค้าชำระค่าบริการแก่โจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาในแต่ละครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นวันที่สาขาของโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13605/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการสวมสิทธิเรียกร้องหลังโอนหนี้: บรรษัทบริหารสินทรัพย์สามารถสวมสิทธิได้ตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยผู้สวมสิทธิแทนโจทก์เดิมโอนสินทรัพย์รวมทั้งมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 และเป็นการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมาย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ ส่วนจำเลยที่ 1 จะมีหนี้อยู่กับโจทก์เดิมในเรื่องใด จำนวนเท่าไร และจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการบังคับคดีเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละกรณีกับสิทธิในการยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีนี้ ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับหนี้ของจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นและหนี้ระงับแล้ว ผู้ร้องไม่อาจเข้ามาสวมสิทธิได้นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13289/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อผู้รับมอบอำนาจเดิมในหนังสือมอบอำนาจ แม้จะเปลี่ยนชื่อแล้ว ก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจเสียไป
แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเปลี่ยนชื่อก่อนรับมอบอำนาจจากโจทก์ในคดีนี้แต่ก็เป็นบุคคลคนเดียวกัน การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้แทน โดยระบุชื่อเดิมของผู้รับอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจ จึงไม่ทำให้การมอบอำนาจนั้นเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13253/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการจ่ายเงินสนับสนุนแทนเงินปันผล ทำให้เกิดเงินได้พึงประเมินและหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัทโจทก์ บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียวกันคือ บริษัท อาเซียอา นิติบุคคลตามกฎหมายไทยถือหุ้นร้อยละ 51 และมีบริษัท เอบีบี อ. นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 49 ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัทโจทก์มีกำไรสะสม 101,754,580 บาท ซึ่งโจทก์ควรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ การจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศโจทก์ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 แต่โจทก์กลับจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเพียง 2,105,627 บาท แล้วนำกำไรอีก 99,000,000 บาท ไปจ่ายเป็นเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. โดยไม่ได้รับผลตอบแทนเพื่อให้บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้แก่บริษัท เอบีบี อ. ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอบีบี อ. หลังจากโจทก์ให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เพียงสองวัน โจทก์และบริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทในวันเดียวกัน ปกติก่อนเลิกบริษัท หากโจทก์มีหนี้สินก็ควรนำเงินไปชำระหนี้ก่อนที่เหลือจึงนำแบ่งให้แก่ผู้ถือหุ้น การที่โจทก์จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เป็นทางให้บริษัท อาเซียอา ผู้ถือหุ้นใหญ่ของโจทก์ขาดประโยชน์ที่พึงมีพึงได้จากกำไรสะสม 99,000,000 บาท ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลสมควรอันใดที่บริษัท อาเซียอา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีอำนาจบริหารในบริษัทโจทก์จะยอมให้โจทก์กระทำให้บริษัท อาเซียอา ต้องเสียเปรียบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. โดยตรง กับใช้วิธีให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ก็เพื่อที่โจทก์ไม่ต้องหักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้บริษัท เอบีบี อ. ตามมาตรา 70 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าบริษัท เอบีบี อ. ได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากกำไรสะสมที่โจทก์ได้จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ตามสัดส่วนของการถือหุ้นอันเป็นการเพิ่มพูนทรัพย์สินของบริษัท เอบีบี อ. อันอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 และเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) ที่จ่ายจากประเทศไทย โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12873/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริการยึดรถเข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้จ่ายค่าตอบแทนเมื่อยึดรถได้
ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า "บริการ" หมายความว่า "การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า..." โจทก์รับจ้างยึดรถที่ผิดสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ กำหนดอัตราค่าจ้างไม่เกินคันละ 200,000 บาท จึงเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า ดังนั้น การรับจ้างยึดรถของโจทก์ จึงเป็นบริการอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 77/1 (10) และมาตรา 77/1 (5) บัญญัติว่า "ผู้ประกอบการ" หมายความว่า "บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่" แม้การกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ ผู้ประกอบการก็อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อโจทก์ได้ให้บริการในทางธุรกิจแล้ว การประกอบกิจการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นในการทำสัญญาจ้าง รับเงินค่าจ้างตามสัญญาทั้งหมด แสดงว่าโจทก์กับคณะเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (3) และ (5) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82 (1) โจทก์เป็นผู้จัดการ จึงต้องนำเงินที่ได้รับชำระค่าบริการมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามคณะบุคคล
มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ..." เมื่อค่าจ้างยึดรถตามสัญญาเป็นเงินที่ได้รับจากการให้บริการ จึงเป็นมูลค่าที่ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 โจทก์ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลมีหน้าที่จะต้องจัดการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนที่จะแบ่งส่วนแก่บุคคลอื่นในคณะบุคคล ส่วนที่โจทก์จะนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่บุคคลอื่นในคณะบุคคลและบุคคลอื่นที่ร่วมงานกับโจทก์ก็เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งวิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่นำค่าใช้จ่ายมาหักแต่อย่างใด เพราะเป็นการคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นในการทำสัญญาจ้าง รับเงินค่าจ้างตามสัญญาทั้งหมด แสดงว่าโจทก์กับคณะเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (3) และ (5) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82 (1) โจทก์เป็นผู้จัดการ จึงต้องนำเงินที่ได้รับชำระค่าบริการมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามคณะบุคคล
มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ..." เมื่อค่าจ้างยึดรถตามสัญญาเป็นเงินที่ได้รับจากการให้บริการ จึงเป็นมูลค่าที่ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 โจทก์ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลมีหน้าที่จะต้องจัดการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนที่จะแบ่งส่วนแก่บุคคลอื่นในคณะบุคคล ส่วนที่โจทก์จะนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่บุคคลอื่นในคณะบุคคลและบุคคลอื่นที่ร่วมงานกับโจทก์ก็เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งวิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่นำค่าใช้จ่ายมาหักแต่อย่างใด เพราะเป็นการคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12464/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับทางอาญาในความผิดศุลกากร: ราคาของและค่าอากรที่แท้จริง
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว" คำว่า "ราคาของ" หมายความถึง ราคาของที่แท้จริงไม่ใช่ราคาของที่สำแดงไว้ขาด ส่วนคำว่า "ค่าอากร" ก็มิได้จำกัดไว้ว่าให้คิดเฉพาะค่าอากรที่ชำระขาดไป จึงหมายถึงค่าอากรตามอัตราที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติให้นำราคาของกับค่าอากรมาเป็นหลักในการกำหนดอัตราโทษทางอาญาคือโทษปรับ มิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดชำระค่าอากร ซึ่งเป็นเรื่องในทางแพ่งแต่อย่างใด จึงจะแปลว่ากฎหมายมุ่งให้คิดเฉพาะค่าของกับค่าอากรที่ยังขาดอยู่มิได้