พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการล้มเหลว ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้
ในกรณีระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุดลง แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสำเร็จตามแผน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าศาลไม่เห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ให้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหมายความว่าในกรณีที่ลูกหนี้ยังอยู่ในสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ และไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ย่อมเป็นเรื่องที่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย และศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่หากลูกหนี้พ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วหรืออาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
คดีนี้ได้ความจากรายงานเจ้าหน้าที่ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกำกับดูแลการฟื้นฟู สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สรุปได้ว่า ผู้บริหารแผนไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามแผน สำหรับผลการดำเนินงานทางการเงิน ลูกหนี้มีรายได้ไม่เพียงพอ มีการลดจำนวนพนักงานซึ่งมีผลให้ผลิตสินค้าไม่ได้ตามเป้าหมายทั้งด้านคุณภาพและจำนวน ประกอบกับไม่มีสถาบันการเงินใดอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกหนี้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการจนลูกหนี้ขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนได้ ลูกหนี้มีผลการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าลูกหนี้ยังไม่พ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กิจการขาดทุนและไม่มีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ หากยังคงดำเนินกิจการต่อไปลูกหนี้ก็ไม่อาจฟื้นฟูกิจการจนพ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ เมื่อระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุด แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสำเร็จตามแผน กรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง
คดีนี้ได้ความจากรายงานเจ้าหน้าที่ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกำกับดูแลการฟื้นฟู สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สรุปได้ว่า ผู้บริหารแผนไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามแผน สำหรับผลการดำเนินงานทางการเงิน ลูกหนี้มีรายได้ไม่เพียงพอ มีการลดจำนวนพนักงานซึ่งมีผลให้ผลิตสินค้าไม่ได้ตามเป้าหมายทั้งด้านคุณภาพและจำนวน ประกอบกับไม่มีสถาบันการเงินใดอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกหนี้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการจนลูกหนี้ขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนได้ ลูกหนี้มีผลการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าลูกหนี้ยังไม่พ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กิจการขาดทุนและไม่มีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ หากยังคงดำเนินกิจการต่อไปลูกหนี้ก็ไม่อาจฟื้นฟูกิจการจนพ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ เมื่อระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุด แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสำเร็จตามแผน กรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: ผลของการชำระหนี้บางส่วนและการสะดุดหยุดของอายุความ
การนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ในการนับอายุความนั้น มาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีนี้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 กำหนดให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 12 ตกลงผ่อนชำระงวดละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท โดยเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่การชำระหนี้งวดแรกเช่นนี้การเริ่มนับอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2542 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2545 ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงพ้นไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้ามาในอายุความตามมาตรา 193/15 การที่โจทก์นำมูลตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 จึงยังไม่ล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 193/32 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20277/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายต้องเป็นธรรมและเสมอภาค การจัดกลุ่มที่ไม่สมเหตุผลและเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้บางราย ศาลไม่อาจเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟู
แม้มีการยื่นคำร้องคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มาแล้ว ซึ่งศาลมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งจึงถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง แต่ปัญหาการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันกับสิทธิที่ได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นข้อสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผน เนื่องจากแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับมาแล้วจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันตามแผนมิได้พิจารณาเพียงจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน แต่จะต้องคำนึงถึงราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเป็นสำคัญ หากจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันสูงกว่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน การเป็นเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ย่อมมีอยู่เฉพาะในมูลค่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกันจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีจำนวนหนี้มีประกันจึงมีเพียงเท่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ทั้งนี้ การตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นจะต้องเป็นราคาสมควรและเป็นธรรมด้วย โดยแผนอาจจัดให้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ส่วนหนี้ที่เหลือย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อาจจัดได้เป็นหลายกลุ่มโดยให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามมาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง (3)
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้รับจำนำหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ลูกหนี้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ตามสัญญาจำนำหุ้นที่กำหนดวงเงินจำนำครอบคลุมถึงหนี้ประธานตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แสดงว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างมีหุ้นที่ลูกหนี้จำนำเป็นทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันร่วมกัน จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเช่นเดียวกัน แต่ผู้ทำแผนไม่ได้ประเมินหรือตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าหนี้เพื่อจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน แต่กลับนำจำนวนหนี้ประธานของเจ้าหนี้มีประกันแต่ละรายมาคำนวณเปรียบเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมดที่บรรดาเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แล้วจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 20 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันรายที่มีจำนวนหนี้มีประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และให้เจ้าหนี้มีประกันอื่นเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน หากมีการประเมินและตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันอย่างสมควรและเป็นธรรมแล้ว มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันน่าจะไม่สูงไปกว่าจำนวนหนี้ประธาน กรณีเช่นนี้หนี้ส่วนที่เหลือจากมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต่างเป็นสถาบันการเงินเช่นเดียวกัน ตามแผนจะต้องจัดให้เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ได้รับชำระหนี้ร้อยละ 100 ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นกัน ให้ได้รับชำระหนี้เพียงร้อยละ 19.58 จึงไม่ถูกต้องและเท่าเทียมกัน ปรากฏว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และที่ 3 เป็นสถาบันการเงินที่เคยให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินให้แก่ลูกหนี้มาก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเช่นเดียวกัน จึงควรได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเหมือนกันหรือทำนองเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ให้ถูกต้อง มิใช่แยกไปจัดกลุ่มต่างกันและลดจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ลงถึงร้อยละ 80.42 การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดร้อยละ 100 และมีการแก้ไขแผนอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายที่ 39 โดยเฉพาะเจาะจง เป็นเหตุให้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายที่ 39 ในการลงมติยอมรับแผน แต่เจ้าหนี้เสียงส่วนน้อยของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นที่มีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละ 40.24 เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ต่างได้รับผลกระทบจากการจัดสรรชำระหนี้ตามแผน แผนการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวจึงเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีลักษณะเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ทั้งยังส่อไปในทางไม่สุจริตในการจัดทำแผน จึงเป็นแผนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้รับจำนำหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ลูกหนี้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ตามสัญญาจำนำหุ้นที่กำหนดวงเงินจำนำครอบคลุมถึงหนี้ประธานตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แสดงว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างมีหุ้นที่ลูกหนี้จำนำเป็นทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันร่วมกัน จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเช่นเดียวกัน แต่ผู้ทำแผนไม่ได้ประเมินหรือตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าหนี้เพื่อจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน แต่กลับนำจำนวนหนี้ประธานของเจ้าหนี้มีประกันแต่ละรายมาคำนวณเปรียบเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมดที่บรรดาเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แล้วจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 20 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันรายที่มีจำนวนหนี้มีประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และให้เจ้าหนี้มีประกันอื่นเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน หากมีการประเมินและตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันอย่างสมควรและเป็นธรรมแล้ว มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันน่าจะไม่สูงไปกว่าจำนวนหนี้ประธาน กรณีเช่นนี้หนี้ส่วนที่เหลือจากมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต่างเป็นสถาบันการเงินเช่นเดียวกัน ตามแผนจะต้องจัดให้เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ได้รับชำระหนี้ร้อยละ 100 ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นกัน ให้ได้รับชำระหนี้เพียงร้อยละ 19.58 จึงไม่ถูกต้องและเท่าเทียมกัน ปรากฏว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และที่ 3 เป็นสถาบันการเงินที่เคยให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินให้แก่ลูกหนี้มาก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเช่นเดียวกัน จึงควรได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเหมือนกันหรือทำนองเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ให้ถูกต้อง มิใช่แยกไปจัดกลุ่มต่างกันและลดจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ลงถึงร้อยละ 80.42 การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดร้อยละ 100 และมีการแก้ไขแผนอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายที่ 39 โดยเฉพาะเจาะจง เป็นเหตุให้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายที่ 39 ในการลงมติยอมรับแผน แต่เจ้าหนี้เสียงส่วนน้อยของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นที่มีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละ 40.24 เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ต่างได้รับผลกระทบจากการจัดสรรชำระหนี้ตามแผน แผนการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวจึงเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีลักษณะเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ทั้งยังส่อไปในทางไม่สุจริตในการจัดทำแผน จึงเป็นแผนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19883/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการแบ่งทรัพย์สินและการจำนองอันเกิดจากการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย การโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันลูกหนี้ได้กระทำกับผู้ได้ลาภงอก แต่เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลายได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่กรณีเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นพิเศษในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้เพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินและนำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย อายุความที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยไม่ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลเป็นเวลาแรกเริ่มต้นนับอายุความ การยื่นคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องการกระทำภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 240 ประการสำคัญในขณะทำนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นจะต้องมีผู้เป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งต้องเสียเปรียบจากการกระทำของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้วหากขณะทำนิติกรรมนั้นมีเจ้าหนี้หลายราย เจ้าหนี้ทุกรายย่อมเป็นเจ้าหนี้ซึ่งต้องเสียเปรียบด้วยกันหมดทุกคน การนับอายุความในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลแทนเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องแต่ละราย จึงต้องเริ่มนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องรายนั้น ๆ ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นเกณฑ์ ดังนั้น คำร้องที่ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 จึงต้องบรรยายด้วยว่า นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งที่รู้ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ มิฉะนั้นต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้โจทก์รายเดียวต้องเสียเปรียบเท่านั้น
ผู้ร้องทำการสอบสวนเจ้าหนี้รายที่ 40 ที่ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลาง กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้รายที่ 40 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลภายในอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2543 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 จึงยังอยู่ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน
นิติกรรมที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้แก่ บันทึกท้ายทะเบียนหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2540 อันเป็นการยกทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามข้อตกลงข้างต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 และการที่จำเลยที่ 2 นำเงินของตนไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้แก่เด็กชาย ช. และเด็กหญิง บ. บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 แล้วต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จำเลยที่ 2 ปิดบัญชีเดิมและนำเงินของตนเพิ่มเติมสมทบเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ที่ธนาคารเดิมให้แก่บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการทำให้โดยเสน่หา จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และผู้คัดค้านที่ 1 กับบุตรทั้งสองซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงตกแก่จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 แต่ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่านิติกรรมการตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อผู้คัดค้านที่ 1 รวมทั้งนิติกรรมการให้ซึ่งจำเลยที่ 2 กระทำต่อบุตรทั้งสอง เป็นการกระทำในช่วงเวลาที่ตนอาจรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่ 40 จำเลยที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่รู้ได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้รายที่ 40 ต้องเสียเปรียบ เมื่อเป็นการทำให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่ผู้ร้องจะขอเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นิติกรรมที่ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่ดินอันเป็นการกระทำที่สืบเนื่องจากบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สินจึงต้องถูกเพิกถอนด้วย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นอาจเป็นสินสมรสที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กรณีต้องไปว่ากล่าวกันเมื่อมีการขายทรัพย์สินในชั้นบังคับคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 19 วรรคสาม และมาตรา 123
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองที่ดินจากผู้คัดค้านที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่ในขณะที่รับจำนองนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 2 จึงถือว่ารับจำนองโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
ผู้ร้องทำการสอบสวนเจ้าหนี้รายที่ 40 ที่ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลาง กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้รายที่ 40 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลภายในอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2543 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 จึงยังอยู่ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน
นิติกรรมที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้แก่ บันทึกท้ายทะเบียนหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2540 อันเป็นการยกทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามข้อตกลงข้างต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 และการที่จำเลยที่ 2 นำเงินของตนไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้แก่เด็กชาย ช. และเด็กหญิง บ. บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 แล้วต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จำเลยที่ 2 ปิดบัญชีเดิมและนำเงินของตนเพิ่มเติมสมทบเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ที่ธนาคารเดิมให้แก่บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการทำให้โดยเสน่หา จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และผู้คัดค้านที่ 1 กับบุตรทั้งสองซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงตกแก่จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 แต่ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่านิติกรรมการตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อผู้คัดค้านที่ 1 รวมทั้งนิติกรรมการให้ซึ่งจำเลยที่ 2 กระทำต่อบุตรทั้งสอง เป็นการกระทำในช่วงเวลาที่ตนอาจรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่ 40 จำเลยที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่รู้ได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้รายที่ 40 ต้องเสียเปรียบ เมื่อเป็นการทำให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่ผู้ร้องจะขอเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นิติกรรมที่ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่ดินอันเป็นการกระทำที่สืบเนื่องจากบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สินจึงต้องถูกเพิกถอนด้วย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นอาจเป็นสินสมรสที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กรณีต้องไปว่ากล่าวกันเมื่อมีการขายทรัพย์สินในชั้นบังคับคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 19 วรรคสาม และมาตรา 123
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองที่ดินจากผู้คัดค้านที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่ในขณะที่รับจำนองนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 2 จึงถือว่ารับจำนองโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18801/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิในคำขอรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันหลังชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ต่อเจ้าหนี้รายที่ 3 ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 3 ย่อมมีผลให้ผู้ร้องได้รับช่วงสิทธิตามกฎหมายของเจ้าหนี้รายที่ 3 ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเพื่อรับช่วงสิทธิในคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 สำหรับจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15731/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของแผนฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ศาลเห็นว่าข้อตกลงยกเว้นความรับผิดขัดต่อกฎหมาย
ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเป็นเหตุเฉพาะตัวของลูกหนี้เท่านั้น ที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลภายนอกซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลเหล่านั้นในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดอีกเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง การที่แผนพื้นฟูกิจการกำหนดว่า เจ้าหนี้ตกลงจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องหรือดำเนินคดีหรือบังคับคดีใด ๆ กับผู้ค้ำประกัน ผู้จำนอง ผู้จำนำ ซึ่งได้ให้ไว้เป็นประกันในภาระหนี้ใด ๆ ของลูกหนี้ตลอดระยะเวลาที่แผนยังคงมีผลใช้บังคับ จึงขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 90/60 วรรคสอง เฉพาะข้อกำหนดส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ข้อกำหนดดังกล่าวก็มิใช่รายการสำคัญ ทั้ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ก็ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้แล้วในมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ข้อกำหนดดังกล่าวตกไปจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผนที่เหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11799/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิของผู้บริหารแผนในการโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้ง
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้ทำแผน เพื่อให้ผู้ทำแผนดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ทำแผนได้รับสำเนาคำขอรับชำระหนี้แล้วย่อมมีสิทธิขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง และ 90/29 ทั้งนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาจำต้องแจ้งให้ผู้ทำแผนมาตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้อีกไม่ คดีนี้เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนก็ได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องของเจ้าหนี้ ย่อมแสดงว่าผู้บริหารแผนทราบถึงมูลหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้แล้ว เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งกลับคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ให้รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้ดำเนินการ ผู้บริหารแผนซึ่งได้รับโอนสิทธิและหน้าที่มาจากผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทันที โดยไม่มีความจำเป็นอันใดที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแจ้งให้ผู้บริหารแผนทราบอีก การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งให้ผู้บริหารแผนมาตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในภายหลัง จึงไม่ทำให้ผู้บริหารแผนเสียโอกาสในการตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10105/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหลังชำระหนี้แทนลูกหนี้ สิทธิในการรับชำระหนี้จะตกเป็นของผู้รับช่วงสิทธิเดิม
เจ้าหนี้เป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ต่อธนาคาร ก. เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 ปรากฏว่าธนาคาร ก. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย และวรรคสอง การที่เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ตามหนังสือค้ำประกันถึงแม้มีผลให้เจ้าหนี้เข้ารับช่วงสิทธิของธนาคาร ก. บรรดามีเหนือลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 แต่เจ้าหนี้ชำระหนี้แทนลูกหนี้หลังพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แล้ว ดังนี้ ขณะยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้จึงยังไม่ได้รับช่วงสิทธิที่จะมาขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยอาศัยคำขอรับชำระหนี้เดิมของเจ้าหนี้ได้ การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในกรณีนี้เจ้าหนี้ชอบที่จะต้องเข้ารับช่วงสิทธิของธนาคาร ก. ในส่วนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งพนักงานไปปฏิบัติงานที่บริษัทลูกหนี้: การให้บริการตามกฎหมาย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกระทำกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามบทบัญญัติในหมวดนี้ (1) การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการ..." ตามมาตรา 77/1 (10) คำว่า "บริการ" หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใด ๆ ..." ปรากฏว่าพนักงานที่เจ้าหนี้ส่งไปทำงานในบริษัทลูกหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ถือหุ้นอยู่ยังคงเป็นลูกจ้างของเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้เป็นผู้จ่ายเงินเดือนและค่าสวัสดิการต่าง ๆ ทั้งยังคงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหนี้ การที่เจ้าหนี้ส่งพนักงานไปปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทลูกหนี้ โดยลูกหนี้เป็นผู้รับผิดชอบชดใช้เงินเดือนและค่าสวัสดิการซึ่งเจ้าหนี้จ่ายให้แก่พนักงานของเจ้าหนี้ไป แม้จะไม่เป็นการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการหาประโยชน์อันมีมูลค่าจากลูกหนี้โดยตรง แต่การที่เจ้าหนี้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้เท่ากับที่จ่ายให้แก่พนักงานก็ยังต้องด้วยคำนิยามของคำว่า "บริการ" จึงถือว่าเจ้าหนี้ให้บริการแก่ลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกหนี้ผู้รับบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เมื่อลูกหนี้ต้องชำระค่าบริการสำหรับเงินเดือนและสวัสดิการพนักงานของเจ้าหนี้ที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสัญญาจ้างทำของ-ต่างตอบแทน สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย-หักกลบหนี้
โจทก์ว่าจ้างจำเลยทำแม่พิมพ์พื้นเตารีดในราคา 100,000 บาท จำเลยทำเสร็จพร้อมกับได้รับค่าจ้างแล้ว หลังจากนั้นโจทก์จ้างจำเลยใช้แม่พิมพ์ดังกล่าวผลิตพื้นเตารีดโดยโจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระ คือแท่งทองแดงนำความร้อน 16,762 ชิ้น และจำเลยต้องผลิตพื้นเตารีดตามจำนวนแท่งทองแดงนำความร้อนดังกล่าวในราคาค่าจ้างชิ้นละ 32 บาท จำเลยผลิตเสร็จแล้วและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าจ้าง 536,384 บาท แต่โจทก์ไม่ชำระ กลับมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบแม่พิมพ์พร้อมทั้งแท่งทองแดงนำความร้อน 16,762 ชิ้น คืนโจทก์ จำเลยจึงใช้สิทธิยึดหน่วงแม่พิมพ์และแท่งทองแดงนำความร้อนอันเป็นส่วนหนึ่งของพื้นเตารีด ต่อมาจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป ถือได้โดยปริยายว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกัน เมื่อโจทก์จำเลยคู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงกันไว้และไม่มีทางจะบังคับเป็นอย่างอื่น ก็ต้องอนุโลมบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 คือ โจทก์จำเลยจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม สำหรับแม่พิมพ์หากส่งคืนไม่ได้ให้จำเลยใช้ราคา 100,000 บาท
สัญญาที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยผลิตพื้นเตารีดเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 369 เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้ว โจทก์กับจำเลยต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ มาตรา 391 วรรคสี่ ยังบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ซึ่งมีความหมายว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นก่อนแล้ว กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้มีความรับผิดที่ไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215, 216 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ทำการผลิตพื้นเตารีดตามที่โจทก์สั่งเสร็จแล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างซึ่งจำเลยทวงถามให้ชำระแล้ว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดก่อนมีการเลิกสัญญาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้แม้ภายหลังโจทก์จำเลยจะเลิกสัญญาต่อกัน และแม้กรณีนี้จำเลยไม่ได้ส่งมอบพื้นเตารีดที่ผลิตเสร็จให้โจทก์ โดยจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดออกจากกันจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับการงานอันจำเลยได้กระทำให้ที่จำเลยจะมีสิทธิได้รับค่าแห่งการงานนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้แสดงให้เห็นถึงความเสียหายส่วนนี้มาในคำให้การแล้ว ศาลจึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้จำเลย แล้วนำมาหักกับราคาแท่งทองแดงนำความร้อนที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ก่อนได้ ตามหลักในเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 392 ประกอบมาตรา 369
สัญญาที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยผลิตพื้นเตารีดเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 369 เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้ว โจทก์กับจำเลยต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ มาตรา 391 วรรคสี่ ยังบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ซึ่งมีความหมายว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นก่อนแล้ว กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้มีความรับผิดที่ไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215, 216 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ทำการผลิตพื้นเตารีดตามที่โจทก์สั่งเสร็จแล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างซึ่งจำเลยทวงถามให้ชำระแล้ว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดก่อนมีการเลิกสัญญาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้แม้ภายหลังโจทก์จำเลยจะเลิกสัญญาต่อกัน และแม้กรณีนี้จำเลยไม่ได้ส่งมอบพื้นเตารีดที่ผลิตเสร็จให้โจทก์ โดยจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดออกจากกันจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับการงานอันจำเลยได้กระทำให้ที่จำเลยจะมีสิทธิได้รับค่าแห่งการงานนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้แสดงให้เห็นถึงความเสียหายส่วนนี้มาในคำให้การแล้ว ศาลจึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้จำเลย แล้วนำมาหักกับราคาแท่งทองแดงนำความร้อนที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ก่อนได้ ตามหลักในเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 392 ประกอบมาตรา 369