พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันทายผลฟุตบอล: ความผิดตามมาตรา 4 ทวิ พ.ร.บ.การพนัน แม้ไม่เข้าข่ายมาตรา 4
การเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งตามบัญชี ข. หมายเลข 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนันฯ ต้องมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบด้วยแต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนันฯ มาตรา 4 แต่เป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 จะพนันกันหรือจะจัดให้มีเพื่อให้พนันกันได้เฉพาะการเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งมาตรา 4 ทวิ วรรคสองกำหนดให้ "การเล่น" หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วยการเล่นการพนันดังกล่าวต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยทั้งสองเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดตามมาตรา 4 ทวิ การที่โจทก์อ้างมาตรา 4 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นในชั้นฎีกา และย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ผู้มิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7711/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันทายผลฟุตบอล แม้ไม่เข้าข่ายสลากกินแบ่ง แต่ยังคงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน มาตรา 4 ทวิ
การเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งตามบัญชี ข. อันดับที่ 16 ตามพระราชบัญญัติการพนันฯ ต้องมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบด้วย แต่การพนันทายฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง อย่างไรก็ตามการพนันทายฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 จะพนันกันหรือจะจัดให้มีเพื่อให้พนันกันได้เฉพาะการเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งมาตรา 4 ทวิ วรรคสอง ให้ความหมายคำว่า "การเล่น" หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย การเล่นพนันดังกล่าวต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้ระบุในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันมีกัญชาจำนวน 290 แท่ง น้ำหนัก 576.200 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยโจทก์อ้างบทลงโทษตามมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาในคำขอท้ายฟ้อง มาตราดังกล่าวได้กล่าวอ้างถึงมาตรา 26 ซึ่งเป็นบทห้ามและข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เกี่ยวกับการมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไว้ด้วย เพียงแต่โจทก์มิได้ระบุมาตรา 26 มาในคำขอท้ายฟ้อง ส่วนมาตรา 25 ที่โจทก์ระบุมานั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นที่เห็นได้ว่าการที่โจทก์ระบุมาตรา 25 มาในคำขอท้ายฟ้อง เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างบท มาตราผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันทายผลฟุตบอล: ความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน และอำนาจศาลในการแก้ไขฐานความผิด
การเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ต้องมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบซึ่งอยู่ในบัญชี ข. หมายเลขเดียวกันด้วย
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล ซึ่งเป็นการเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง อันเป็นการพนันประเภทต้องขออนุญาตตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ แต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 4
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า "คำว่า "การเล่น" ในวรรคก่อนให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย" การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 และมิใช่การเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยจากการกระทำนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเล่นการพนันดังกล่าวจริง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิ ไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดและความผิดตามมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล ซึ่งเป็นการเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง อันเป็นการพนันประเภทต้องขออนุญาตตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ แต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 4
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า "คำว่า "การเล่น" ในวรรคก่อนให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย" การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 และมิใช่การเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยจากการกระทำนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเล่นการพนันดังกล่าวจริง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิ ไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดและความผิดตามมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขโทษ รวมถึงการรอการลงโทษและเหตุบรรเทาโทษ
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเอง อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ด้วย สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง โดย โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองให้หนักขึ้น เป็นการเพิ่มเติม โทษซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สิน-ปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยทุจริต-กรรโชก: ศาลลงโทษตามบทเฉพาะได้ แม้ฟ้องผิด
จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าพนักงานตำรวจตำแหน่งลูกแถว กองกำกับการอารักขาและรักษาความปลอดภัย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดอาญา เมื่อได้พบและกล่าวหาว่าผู้เสียหายให้ที่พักอาศัยแก่คนต่างด้าวโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ จึงไม่ใช่การกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าผู้เสียหายกระทำผิดอาญาโดยไม่มีมูลความผิดการที่จำเลยทั้งสามปฏิบัติการไปตามหน้าที่ดังกล่าวโดยชอบแล้ว กลับไม่จับกุมแต่ขู่เข็ญเรียกร้องเอาเงินแล้วละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แต่การที่จำเลยทั้งสามขู่เข็ญเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายภายหลังเช่นนี้ย่อมเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สินในตำแหน่งโดยมิชอบด้วยหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะมาด้วย แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าเมื่อพบการกระทำผิดซึ่งจำเลยทั้งสามมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด แต่กลับร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตโดยข่มขืนใจผู้เสียหายให้มอบเงินดังกล่าว อันเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะอ้าง บทมาตราความผิดตามบทเฉพาะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148แต่เมื่อคำบรรยายฟ้องและข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามบทเฉพาะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 แล้ว จึงถือว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า
จำเลยทั้งสามร่วมกันขู่เข็ญเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อที่จะละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหายไปดำเนินคดี จนผู้เสียหายกลัวว่าจะถูกจับกุมอันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพของตน จึงยอมจะให้เงินแก่จำเลยทั้งสามนั้นเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปและฐานกรรโชกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก ด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่เมื่อเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 แล้วจะ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 337 ด้วยไม่ เพียงแต่เมื่อเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกเท่านั้น
จำเลยทั้งสามร่วมกันขู่เข็ญเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหาย เพื่อที่จะละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหายไปดำเนินคดี จนผู้เสียหายกลัวว่าจะถูกจับกุมอันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพของตน จึงยอมจะให้เงินแก่จำเลยทั้งสามนั้นเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปและฐานกรรโชกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก ด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่เมื่อเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 แล้วจะ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 337 ด้วยไม่ เพียงแต่เมื่อเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานมีอาวุธปืน พาอาวุธปืน และทำร้ายร่างกาย รวมถึงการกำหนดโทษจำคุกที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ครบถ้วนแล้วว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8,72 ทวิโดยมาตรา 72 ทวิ เป็นบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา 8 ทวิ ด้วย เห็นได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้าไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)และมาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนจำคุก 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืน จำคุก 6 เดือน แล้วรวมโทษ 2 กระทงเข้าเป็นจำคุก 1 ปี เมื่อรวมโทษฐานทำร้ายร่างกายเป็นจำคุก 2 ปีนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แต่ถ้ากำหนดเป็นปีให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนจำคุก 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืน จำคุก 6 เดือน แล้วรวมโทษ 2 กระทงเข้าเป็นจำคุก 1 ปี เมื่อรวมโทษฐานทำร้ายร่างกายเป็นจำคุก 2 ปีนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แต่ถ้ากำหนดเป็นปีให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีชิงทรัพย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา339 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลก็ต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานรู้เห็นเพียงคนเดียว และผู้เสียหายมิได้ยืนยันหรือเบิกความกล่าวหาว่า จำเลยพยายามชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายคงยืนยันแต่เพียงว่า เข้าใจว่าจำเลยจะข่มขืนผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อที่ผู้เสียหายสวมใส่ แต่ในกระเป๋าเสื้อนั้นไม่มีทรัพย์ใด ๆอยู่ เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยได้ลงมือชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วแม้จำเลยจะเคยให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าประสงค์จะได้เงินจึงใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหาย คำให้การของจำเลยดังกล่าวอาจจะเป็นข้อแก้ตัวของจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการอนาจารผู้เสียหายก็ได้ พยานโจทก์เท่าที่นำสืบจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ลงมือกระทำการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างรวมทั้งข้อหาว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายด้วยซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง และโจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่าถูกจำเลยทำร้ายมีบาดแผลหลายแห่ง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหก
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างรวมทั้งข้อหาว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายด้วยซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง และโจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่าถูกจำเลยทำร้ายมีบาดแผลหลายแห่ง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างละเมิดลิขสิทธิ์: มีความผิดแม้ไม่ใช่เจ้าของร้าน หากรู้หรือควรรู้ว่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
จำเลยรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้นเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและการที่สินค้า เหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชน ทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลย จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่น ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว แม้คำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบด้วยมาตรา 225 และ 215 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่ง ด้วย ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชน เพื่อหากำไร ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าไม่มีฉลาก: ความผิดของลูกจ้างแม้ไม่ใช่เจ้าของร้าน
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่า แผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง แต่ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรงหากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30 และ 69 ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30 และ 69 ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย