พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,914 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงและการไม่มีอำนาจฟ้อง การขอห้ามจำเลยงดจ่ายไฟฟ้าเป็นคำขอที่ไม่ชอบ
การที่ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ปรับปรุงเพิ่มไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิตามปกติอันพึงกระทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ แม้ในตอนท้ายของหนังสือจะมีข้อความขอให้โจทก์นำเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปชำระ มิฉะนั้นจำเลยจะดำเนินการตามระเบียบก็ตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องโจทก์จะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ แม้ต่อมาหากปรากฏว่าจำเลยดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ต้องชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยหรือไม่ เพราะศาลอาจมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น ลำพังหนังสือของจำเลยที่แจ้งไปยังโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำของจำเลยที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษายกเลิกหนังสือดังกล่าวได้ ส่วนที่โจทก์มีคำขอบังคับห้ามจำเลยงดจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่โจทก์ซึ่งหมายถึงการระงับหรืองดกระทำการดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไปนั้น เป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้มีการโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6448/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และประเด็นการห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องและขอให้เรียการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมได้ เนื่องจากมีอาคารของจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารที่ปลูกอยู่และส่งมอบที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็คือจำเลยไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไป และไม่ยอมรื้อถอนอาคารของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ส่วนคำขอบังคับก็คือให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารและส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์รวมทั้งใช้ค่าเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่า โจทก์ร่วมบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยหรือไม่ อย่างไร และจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด/ตัวการ: ความรับผิดในสัญญาซื้อขายปลา การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ
การผลิตปลากระป๋อง การสั่งปลาและการรับมอบปลาจากโจทก์ จำเลยรับว่าเกิดในที่ทำการของจำเลย แต่อ้างว่าเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ พ. และ ร. การที่จำเลยยินยอมให้ พ. และ ร. ใช้สถานที่ของจำเลยประกอบการผลิตปลากระป๋อง โดยเครื่องมือการผลิตเครื่องมือสื่อสารติดต่อกับโจทก์ทั้งเครื่องโทรศัพท์และเครื่องโทรสาร รวมทั้งแบบฟอร์มใบสำคัญจ่ายซึ่งเป็นหลักฐานแสดงการยอมรับว่าเป็นหนี้ของจำเลย ประกอบกับวัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่จดทะเบียนระบุว่า จำเลยประกอบกิจการค้าอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าใจโดยสุจริตว่า พ. และ ร. กระทำการในนามของจำเลยหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการดังกล่าวเอง เป็นการที่จำเลยเชิด พ. และ ร. ออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้ พ. และ ร. เชิดตัวเองเป็นตัวแทน จำเลยจึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของ พ. และ ร. ในฐานะตัวการ ต้องชำระค่าปลาให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
แม้ฟ้องจะมิได้กล่าวเกี่ยวกับการเป็นตัวการตัวแทน โจทก์ก็นำสืบเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนกันก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ประกอบธุรกิจขายปลา ทำสัญญาขายปลาให้จำเลยนำไปใช้ผลิตปลากระป๋องออกจำหน่ายอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) การฟ้องเรียกค่าปลาจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
แม้ฟ้องจะมิได้กล่าวเกี่ยวกับการเป็นตัวการตัวแทน โจทก์ก็นำสืบเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนกันก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ประกอบธุรกิจขายปลา ทำสัญญาขายปลาให้จำเลยนำไปใช้ผลิตปลากระป๋องออกจำหน่ายอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) การฟ้องเรียกค่าปลาจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลต้องฟ้องลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกร่วมกัน มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 นั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรม คือ ลูกหนี้กับผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมเป็นจำเลยในคดี จะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลย่อมไม่ผูกพันลูกหนี้หรือผู้ได้รับลาภงอก
อ. เป็นลูกหนี้ของโจทก์ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ อ. และเป็นผู้ได้รับลาภงอกจากการกระทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 มิได้ฟ้อง อ. ด้วย แม้จะปรากฏว่า อ. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า ก่อน อ. ถึงแก่กรรมได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรักษา อ. มาโดยตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำเพื่อฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น หาใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมคดีนี้ได้
อ. เป็นลูกหนี้ของโจทก์ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ อ. และเป็นผู้ได้รับลาภงอกจากการกระทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 มิได้ฟ้อง อ. ด้วย แม้จะปรากฏว่า อ. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า ก่อน อ. ถึงแก่กรรมได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรักษา อ. มาโดยตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำเพื่อฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น หาใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม – การใช้สิทธิไม่สุจริต – หลักเกณฑ์การเลือกเส้นทาง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ และโจทก์มีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 2 แต่ทางดังกล่าวในที่ดินของจำเลยที่ 2 ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นทางจำเป็น ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมอยู่จนไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ปิดล้อมอยู่นั้นเปิดทาง เพื่อให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 อันเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด จึงมิใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมอยู่จนไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ปิดล้อมอยู่นั้นเปิดทาง เพื่อให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 อันเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด จึงมิใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรผู้เยาว์ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทน และการกำหนดจำนวนค่าขาดไร้อุปการะที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรทั้งสามของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทำให้บุตรทั้งสามของโจทก์และโจทก์ต้องขาดไร้ผู้อุปการะ จึงขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรโจทก์และโจทก์ เช่นนี้ มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจได้ว่า บุตรทั้งสามของโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนด้วยนั่นเอง แต่เพราะเหตุที่บุตรทั้งสามของโจทก์เป็นผู้เยาว์ยังฟ้องหรือคดีเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นมารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมจึงฟ้องแทน ย่อมถือได้ว่าโจทก์ฟ้องในนามของบุตรทั้งสามคนด้วยโดยปริยาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรผู้เยาว์ทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4535/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. ภาระจำยอม: ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนสิ่งกีดขวางทาง แม้ฟ้องเป็นภาระจำยอม แต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นทางสาธารณะ
แม้โจทก์จะฟ้องกล่าวอ้างเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ศาลก็มีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อถอนเสาคอนกรีตและรั้วออกจากทางพิพาทได้เพราะไม่ว่าเป็นทางภาระจำยอมหรือทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4535/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรื้อถอนสิ่งกีดขวางทาง แม้ฟ้องเป็นภาระจำยอม แต่เป็นทางสาธารณะ
แม้โจทก์จะฟ้องกล่าวอ้างเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ศาลก็มีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อถอนเสาคอนกรีตและรั้วออกจากทางพิพาทได้ เพราะไม่ว่าเป็นทางภาระจำยอมหรือทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของจำเลยที่ 2 กับผู้เอาประกันภัย ทำให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีไม่ได้ คำฟ้องจึงเคลือบคลุม
โจทก์แนบตารางกรมธรรม์ประกันภัยไว้ท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ในฐานะใดหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับ จ. ผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีโอกาสทราบได้เลยว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างไรและไม่อาจต่อสู้คดีของโจทก์ได้ การบรรยายฟ้องในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นสาระสำคัญ มิใช่รายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาเพราะโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดต่อชื่อเสียงจากบทความข่าว การร่วมรับผิดของนายจ้างและบรรณาธิการ การกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่า จำเลยทั้งสามลงพิมพ์ข้อความเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 อันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงและมิใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมเป็นละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางทำมาหาได้และทางเจริญในกิจการของโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ ส่วนการคิดคำนวณค่าเสียหายอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เขียนข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจสืบเนื่องจาก ว. เพื่อนของจำเลยที่ 2 มาแจ้งให้ทราบว่าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของโจทก์ 1 คืน เสียค่ารักษาพยาบาลประมาณ 4,000 บาท แพงกว่าที่โรงพยาบาลประมาณไว้ 3,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 ลงข่าวมีข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์อ่านแล้วเป็นที่เข้าใจว่าโรงพยาบาลศรีสยามได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตว์ แพทย์ของโรงพยาบาลเป็นโจรในเครื่องแบบสีขาว โรงพยาบาลเป็นโรงทรมานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ซึ่งไม่ได้เป็นข้อความที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าความเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 2 รับทราบมา จึงไม่ใช่ข้อความที่ติชมด้วยความสุจริตเป็นธรรมเพื่อปกปักรักษาประโยชน์สังคมโดยส่วนรวม การที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจลงพิมพ์โฆษณาต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำมาลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะอ้างว่าโดยปกติตนจะตรวจข่าวในกรอบพาดหัวหน้า 1 เป็นหลัก ข่าวในส่วนปลีกย่อยจะไม่ให้ความสนใจนั้นไม่ได้ เมื่อข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ด้วย
จำเลยที่ 2 เขียนข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจสืบเนื่องจาก ว. เพื่อนของจำเลยที่ 2 มาแจ้งให้ทราบว่าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของโจทก์ 1 คืน เสียค่ารักษาพยาบาลประมาณ 4,000 บาท แพงกว่าที่โรงพยาบาลประมาณไว้ 3,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 ลงข่าวมีข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์อ่านแล้วเป็นที่เข้าใจว่าโรงพยาบาลศรีสยามได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตว์ แพทย์ของโรงพยาบาลเป็นโจรในเครื่องแบบสีขาว โรงพยาบาลเป็นโรงทรมานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ซึ่งไม่ได้เป็นข้อความที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าความเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 2 รับทราบมา จึงไม่ใช่ข้อความที่ติชมด้วยความสุจริตเป็นธรรมเพื่อปกปักรักษาประโยชน์สังคมโดยส่วนรวม การที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจลงพิมพ์โฆษณาต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำมาลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะอ้างว่าโดยปกติตนจะตรวจข่าวในกรอบพาดหัวหน้า 1 เป็นหลัก ข่าวในส่วนปลีกย่อยจะไม่ให้ความสนใจนั้นไม่ได้ เมื่อข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ด้วย