คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1015

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: กรณีกรรมการยักยอกเงิน
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหาย บริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคแรก ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้อง และเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก.นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก.ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก.และต้องรับผิดต่อบริษัท ก.มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย หาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก.ไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกำไรจากการร่วมกันรับเหมาต้องทำกับห้างหุ้นส่วน ไม่ใช่ตัวบุคคลโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนรับจ้างทำงานก่อสร้างจากทางราชการและมีผลกำไรจากการก่อสร้าง โจทก์จึงต้องแบ่งผลกำไรให้แก่จำเลยและเมื่อยอดเงินตามเช็คน้อยกว่าส่วนแบ่งผลกำไรของจำเลย โจทก์จึงต้องชำระเงินคืนแก่จำเลย ดังนี้ เมื่อผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างตามสัญญาจ้างดังกล่าวคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งเป็นนิติบุคคลโจทก์เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งในการก่อสร้างนั้นหากจะมีกำไรจริง ผู้ที่ได้รับกำไรก็คือห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จะถือว่าโจทก์มีกำไรไม่ได้เพราะเป็นคนละคนกัน เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวต่างหาก จำเลยหามีสิทธินำหนี้ตามเช็คที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์มาหักหนี้กับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดกรรมการผู้จัดการในสัญญาจะซื้อจะขาย: ผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคล
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้จัดการ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะตัวแทนนิติบุคคล ไม่มีข้อความใดในสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัว สัญญาพิพาทฉบับนี้จึงมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หาผูกพันจำเลยที่ 1 ไม่ สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องในบังคับคดีได้ อันเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 คู่ความจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาพิพาทไม่ได้ เมื่อตามสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัวอันเป็นการนำสืบให้เห็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลจะต้องเป็นบุคคล ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพียงแต่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้เพื่อ ทำการค้าเท่านั้น มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ และจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนก็ไม่ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จะไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว ในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนพาณิชย์ ไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลจะต้องเป็นบุคคล ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพียงแต่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้เพื่อ ทำการค้าเท่านั้น มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ และจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนก็ไม่ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จะไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว ในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ: ฟ้องห้างฯ หรือฟ้องผู้จัดการส่วนตัว?
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน "ทองคำบริการ"รับรถยนต์ของโจทก์ไว้อัดฉีดแล้วประมาทเลินเล่อปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เอารถคันดังกล่าวของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดทองคำบริการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากรับทำการอัดฉีดรถของโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้ทำแทนห้างฯ มิได้ทำในฐานะส่วนตัวเมื่อฟ้องโจทก์มิได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และไม่ได้ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้จำเลยรับผิดในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างดังกล่าวไม่ได้ ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ: ฟ้องห้างฯ นิติบุคคลโดยตรง หากจำเลยทำหน้าที่แทน ห้างฯ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของปั้มน้ำมัน "ทองคำบริการ" รับรถยนต์ของโจทก์ไว้อัดฉีดแล้วประมาทเลินเล่อปล่อยให้บุคคลอื่น ซึ่งมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เอารถคันดังกล่าวของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดทองคำบริการ ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากรับทำการอัดฉีดรถของโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้ทำแทนห้างฯ มิได้ทำในฐานะส่วนตัว เมื่อฟ้องโจทก์มิได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และไม่ได้ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้จำเลยรับผิดในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างดังกล่าวไม่ได้ ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดหุ้นส่วน-อำนาจฟ้อง-ค่าทนายความ
โจทก์มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้ตามสัญญา เมื่อธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวนที่ยังเหลือได้ หาใช่เป็นการเรียกค่าปรับซ้อนกันไม่
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเลิกบริษัท: นิติบุคคลต่างหากจากผู้ก่อตั้ง สัญญาประนีประนอมผูกพันเฉพาะคู่สัญญา
โจทก์ที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ 2 กับ ส. และพวกทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันจะก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่อีกบริษัทหนึ่ง เพื่อประกอบกิจการเดินรถแทนบริษัทโจทก์ที่ 2 ต่อมา ส. กับพวกได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่ เป็นบริษัทจำเลยโดยโจทก์มิได้ร่วมก่อตั้งด้วย ดังนี้ บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่างหากจากผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท และมิได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเพื่อขอให้เลิกบริษัทโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบรายละเอียดการซื้อขายโดยตัวแทน ไม่ถือเป็นการนำสืบนอกฟ้อง และผลการรับผิดของตัวแทนและผู้ถูกมอบหมาย
ในคดีฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่าซื้อวัสดุก่อสร้างที่ค้างชำระโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยได้มอบให้ ก. เป็นตัวแทนมาติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ดังนี้ เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการติดต่อขอซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์อันเป็นมูลแห่งหนี้ ซึ่งเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง มิใช่เป็นการนำสืบนอกข้อหาในคำฟ้องอันจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1025/2516)
เมื่อ ก. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างในฐานะตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
of 6