พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์พระพุทธรูปในวัด แต่ไม่ได้จัดวางเพื่อสักการะ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองศิลปวัตถุ
แม้ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันลักเป็นพระพุทธรูปและอยู่ในวัดผู้เสียหาย แต่พระพุทธรูปดังกล่าวเก็บไว้ในศาลาบำเพ็ญกุศลหลังเก่าอยู่ในสภาพถูกปล่อยทิ้งร้างและรกรุงรัง มิได้จัดวางไว้ในที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา รวมทั้งไม่มีเครื่องบูชา จึงยังถือไม่ได้ว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยกับพวกร่วมกันลักพระพุทธรูปดังกล่าวภายในวัดผู้เสียหายก็ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ทั้งศาลาบำเพ็ญกุศลมีไว้เพื่อใช้จัดงานพิธีศพ จึงมิใช่เป็นสถานที่บูชาสาธารณะ ตาม ป.อ. มาตรา 335 (9) การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปและโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด การพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 เท่านั้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7384/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการถมดิน: การสืบพยานสำคัญกว่าข้อตกลงปากเปล่า หากมีบ่อปลาอยู่ก่อนแล้ว
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าก่อนจำเลยขุดดินเมื่อปี 2534 จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเมื่อใด จำเลยจะถมที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้น ปัญหาว่าก่อนปี 2534 มีบ่อปลาในที่ดินของโจทก์อยู่แล้วหรือไม่จึงเป็นประเด็นสำคัญเนื่องจากต้องนำมาประกอบการพิจารณาว่าจำเลยได้ตกลงกับโจทก์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ่อปลาในที่ดินของโจทก์มีมาก่อนปี 2534 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าก่อนจำเลยขุดดินในที่ดินของโจทก์เมื่อปี 2534 จำเลยได้ตกลงกับโจทก์ก่อนแล้วว่าจะถมที่ดินให้โจทก์ เมื่อโจทก์ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ จึงรับฟังไม่ได้ เนื่องจากโจทก์สืบไม่สมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6877/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดประกาศจับและหมายจับเพื่อทำลายชื่อเสียง ถือเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมีปัญหาพิพาทกับโจทก์ร่วมในเรื่องที่โจทก์ร่วมปิดอาคารไม่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าไปตกแต่งอาคารและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์อาคารให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ในคดีอื่นที่ศาลออกหมายจับโจทก์ร่วมไว้ก่อนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นน้องของ ฉ. เจ้าหนี้ของโจทก์ร่วมนำประกาศจับซึ่งมีข้อความว่า ประกาศจับโจทก์ร่วม กับสำเนาหมายจับของศาลแขวงลพบุรีไปปิดประกาศคู่กันให้ประชาชนทั่วไปพบเห็นตามสถานที่ต่าง ๆ ถือเป็นการทำลายชื่อเสียงของโจทก์ร่วม เป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ตาม ป.อ. มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดพาอาวุธ และอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเองได้
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) แต่โจทก์ได้ตัวจำเลยมายังศาลโดยยื่นฟ้องเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ชอบที่ศาลจะยกฟ้องเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ กับปรากฏในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายข้างต้นยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะเหตุใด อันเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6329/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่า, การสิ้นสุดสัญญาโดยปริยาย, และขอบเขตการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
สิทธิในการเลิกสัญญาของคู่สัญญาอาจเกิดจากข้อกำหนดในสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายอันเป็นหลักทั่วไปตามมาตรา 387 ถึง 389 หรือตามบทบัญญัติว่าด้วยเอกเทศสัญญา ลักษณะเช่าทรัพย์ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ปฏิบัติต่อจำเลยไม่เป็นไปตามฐานะผู้ให้เช่าที่ควรให้ความสะดวกแก่ผู้เช่าตามสมควร แต่กลับไม่ให้ความสะดวกในการที่จำเลยให้เช่าช่วงนั้น เมื่อตามสัญญาเช่าไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังที่จำเลยกล่าวอ้างทั้งตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของจำเลยก็มิได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดสัญญาข้อใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา หนังสือบอกเลิกสัญญาของจำเลยเป็นเพียงคำเสนอขอเลิกสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ตกลงเลิกสัญญาตามคำเสนอของจำเลย สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาได้เลิกกันไม่
แม้ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียก็ตาม แต่ตามสัญญาเช่าข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ชำระ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์ก็ต้องชำระแทนและเรียกเอาจากจำเลยได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าปรับฐานชำระค่าเช่าล่าช้านั้นมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) แต่ถือเป็นคดีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าจึงต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
แม้ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียก็ตาม แต่ตามสัญญาเช่าข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ชำระ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์ก็ต้องชำระแทนและเรียกเอาจากจำเลยได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าปรับฐานชำระค่าเช่าล่าช้านั้นมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) แต่ถือเป็นคดีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าจึงต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผย แม้เริ่มจากการเข้าใจผิดเรื่องแนวเขต
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2544 โดยโจทก์มิได้ขออนุญาตจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านการใช้ทางของโจทก์ แม้ว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2537 โจทก์จะใช้โดยเข้าใจผิดว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์เอง ก็ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมาแล้ว มิใช่โจทก์เพิ่งใช้เป็นทางผ่านเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ในปี 2537 เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาจนครบสิบปีก็ถือว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผย แม้จะเริ่มต้นจากการเข้าใจผิดเรื่องเขตที่ดิน
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2544 โดยมิได้ขออนุญาตจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่คัดค้าน แม้การใช้ทางพิพาทของโจทก์ตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2537 จะใช้โดยเข้าใจผิดว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์เอง ก็ถือว่าโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมาแล้ว หาใช่โจทก์เพิ่งใช้เป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ในปี 2537 ไม่ เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาจนครบสิบปีก็ถือว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้ได้ภาระจำยอมแล้ว และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผย ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการมรดกร่วมได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของทายาท
แม้การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และมาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุดและให้สมดังเจตนาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิเคราะห์ดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อฟังว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งได้แล้ว
นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน
นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ: สัญญาเช่าสิ้นสุดเพราะผิดสัญญาผู้เช่า ไม่สามารถริบเงินค่าเช่าที่จ่ายล่วงหน้าได้
ตามหนังสือสัญญาเช่ามีหมายเหตุท้ายหนังสือสัญญาเช่าที่ระบุว่า "วันที่ 9 มีนาคม 2544 วางมัดจำ 200,000 บาท" โดยจำเลยผู้ให้เช่าได้ลงลายมือชื่อไว้ท้ายหมายเหตุด้วยและในวันดังกล่าวจำเลยก็ได้ออกใบรับเงินระบุว่า วางมัดจำค่าเช่าดำเนินกิจการ 200,000 บาท โดยมิได้มีข้อความตอนใดที่จะทำให้เห็นว่าเป็นเงินกินเปล่าที่จำเลยไม่ต้องคืนแก่โจทก์ผู้เช่าก็ตาม แม้เงินจำนวน 200,000 บาท จะฟังว่าเป็นเงินมัดจำค่าเช่าดำเนินการก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือเป็นพยานหลักฐานว่า สัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว เพราะในวันดังกล่าวได้มีการทำสัญญาเช่ากันขึ้นด้วย จึงไม่ต้องมีสัญญามัดจำอีกเงินจำนวน 200,000 บาท ที่โจทก์วางให้แก่จำเลยดังกล่าวจึงต้องถือเป็นค่าเช่าที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 377 และมาตรา 378 ที่จำเลยจะริบได้ ทั้งไม่มีข้อสัญญาให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไว้ล่วงหน้านี้ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีพนัน แม้เวลาในฟ้องไม่ตรงกับเวลาที่เกิดเหตุ และการพิจารณาโทษจำเลย
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกเล่นการพนันสลากกินรวบพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และถือเอาเลขท้าย 2 ตัว เลขท้าย 3 ตัว ของรางวัลที่ 1 กับเลขท้าย 2 ตัว เลขท้าย 3 ตัว ของสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2550 เป็นเลขถูกรางวัล เหตุเกิดที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ได้ระบุถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 แล้วฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ที่ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏตามคำร้องขอผัดฟ้องครั้งที่ 1 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 ว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 อันแสดงว่าจำเลยน่าจะกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ไม่ใช่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเพียงการพลั้งเผลอในการเรียงและพิมพ์ฟ้องผิดพลาดไปเท่านั้น กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ก่อนที่จำเลยจะกระทำความผิด อันจะทำให้เป็นฟ้องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงไม่ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพมาโดยตลอด ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็อุทธรณ์เพียงขอให้รอการลงโทษ แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของตน การที่โจทก์บรรยายฟ้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดผิดพลาดไปดังกล่าวจึงมิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้