พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องคดีภาษี: แม้มีเหตุผลทางปกครอง การฟ้องต้องเป็นไปตามกำหนด 30 วัน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมินและคำชี้ขาดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามหนังสือแจ้งรายการประเมินและคำชี้ขาดซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบเนื่องจากไม่มีเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิพาทและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 39 โจทก์ก็ต้องนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2547 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551 จึงพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8) และใบแจ้งคำชี้ขาด (ภ.ร.ด.11) ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินหากโจทก์ชนะคดีย่อมเป็นผลให้โจทก์ไม่มีความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และมีทุนทรัพย์ตามจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินนั้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8) และใบแจ้งคำชี้ขาด (ภ.ร.ด.11) ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินหากโจทก์ชนะคดีย่อมเป็นผลให้โจทก์ไม่มีความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และมีทุนทรัพย์ตามจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายซ้ำซ้อน ทำให้การประเมินและการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ ศาลสั่งคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายซึ่งเป็นป้ายเดียวกันและปีภาษีเดียวกัน โดยยังไม่มีการยกเลิกการประเมินครั้งแรก ดังนั้น การประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในครั้งหลังจึงเป็นการประเมินซ้ำซ้อนให้โจทก์ต้องเสียภาษีสองครั้งในป้ายรายการเดียวกัน จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ครั้งที่สองที่ให้ยืนตามการประเมินให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้ายราคาน้ำมันไม่ใช่ป้ายเพื่อการค้าตามพรบ.ภาษีป้าย ศาลสั่งคืนเงินค่าภาษีที่ประเมินเกิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีสถานีบริการน้ำมันประจำปี 2545 ถึงปี 2548 ครั้งแรก ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 จำนวน 4 ฉบับ และยังไม่มีการยกเลิกการประเมิน เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อนายกเทศมนตรีจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 30 ได้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายครั้งแรกในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันเฉพาะในส่วนที่มีเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินให้เสียภาษีป้ายปีละ 366 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ที่วินิจฉัยให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และให้เรียกเก็บภาษีป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และป้ายราคาน้ำมันเพิ่มเติมจากโจทก์ และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายครั้งที่สอง ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ให้เรียกเก็บภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 จำนวน 4 ฉบับ ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าโจทก์ยังมีความรับผิดในหนี้ค่าภาษีตามการประเมินในส่วนที่ไม่มีการยกเว้นตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์และไม่มีเหตุที่จะทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ต้องเสียไป โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อศาลตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 33
ป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันเป็นป้ายที่แสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากรข้อ 7 กับประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 200 พ.ศ.2535 เรื่อง ให้ผู้จำหน่ายปลีกแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าควบคุม ลงวันที่ 10 กันยายน 2535 และฉบับที่ 249 พ.ศ.2541 ลงวันที่ 23 เมษายน 2541 จึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ แม้ในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันจะอยู่ใต้ส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และอยู่ในโครงสร้างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อป้ายในส่วนนี้ไม่ใช่ป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 จึงไม่อาจนำไปคำนวณรวมกับป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" เพื่อประเมินให้เสียภาษีป้ายได้อีก การประเมินให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและเปลี่ยนแปลงขนาดป้ายจึงไม่ชอบ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนของเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าภาษีตามการประเมินในส่วนนี้ แต่คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้คืนเงินในส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่กลับนำเงินในส่วนนี้ไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินในกรณีที่โจทก์ได้ชำระภาษีตามการประเมินภาษีในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันให้เสียภาษีป้ายรวม 4 ปีภาษี พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
ป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันเป็นป้ายที่แสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากรข้อ 7 กับประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 200 พ.ศ.2535 เรื่อง ให้ผู้จำหน่ายปลีกแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าควบคุม ลงวันที่ 10 กันยายน 2535 และฉบับที่ 249 พ.ศ.2541 ลงวันที่ 23 เมษายน 2541 จึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ แม้ในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันจะอยู่ใต้ส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และอยู่ในโครงสร้างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อป้ายในส่วนนี้ไม่ใช่ป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 จึงไม่อาจนำไปคำนวณรวมกับป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" เพื่อประเมินให้เสียภาษีป้ายได้อีก การประเมินให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและเปลี่ยนแปลงขนาดป้ายจึงไม่ชอบ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนของเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าภาษีตามการประเมินในส่วนนี้ แต่คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้คืนเงินในส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่กลับนำเงินในส่วนนี้ไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินในกรณีที่โจทก์ได้ชำระภาษีตามการประเมินภาษีในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันให้เสียภาษีป้ายรวม 4 ปีภาษี พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้าย: ป้ายราคาน้ำมันไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ เนื่องจากเป็นป้ายแสดงราคาสินค้าควบคุม
เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายครั้งแรก แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกเว้นภาษีในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีจากมิเตอร์หัวจ่าย แต่ให้เรียกเก็บภาษีจากป้ายที่มีข้อความว่า ESSO และป้ายราคาน้ำมัน เป็นป้ายประเภทที่ 2 และให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มเติม โดยจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายครั้งที่ 2 ให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกการประเมินครั้งแรก ก็ต้องถือว่าโจทก์ยังมีความรับผิดในหนี้ค่าภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ไม่มีเหตุที่จะทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เสียไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้
ป้ายพิพาทเป็นป้ายแสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 54) และประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด (ฉบับที่ 200 และฉบับที่ 249) ป้ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย
แม้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกเว้นภาษีป้ายในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีจากมิเตอร์หัวจ่าย แต่ไม่คืนเงินในส่วนนี้ให้โจทก์ กลับนำไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้โจทก์ 1,464 บาท แต่กรณีที่โจทก์ขอให้คืนเงิน 35,016 บาท ที่โจทก์ได้ชำระไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง ให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 35,016 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินไปแล้วก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง กรณีจึงไม่อาจคืนเงินให้แก่โจทก์ได้
ป้ายพิพาทเป็นป้ายแสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 54) และประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด (ฉบับที่ 200 และฉบับที่ 249) ป้ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย
แม้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกเว้นภาษีป้ายในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีจากมิเตอร์หัวจ่าย แต่ไม่คืนเงินในส่วนนี้ให้โจทก์ กลับนำไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้โจทก์ 1,464 บาท แต่กรณีที่โจทก์ขอให้คืนเงิน 35,016 บาท ที่โจทก์ได้ชำระไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง ให้เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 35,016 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินไปแล้วก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินครั้งที่สอง กรณีจึงไม่อาจคืนเงินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขนส่งระหว่างประเทศ: การจำกัดสิทธิในการหักภาษีซื้อ
การประกอบกิจการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น หมายถึงกิจการขนส่งที่บางส่วนได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 วรรคสองและวรรคสาม กิจการของโจทก์ในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้าจากในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักร และในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้าจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ถือว่าเป็นกิจการที่บางส่วนได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรจึงอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำหรับกิจการของโจทก์ในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้าจากนอกราชอาณาจักรแห่งหนึ่งไปยังนอกราชอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งมีลักษณะเป็นการรับขนสินค้านอกราชอาณาจักรทั้งสิ้น ถือว่าเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนใดได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับกิจการในส่วนนี้ย่อมไม่อาจนำมาหักในการคำนวณภาษีได้ ดังนั้น แม้ในเดือนภาษีพิพาทโจทก์ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าภาษีซื้อดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการขนส่งสินค้าจากในราชอาณาจักร ออกไปนอกราชอาณาจักร หรือจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่อาจนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาศุลกากร: ค่าสิทธิเครื่องหมายการค้าไม่รวมในราคาซื้อขาย หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์สั่งซื้อสินค้าลูกกอล์ฟจากบริษัท บ. โดยผ่านทางตัวแทนซื้อคือบริษัท น. โจทก์กับบริษัท น. และบริษัท ก. มีความสัมพันธ์ในการถือหุ้น โดยบริษัท น. เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์และบริษัท ก. แต่บริษัทดังกล่าวข้างต้นไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัท บ. ผู้ขายสินค้าลูกกอล์ฟให้แก่โจทก์ ดังนั้นการจ่ายค่าสิทธิของโจทก์ให้แก่บริษัท ก. จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าลูกกอล์ฟของบริษัท บ. มูลค่าที่แท้จริงของสินค้าลูกกอล์ฟที่โจทก์นำเข้าจากบริษัท บ. เป็นราคาศุลกากรหรือราคาแห่งของสำหรับสินค้าลูกกอล์ฟนั้น ณ จุดที่เกิดความรับผิดในการเสียอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลากากรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขนส่งระหว่างประเทศและการหักภาษีซื้อที่เกี่ยวข้อง
กิจการขนส่งระหว่างประเทศที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึงกิจการขนส่งที่บางส่วนได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 แต่กิจการของโจทก์ในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้านอกราชอาณาจักรจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง มีลักษณะเป็นการรับขนสินค้านอกราชอาณาจักรทั้งสิ้น ไม่มีส่วนใดได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ดังนั้น จึงไม่อาจนำภาษีซื้อที่เกี่ยวกับกิจการในส่วนนี้มาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการตามมาตรา 82/5 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีซื้อต้องห้าม: การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ไม่มีการทำธุรกรรมในไทย ไม่อาจนำมาหักลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กิจการขนส่งระหว่างประเทศที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึงกิจการขนส่งที่บางส่วนได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 แต่กิจการของโจทก์ในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้านอกราชอาณาจักรจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง มีลักษณะเป็นการรับขนสินค้านอกราชอาณาจักรทั้งสิ้น ไม่มีส่วนใดได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ดังนั้น จึงไม่อาจนำภาษีซื้อที่เกี่ยวกับกิจการในส่วนนี้มาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการตามมาตรา 82/5 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษีโรงเรือนเกินห้าหมื่นบาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาโดยนำสถานีบริการน้ำมันพิพาทไปเทียบเคียงกับสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ช. และนำดัชนีราคาผู้บริโภคมาปรับอัตราค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนพิพาทเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดค่ารายปีของศาลภาษีอากรกลางถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทจำนวน 41,619.17 บาท ซึ่งไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินสนามกอล์ฟ: พิจารณาความแตกต่างระหว่างสิ่งปลูกสร้างและที่ดินต่อเนื่อง
แม้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของจำเลยที่ 1 จะมีมติยืนตามการประเมิน โดยวินิจฉัยว่า สนามกอล์ฟพิพาทเป็นโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นแตกต่างจากการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่ประเมินว่า สนามกอล์ฟพิพาทเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น คือ อาคารสโมสรและอาคารบริการต่างๆ ก็ตาม แต่ก็เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันว่าสนามกอล์ฟเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 6 (1) หรือไม่ ประกอบกับคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของจำเลยที่ 1 มีมติยืนตามการประเมิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในรายการอื่น คณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจกระทำได้
ปัญหาว่าพื้นที่บริเวณที่ดินสนามกอล์ฟจะเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างหรือไม่นั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 จะมิได้กำหนดความหมายของสิ่งปลูกสร้างได้โดยเฉพาะ แต่ลักษณะสภาพของสะพาน ซุ้มต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่โจทก์ก่อสร้างในบริเวณสนามกอล์ฟล้วนก่อสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์แก่บุคคลต่างๆ ในพื้นที่สนามกอล์ฟทั้งสิ้นถือได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง ส่วนพื้นที่สนามกอล์ฟที่เหลือนอกเหนือจากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า บ่อน้ำ สระน้ำ ทะเลสาบ บ่อทราย พื้นที่ปลูกต้นไม้หรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ ได้ความจากพยานหลักฐานโจทก์เพียงว่าเป็นการปรับปรุงพื้นที่ดินจากสภาพธรรมชาติเดิมขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้สนามกอล์ฟเท่านั้น จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงในการปรับปรุงพื้นดินให้เป็นสนามกอล์ฟของโจทก์ว่า มีการจัดทำโครงสร้างอย่างใดที่พอจะถือได้ว่ามีสภาพที่เป็นสิ่งปลูกสร้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าลักษณะพื้นดินสนามกอล์ฟของโจทก์นอกเหนือจากที่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างด้วย คงฟังได้เพียงว่าเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างตามความหมายใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 6 วรรคสาม
ปัญหาว่าพื้นที่บริเวณที่ดินสนามกอล์ฟจะเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างหรือไม่นั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 จะมิได้กำหนดความหมายของสิ่งปลูกสร้างได้โดยเฉพาะ แต่ลักษณะสภาพของสะพาน ซุ้มต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่โจทก์ก่อสร้างในบริเวณสนามกอล์ฟล้วนก่อสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์แก่บุคคลต่างๆ ในพื้นที่สนามกอล์ฟทั้งสิ้นถือได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง ส่วนพื้นที่สนามกอล์ฟที่เหลือนอกเหนือจากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า บ่อน้ำ สระน้ำ ทะเลสาบ บ่อทราย พื้นที่ปลูกต้นไม้หรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ ได้ความจากพยานหลักฐานโจทก์เพียงว่าเป็นการปรับปรุงพื้นที่ดินจากสภาพธรรมชาติเดิมขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้สนามกอล์ฟเท่านั้น จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงในการปรับปรุงพื้นดินให้เป็นสนามกอล์ฟของโจทก์ว่า มีการจัดทำโครงสร้างอย่างใดที่พอจะถือได้ว่ามีสภาพที่เป็นสิ่งปลูกสร้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าลักษณะพื้นดินสนามกอล์ฟของโจทก์นอกเหนือจากที่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างด้วย คงฟังได้เพียงว่าเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างตามความหมายใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 6 วรรคสาม