คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 11 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านผู้พิพากษาต้องแสดงเหตุผลชัดเจน หากไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน
ตามคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านขอให้เปลี่ยนตัวผู้พิพากษาท่านอื่นแทน ณ. ไม่ได้แสดงรายละเอียดโดยแจ้งชัดพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่าที่ ณ. นั่งพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 1163/2561 ซึ่งแม้จะเป็นคู่ความเดียวกันด้วยนั้น มีพฤติกรรมอย่างไรที่ ณ. อาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีนี้เสียความยุติธรรมไปอย่างไรด้วย แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในคำร้องว่าขออนุญาตนำสืบในรายละเอียดชั้นไต่สวนคำร้องต่อไป แต่เมื่อคำร้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดในเบื้องต้นว่ามีเหตุที่จะคัดค้านผู้พิพากษาตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) และมาตรา 12 ได้บัญญัติไว้อย่างไรเสียแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานว่ามีข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำร้องหรือไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอนำสืบรายละเอียดในชั้นไต่สวนคำร้องนั้นก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ได้อ้างไว้ในคำร้อง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏเหตุตามกฎหมายที่จะคัดค้านผู้พิพากษาได้ ในชั้นนี้ให้ยกคำร้องนั้นเป็นการชอบแล้ว และคำสั่งเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีขององค์คณะศาลที่ขัดแย้งตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่บ. ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบด้วยมาตรา243(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาไม่เป็นไปตามกฎหมาย ความชอบธรรมในการพิจารณาคดี
การที่ บ.ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีก เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกและการพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกัน
การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้าของมรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้าของมรดกส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้นเป็นการร้องสอดเพราะจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)และคำร้องขอดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัวประกอบกับผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไรเพียงแต่ขอให้ยกฟ้องจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอดอีก คดีก่อนโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกคดีนี้พิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคดีทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกันแต่มิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของร่วม แม้ไม่มีสถานะทางกฎหมายเป็นสามีภริยา และขอบเขตการฎีกาซ้ำ
เมื่อศาลพิพากษาคดีครั้งแรก ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิพากษาใหม่ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คณะเดิมย่อมทำคำพิพากษาใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับให้เปลี่ยนผู้พิพากษา
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีเดียวกันนี้ไว้ครั้งหนึ่งว่า แม้โจทก์จำเลยจะมีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์ที่โจทก์จำเลยหาได้ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์ได้ การที่ศาลจะวินิจฉัยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันในฐานะเจ้าของร่วมหาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในเรื่องนี้ย่อมเป็นอันยุติ และศาลฎีกาได้พิพากษาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องทรัพย์ที่โจทก์ขอแบ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไว้แล้วให้พิพากษาใหม่ โจทก์จะฎีกาได้เฉพาะข้อที่ศาลฎีกาให้พิพากษาใหม่เท่านั้น จะรื้อฟื้นข้อที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้หรือข้ออื่นที่มิได้พิพากษาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกไม่ได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของร่วม แม้สถานะสมรสไม่ชัดเจน และขอบเขตการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
เมื่อพิพากษาคดีครั้งแรก ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิพากษาใหม่ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คณะเดิมย่อมทำคำพิพากษาใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับให้เปลี่ยนผู้พิพากษา
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยคดีเดียวกันนี้ไว้ครั้งหนึ่งว่า แม้โจทก์จำเลยจะมีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์ที่โจทก์จำเลยหาได้ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์ได้ การที่ศาลจะวินิจฉัยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันในฐานะเจ้าของร่วม หาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในเรื่องนี้ย่อมเป็นอันยุติ และศาลฎีกาได้พิพากษาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องทรัพย์ที่โจทก์ขอแบ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไว้ แล้วให้พิพากษาใหม่ โจทก์จะฎีกาได้เฉพาะข้อที่ศาลฎีกาให้พิพากษาใหม่เท่านั้น จะรื้อฟื้นข้อที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้หรือข้ออื่นที่มิได้พิพากษาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกไม่ได้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.