พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9674/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ หากระบุน้ำหนักสุทธิแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีแมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 2 ถุง น้ำหนัก 0.52 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการกล่าวถึงน้ำหนักสุทธิ ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดอันหนึ่งอันใดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ว่า "ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม..." แล้ว โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์เท่าใดอีกได้ คำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่ถึงห้าปี ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9646/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์ฟ้องฐานชิงทรัพย์
แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดฐานรับของโจรก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าว ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติบังคับไว้ว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ประกอบกับจำเลยที่ 2 นำสืบว่า ด. ให้จำเลยที่ 2 นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ จำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางโดยเปิดเผย ต่อมาจำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางโดยเปิดเผย ต่อมาจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปดื่มสุราที่บ้านจำเลยที่ 1 จนไม่สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้ จึงฝากไว้ที่บ้านจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้หลงต่อสู้ ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานชิงทรัพย์โดยไม่ได้บรรยายฟ้องและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานรับของโจรมาด้วยก็ตามศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาในความผิดฐานรับของโจรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8916/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในฟ้อง และการบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อน
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 15 วัน และปรับ 1,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 1 ปี ข้อหาทำร้ายร่างกาย ภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยก็ได้ให้การว่าข้าพเจ้าไม่ต้องการทนายและขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกและศาลรอการลงโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วยนั่นเอง จึงนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเรื่องสถานภาพสมรสเพื่อจำนองทรัพย์สินร่วม การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
จำเลยซื้ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดในระหว่างสมรสกับโจทก์ อาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ การที่จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นโสดไม่เคยมีคู่สมรสไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137
เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว
เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานขายยาควบคุมพิเศษ การยึดยาของกลางไม่ถือเป็นฟ้องขัดแย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันประเภทยาควบคุมพิเศษโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.6 ว่า จำเลยขายยาไวอากร้า ซึ่งเป็นยาจำพวกขยายหลอดเลือด ซึ่งมีส่วนผสมซิลเดนาฟิล จัดเป็นยาแผนปัจจุบันประเภทควบคุมพิเศษโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดที่โจทก์กล่าวหาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง, 101 พอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาแล้ว แม้ฟ้องโจทก์ในข้อ 2 บรรยายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดยาจำนวนตามฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.6 จากจำเลยเป็นของกลาง ก็ไม่เป็นการบรรยายฟ้องที่ขัดกัน เพราะฟ้องข้อดังกล่าวมิใช่องค์ประกอบของความผิดเป็นเพียงบรรยายถึงการจับกุมจำเลยและการยึดยาของกลางเท่านั้น อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 บัญญัติว่า ... "ขาย" หมายความว่า "ขายปลีก... และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย" การที่ยึดยาของกลางจากจำเลยได้จำนวนเท่ากับที่จำเลยขาย จึงหาทำให้ฟ้องขัดกันไม่ เพราะไม่ว่าจำเลยจะขายหรือมีไว้เพื่อขายยาของกลาง ก็เป็นความผิดฐานขายยาของกลางตามฟ้อง ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8414/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลจำนองที่ดินเพื่อกู้เงิน - ความรับผิดทางละเมิด - หลักการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงประเด็นเดียวเรื่องอายุความ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ แม้ว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์คัดค้านประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ ไว้เนื่องจากประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ นั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งเจ็ดได้สืบพยานมาจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ที่ยังไม่ได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่นๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้คดีเสร็จไปเสียทีเดียว โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามลำดับชั้นศาลก็ได้
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการ เป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นหลักเกณฑ์คนละกรณีกัน แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของโจทก์ที่ 1 จะมีคำสั่งลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและต่อมาอธิบดีกรมการปกครองจึงมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงหมาดไทย สรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบ วันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
ความรับผิดของบุคคลในทางอาญาต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอาญา ส่วนความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนั้น แม้พนักงานอัยการจังหวัดหนองคายจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วก็ตามโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการ เป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นหลักเกณฑ์คนละกรณีกัน แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของโจทก์ที่ 1 จะมีคำสั่งลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและต่อมาอธิบดีกรมการปกครองจึงมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงหมาดไทย สรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบ วันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
ความรับผิดของบุคคลในทางอาญาต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอาญา ส่วนความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนั้น แม้พนักงานอัยการจังหวัดหนองคายจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วก็ตามโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8414/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการในการอนุมัติเงินกู้โดยมิชอบ และการสนับสนุนการทำสัญญาปลอมแปลงเอกสารเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้อื่น
ในการพิพากษาคดี ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 6 และที่ 7 ไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ และวินิจฉัยประเด็นพิพาทประการต่อไปว่า คดีของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยทั้งเจ็ดขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นพิพากษาข้ออื่นๆ อีก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า คดีของโจทก์ทั้งสองไม่ขาดอายุความ และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดฐานละเมิดแก่โจทก์ทั้งสองตามฟ้อง ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ แม้ว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์คัดค้านประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ ไว้ เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งเจ็ดได้สืบพยานมาจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ที่ยังมิได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่นๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้คดีเสร็จไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามลำดับชั้นศาลก็ได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของกระทรวงมหาดไทยโจทก์ที่ 1 มีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2533 แต่คำสั่งดังกล่าวสรุปการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการทุจริต หากแต่เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องเท่านั้น โจทก์ที่ 2 จึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง แต่ผลการสอบสวนก็ยังไม่ปรากฏชัดแจ้ง ต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2538 อธิบดีกรมการปกครองมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยสรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบวันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 จึงต้องถือว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตังผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 11 ตุลาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์ทั้งสองจึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการเป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นคนละกรณีกัน การบกพร่องต่อหน้าที่ราชการซึ่งต้องรับผิดทางวินัยอาจไม่เข้าเกณฑ์ความรับผิดทางแพ่งฐานละเมิดก็ได้ เมื่อผลของคำสั่งลงโทษทางวินัยยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบทางแพ่งหรือไม่ โจทก์ที่ 2 ชอบที่จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งอีกได้ มิใช่เป็นการกระทำโดยไม่ชอบหรือมีเจตนากระทำเพื่อขยายอายุความฟ้องคดีละเมิด
บทบัญญัติของกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางอาญาและในทางแพ่ง เป็นคนละส่วนแยกออกต่างหากจากกันดังนั้น แม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสองโดยเห็นว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความและได้วินิจฉัยด้วยว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 5 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำไว้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5แพ้คดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 5 หวนกลับมาหยิบยกประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำขึ้นกล่าวอ้างอีก จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 บรรยายไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นข้าราชการด้วยกัน และจำเลยที่ 6 กับที่ 7 ซึ่งเป็นเอกชน จงใจปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย และขอให้บังคับจำเลยทุกคนชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง โดยระบุรายละเอียดด้วยว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่ราชการอะไร และจำเลยแต่ละคนมีส่วนปฏิบัติหน้าที่ในโครงการแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกนาปี ในฤดูการผลิตปี 2528/2529 และ 2529/2530 ด้วย ความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักทรัพย์ที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 นำมาเป็นหลักประกันให้ดี ไม่เรียกหลักทรัพย์ประกันเงินกู้ให้เพียงพอและไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยที่ 1 จะเข้าใจข้อหา และสามารถให้การต่อสู้คดีของโจทก์ทั้งสองได้ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
สัญญากู้เป็นเพียงเครื่องมือที่จำเลยทั้งเจ็ดใช้ในการฉ้อฉลกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มิได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน หากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่ชอบที่จะนำข้อตกลงในสัญญากู้มาอ้างว่าโจทก์ทั้งสองอาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนท้ายได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนต้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของกระทรวงมหาดไทยโจทก์ที่ 1 มีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2533 แต่คำสั่งดังกล่าวสรุปการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการทุจริต หากแต่เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องเท่านั้น โจทก์ที่ 2 จึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง แต่ผลการสอบสวนก็ยังไม่ปรากฏชัดแจ้ง ต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2538 อธิบดีกรมการปกครองมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยสรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบวันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 จึงต้องถือว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตังผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 11 ตุลาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์ทั้งสองจึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการเป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นคนละกรณีกัน การบกพร่องต่อหน้าที่ราชการซึ่งต้องรับผิดทางวินัยอาจไม่เข้าเกณฑ์ความรับผิดทางแพ่งฐานละเมิดก็ได้ เมื่อผลของคำสั่งลงโทษทางวินัยยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบทางแพ่งหรือไม่ โจทก์ที่ 2 ชอบที่จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งอีกได้ มิใช่เป็นการกระทำโดยไม่ชอบหรือมีเจตนากระทำเพื่อขยายอายุความฟ้องคดีละเมิด
บทบัญญัติของกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางอาญาและในทางแพ่ง เป็นคนละส่วนแยกออกต่างหากจากกันดังนั้น แม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสองโดยเห็นว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความและได้วินิจฉัยด้วยว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 5 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำไว้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5แพ้คดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 5 หวนกลับมาหยิบยกประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำขึ้นกล่าวอ้างอีก จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 บรรยายไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นข้าราชการด้วยกัน และจำเลยที่ 6 กับที่ 7 ซึ่งเป็นเอกชน จงใจปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย และขอให้บังคับจำเลยทุกคนชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง โดยระบุรายละเอียดด้วยว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่ราชการอะไร และจำเลยแต่ละคนมีส่วนปฏิบัติหน้าที่ในโครงการแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกนาปี ในฤดูการผลิตปี 2528/2529 และ 2529/2530 ด้วย ความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักทรัพย์ที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 นำมาเป็นหลักประกันให้ดี ไม่เรียกหลักทรัพย์ประกันเงินกู้ให้เพียงพอและไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยที่ 1 จะเข้าใจข้อหา และสามารถให้การต่อสู้คดีของโจทก์ทั้งสองได้ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
สัญญากู้เป็นเพียงเครื่องมือที่จำเลยทั้งเจ็ดใช้ในการฉ้อฉลกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มิได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน หากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่ชอบที่จะนำข้อตกลงในสัญญากู้มาอ้างว่าโจทก์ทั้งสองอาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนท้ายได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้เห็นเป็นใจกับความผิดทางอาญาของผู้เช่าซื้อ และสิทธิในการเรียกร้องทรัพย์สินคืนจากการเช่าซื้อ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 โดยในคำร้องระบุว่าจำเลยกับพวกได้นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ล่อซื้อซึ่งต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางดังนี้ แสดงว่าผู้ร้องต้องรู้มาก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว แต่ผู้ร้องก็เพิกเฉยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางในคดีนี้ ทั้งยังคงรับชำระเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อต่อไปอีก ประกอบกับหนังสือสัญญาเช่าซื้อข้อ 3.3 ระบุว่า ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญาในกรณีทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึดหรือถูกริบ โดยความผิดของผู้เช่าซื้อเองและในกรณีมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบชดใช้ราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อพร้อมด้วยค่าเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ผู้ร้องจึงเพิกเฉยไม่ติดตามเอารถจักรยานยนต์ของกลางที่ให้เช่าซื้อคืน ทั้งๆ ที่ผู้ร้องรู้อยู่แล้วว่ามีการนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในทางผิดกฎหมายอันเป็นการผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่ผู้ร้องมาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางเห็นได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินกระทบโทษเดิม แม้คดีถึงที่สุดแล้ว หากยังไม่เริ่มบังคับคดี ศาลต้องกำหนดโทษใหม่
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีที่ความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ฉลอง 80 พรรษา ทำให้งดเพิ่มโทษจำคุก แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าวกรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษศาลฎีกาจึงกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่