พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม - กรรมการลูกจ้าง - อุทธรณ์นอกประเด็น - ห้ามอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเท่าใดกำหนดจ่ายค่าจ้างเมื่อใดสหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเมื่อใดรวมทั้งวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงานซึ่งไม่เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวและรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมพร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโดยไม่จำต้องบรรยายว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนกี่คนเป็นบุคคลใดบ้างและตำแหน่งกรรมการลูกจ้างที่ว่างลง2คนนั้นคือใครตำแหน่งว่างเพราะเหตุใดสหภาพแรงงานมีจำนวนสมาชิกที่เป็นลูกจ้างจำเลยจำนวนเท่าใดมากพอเท่ากับที่กฎหมายกำหนดไว้ในการที่จะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างหรือไม่เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างเพราะสหภาพแรงงานผู้แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีสมาชิกไม่ถึงจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างไม่ชอบเพราะสมาชิกที่สมัครก่อนถึงวันประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานยังไม่มีฐานะเป็นสมาชิกและไม่มีสิทธิแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงานกรรมการสหภาพแรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งจึงเป็นกรรมการโดยไม่ชอบไม่มีสิทธิแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างโจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องยกเหตุข้อกล่าวหาใหม่ที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลแรงงานถือเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเท่าใดกำหนดจ่ายค่าจ้างเมื่อใด สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเมื่อใด รวมทั้งวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงาน ซึ่งไม่เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวและรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม พร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายว่า กรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนกี่คน เป็นบุคคลใดบ้าง และตำแหน่งกรรมการลูกจ้างที่ว่างลง 2 คน นั้นคือใคร ตำแหน่งว่างเพราะเหตุใด สหภาพแรงงานมีจำนวนสมาชิกที่เป็นลูกจ้างจำเลยจำนวนเท่าใด มากพอเท่ากับที่กฎหมายกำหนดไว้ในการที่จะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างเพราะสหภาพแรงงานผู้แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีสมาชิกไม่ถึงจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้ แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างไม่ชอบ เพราะสมาชิกที่สมัครก่อนถึงวันประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานยังไม่มีฐานะเป็นสมาชิกและไม่มีสิทธิแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน กรรมการสหภาพแรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งจึงเป็นกรรมการโดยไม่ชอบ ไม่มีสิทธิแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่าง โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างเพราะสหภาพแรงงานผู้แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีสมาชิกไม่ถึงจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้ แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างไม่ชอบ เพราะสมาชิกที่สมัครก่อนถึงวันประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานยังไม่มีฐานะเป็นสมาชิกและไม่มีสิทธิแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน กรรมการสหภาพแรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งจึงเป็นกรรมการโดยไม่ชอบ ไม่มีสิทธิแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่าง โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ ศาลต้องพิจารณาความผิดฐานทุจริตอย่างรอบคอบ
การที่ศาลจะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา52ได้ต้องปรากฏว่ามีเหตุถึงขั้นให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างคือกระทำผิดร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ด้วย ผู้ร้องอ้าง เหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างว่าผู้คัดค้านลักน้ำมันเป็นการ ทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ระเบียบข้อบังคับการทำงานและ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47(1)ซึ่ง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแสดงว่าผู้ร้อง ขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านเฉพาะกรณีกระทำผิด ร้ายแรง ซึ่งเลิกจ้างแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้นเมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะ เลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโยกย้ายก่อนแจ้งข้อเรียกร้องและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อลูกจ้างผู้คัดค้านมิได้กล่าวไว้แจ้งชัดในอุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยถึงการเตือนของนายจ้างผู้ร้องตามข้อเท็จจริงและเอกสารที่อ้าง เป็นการผิดต่อกฎหมายอย่างไร และมีผลต่อคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องมีคำสั่งโยกย้ายผู้คัดค้านไปทำงานในตำแหน่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่สหภาพแรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์จะยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2537 กรณีจึงเป็นการโยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้องไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 31 วรรคแรก การที่ผู้ร้องมีหนังสือเตือนผู้คัดค้านในวันที่ 14 กันยายน 2537ให้ไปทำงานในตำแหน่งใหม่ซึ่งแม้จะอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อพิพาท ก็เป็นการเตือนถึงคำสั่งที่โยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้อง จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าการที่ผู้ร้องโยกย้ายหน้าที่การงานของผู้คัดค้านเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน ต้องห้ามเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 31 วรรคแรก และการที่ผู้คัดค้านไม่ไปทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ใหม่ ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้เป็นการไม่ชอบนั้น อุทธรณ์ข้อนี้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ร้องปรับผู้คัดค้านจากลูกจ้างรายวันเป็นลูกจ้างรายเดือนซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้คัดค้าน ทั้งตำแหน่งหน้าที่ใหม่เป็นการจัดทำเอกสาร ตรวจเช็ครายชื่อและทำรายงาน ผู้คัดค้านจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ย่อมจะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่ยากนัก การที่ผู้คัดค้านไม่ไปปฏิบัติงานตามตำแหน่งใหม่ ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของผู้ร้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องมีคำสั่งโยกย้ายผู้คัดค้านไปทำงานในตำแหน่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่สหภาพแรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์จะยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2537 กรณีจึงเป็นการโยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้องไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 31 วรรคแรก การที่ผู้ร้องมีหนังสือเตือนผู้คัดค้านในวันที่ 14 กันยายน 2537ให้ไปทำงานในตำแหน่งใหม่ซึ่งแม้จะอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อพิพาท ก็เป็นการเตือนถึงคำสั่งที่โยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้อง จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าการที่ผู้ร้องโยกย้ายหน้าที่การงานของผู้คัดค้านเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน ต้องห้ามเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 31 วรรคแรก และการที่ผู้คัดค้านไม่ไปทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ใหม่ ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้เป็นการไม่ชอบนั้น อุทธรณ์ข้อนี้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ร้องปรับผู้คัดค้านจากลูกจ้างรายวันเป็นลูกจ้างรายเดือนซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้คัดค้าน ทั้งตำแหน่งหน้าที่ใหม่เป็นการจัดทำเอกสาร ตรวจเช็ครายชื่อและทำรายงาน ผู้คัดค้านจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ย่อมจะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่ยากนัก การที่ผู้คัดค้านไม่ไปปฏิบัติงานตามตำแหน่งใหม่ ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของผู้ร้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การทะเลาะวิวาทนอกเวลางาน ไม่ถึงเหตุเลิกจ้าง
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทะเลาะวิวาทตบตีกับพนักงานด้วยกันตรงประตูทางเข้าออกโรงงานนอกบริเวณโรงงานเมื่อเวลา 17.02 นาฬิกาซึ่งเป็นเวลานอกเหนือจากเวลาทำงานตามปกติ ดังนี้ แม้การกระทำของผู้คัดค้านจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็ตาม แต่พฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบข้อบังคับการทำงาน การเลิกจ้างลูกจ้าง การทะเลาะวิวาทนอกเวลางาน
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทะเลาะวิวาทตบตีกับพนักงานด้วยกันตรงประตูทางเข้าออกโรงงานนอกบริเวณโรงงานเมื่อเวลา 17.02 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลานอกเหนือจากเวลาทำงานตามปกติ ดังนี้ แม้การกระทำของผู้คัดค้านจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็ตามแต่พฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประท้วงหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้อง ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และผิดสัญญาจ้าง
ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างการที่นายจ้างยังไม่ได้ประกาศจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้าง ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการที่จะประท้วงด้วยการหยุดงาน การประท้วงหยุดงานของลูกจ้างจึงเป็นการผิดสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประท้วงหยุดงานโดยมิชอบเป็นละเมิดสัญญาจ้าง
ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้าง การที่นายจ้างยังไม่ได้ประกาศจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้าง ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการที่จะประท้วงด้วยการหยุดงาน การประท้วงหยุดงานของลูกจ้างจึงเป็นการผิดสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิในเงินบำเหน็จ กรณีลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องสหภาพและพ้นสภาพกรรมการ
กรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 45 วรรคสอง หรือเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ตามมาตรา 46 วรรคสอง ล้วนแต่จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 48 ทั้งสิ้น เมื่อลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการของจำเลยมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างแล้วโจทก์จึงมิใช่กรรมการลูกจ้างอีกต่อไปและมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 52 อีก สหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้มีการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานดังกล่าวและจำเลย 4 ครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน ท. จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง จนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ซึ่งสหภาพแรงงานท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ จำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานท. แจ้งต่อจำเลยจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป โจทก์จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31 ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์มีสถิติการลามากเป็นพฤติการณ์ที่ส่อชี้ถึงความตั้งใจของโจทก์ว่ามุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้งานเพียงใด และเมื่อจำเลยเตือนให้โจทก์ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในเรื่องการขาด ลา มาสาย โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวอันเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ขวนขวายในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และท้ายที่สุดโจทก์ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้ลาไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โจทก์ก็ยังฝืนไปและไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอีก จำเลยจึงเลิกจ้าง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ใช้เวลาไปทำกิจกรรมหลายประเภทแม้กิจกรรมดังกล่าวบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและกิจการบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอื่นบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวโจทก์เองด้วยทั้งสิ้น โจทก์มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างโดยสม่ำเสมอ และไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้นายจ้างได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ โจทก์อาจไปทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองในขอบเขตและระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรโดยการตกลงยินยอมของจำเลยหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยเมื่อโจทก์มีจำนวนวันที่ไปทำงานให้แก่จำเลยน้อยย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยต้องเสียหายจากการกระทำของโจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยแต่อย่างใดเพราะจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานก็ต่อเมื่อพนักงานได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยหรือเสียชีวิตในขณะเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยเท่านั้น หาได้ยกเรื่องที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดขึ้นต่อสู้ด้วยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดหรือไม่ การที่ศาลแรงงานหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเองและวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประกาศดูหมิ่นนายจ้าง – การกระทำที่เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับ
การที่ผู้คัดค้านได้ร่วมกันเขียนประกาศที่มีข้อความดูหมิ่นเสียดสีและเหยียดหยามผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและผู้บังคับบัญชาไปปิดไว้ที่บอร์ดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ย่อมทำให้พนักงานของผู้ร้องขาดความยำเกรง เป็นการส่งเสริมและยังยุให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้ร้องทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้ร้องกับพนักงาน อันจะส่งผลเสียหายต่อผู้ร้องและพนักงาน เมื่อผู้ร้องสั่งให้เอาออก ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชากระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และไม่เกรงกลัวความผิดที่ตนได้กระทำจงใจให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือว่ามีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้