พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยใช้อาวุธปืนข่มขืนใจผู้อื่นและหลบหนี แม้ไม่มีเจตนาชิงทรัพย์ แต่ผิดฐานข่มขืนใจและบุกรุก
ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ และ ป.อ. มาตรา 371 ซึ่งเป็นความผิดสองกรรมแรก ศาลชั้นต้นให้ลงโทษฐานมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนไม่รับอนุญาตจำคุก 6 เดือนและความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335(3)(7) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80,83 มาตรา 364,365 ซึ่งเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งศาลชั้นต้นให้ลงโทษบทหนักตามมาตรา 335 วรรคสามประกอบด้วยมาตรา 80,83 จำคุก 1 ปี นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลดโทษลง 1 ใน 3 เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท. แล้วใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ของ ร.ขับหลบหนีไป แล้วจำเลยนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 กิโลเมตร จำเลยไม่ได้นำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นพฤติการณ์ของจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์คืนรถจักรยานยนต์นั้นแต่ประการใด คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร.ให้มอบรถจักรยานยนต์โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพ ตาม ป.อ. มาตรา 309วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกานับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นโดยโจทก์ไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเสียก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพิ่งจะมาขอหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วและจำเลยฎีกาต่อมา จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน, บุกรุก, ข่มขืนใจ, ชิงทรัพย์ และการแก้ไขโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่มีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 เมื่อจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษดังกล่าวตามมาตรา 80 เท่ากับลดโทษลงมาหนึ่งในสามนั่นเอง ซึ่งคงเหลือเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ตามมาตรา 52(1) หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท.แล้ว จำเลยได้ใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ของ ร.ขับหลบหนีไป แล้วนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 กิโลเมตร ไม่ได้นำรถจักรยานยนต์ไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์คือรถจักรยานยนต์นั้น คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แต่การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร. ให้มอบรถจักรยานยนต์โดย ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกานับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่น ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้มีคำขอมาท้ายฟ้องหรือขอแก้เพิ่มเติมฟ้องในเรื่องขอให้นับโทษต่อเสียก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพิ่งจะขอมาหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาและจำเลยฎีกาต่อมา จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการกระทำความผิดต่อเสรีภาพ: การแบ่งหน้าที่และสนับสนุนการหลบหนีถือเป็นตัวการ
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 และ ห.มาที่บ้านโจทก์ร่วมระหว่างที่จำเลยที่ 1 และ ห.ขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2กลับรถหันหน้าออกถนนใหญ่และติดเครื่องยนต์ไว้ตลอดเวลา เมื่อจำเลยที่ 1 และ ห.กระทำความผิดแล้ววิ่งออกจากบ้านมาขึ้นรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 จอดคอยอยู่แล้วหลบหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และ ห.วางแผนกระทำผิดว่าเมื่อจำเลยที่ 1 และ ห.ฉุดคร่าโจทก์ร่วมลงจากบ้านแล้ว จำเลยที่ 2 รับหน้าที่คอยพาตัวโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 กับ ห.หลบหนีไปเช่นนี้ ถือได้ว่า เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ และร่วมกระทำความผิดด้วยกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการกระทำผิดต่อเสรีภาพด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจโดยมีอาวุธปืน: การกระทำที่ไม่ได้มุ่งหวังต่อทรัพย์ แต่เป็นการข่มขู่ให้หยุดรถ
จำเลยว่าจ้างให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์จากตลาดไปส่งยังหมู่บ้าน มีนางสาวด. นั่งกลาง จำเลยนั่งซ้อนท้ายสุด รถแล่นมาได้ประมาณ 10 กิโลเมตร จำเลยบอกให้ผู้เสียหายเลี้ยวกลับไปส่งที่เดิมขณะกำลังเลี้ยวรถกลับ จำเลยกระโดดลงจากรถบอกให้หยุดรถ และมีเสียงชายที่ขับรถจักรยานยนต์ตามหลังมาและเป็นพวกจำเลยบอกให้ยิงผู้เสียหายเหลียวไปดูเห็นจำเลยจ้องปืนมาทางผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงรีบขับรถจักรยานยนต์มุ่งหน้าตรงไป ทำให้นางสาวด. ที่นั่งอยู่ด้วยตกลงจากรถ ขณะนั้นผู้เสียหายได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 1 นัดทางด้านหลัง แต่ไม่ถูกผู้เสียหาย ผู้เสียหายหันไปดูเห็นจำเลยและนางสาวด. ขึ้นรถจักรยานยนต์ซึ่งชายผู้นั้นขับไปทางเดิม ดังนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านางสาวด. ร่วมกระทำการด้วยอย่างไรจำเลยยิงปืนไปทางใด และห่างจากผู้เสียหายเท่าใด จำเลยยิงปืนเพียง1 นัด เมื่อไม่ถูกแล้วก็ไม่ได้ติดตามยิงผู้เสียหายอีก ยังไม่พอฟังว่าจำเลยยิงปืนโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าตามฟ้อง แต่การที่จำเลยซึ่งโดยสารรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายมายังไม่ถึงจุดหมายบอกให้ผู้เสียหายเลี้ยวรถกลับไปส่งที่เดิม เมื่อผู้เสียหายเลี้ยวรถจำเลยกลับกระโดดลงจากรถแล้วบอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ และเมื่อพวกจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ตามมาบอกให้ยิง จำเลยก็จ้องปืนมาทางผู้เสียหายครั้นผู้เสียหายไม่หยุดรถและขับรถหลบหนีไป จำเลยก็ยิงปืนขึ้นกรณีไม่ปรากฏเหตุผลอย่างไรที่จำเลยจะต้องให้ผู้เสียหายหยุดรถจนถึงขนาดต้องใช้อาวุธปืนในการบังคับขู่เข็ญเช่นนั้น การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพโดยมีอาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองแต่เมื่อผู้เสียหายไม่หยุดรถตามที่จำเลยข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดเพียงขั้นพยายาม ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดทางอาญา, อำนาจฟ้อง, การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ, การตรวจค้น, เหตุสมควร
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน การตรวจค้น การหน่วงเหนี่ยวกักขัง และการแจ้งความเท็จ
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำชิงทรัพย์ในวัยรุ่น: การแสดงอำนาจและข่มขู่ใจ ไม่ถึงเจตนาทุจริต
เมื่อพฤติการณ์ในคดีฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 นั้นมิได้มีเจตนาที่จะเอาเสื้อของผู้เสียหายไปเป็นของตนเองอันเป็นการแสดงเจตนาทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ที่เอาไป แต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ด้วยความคะนองตามวิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อยเท่านั้น มิใช่เป็นการมุ่งหมายเพื่อจะได้ประโยชน์จากทรัพย์นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาลักทรัพย์อันจะทำให้จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 1ซึ่งร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำการดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์แต่การที่จำเลยที่ 1 พูดในลักษณะที่เป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายว่าถ้าไม่ให้เสื้อจำเลยที่ 2 จะเจ็บตัวจนผู้เสียหายยอมให้เสื้อไปนั้นเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายต้องจำยอม โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเพื่อเอาทรัพย์และการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ของวัยรุ่น ไม่ถึงขั้นชิงทรัพย์
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ที่แสดงต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นนักเรียนต่างโรงเรียนกันในขณะที่มีอาการมึนเมาโดยเอาเสื้อของผู้เสียหายที่พาด บ่าผู้เสียหายไป เมื่อลงจากรถโดยสารประจำทางไปแล้วก็มิได้มีกิริยาที่จะหลบหนี หรือพาไปให้พ้นทั้งยังตามไปในโรงแรมที่ผู้เสียหายเข้าไป โดยเสื้อที่เอาไปก็ยังพาด บ่าจำเลยที่ 2อยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เป็นวัยรุ่นเช่นนั้น เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาที่จะเอาไปเป็นของตนเอง อันเป็นการแสดงเจตนาทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ที่เอาไป แต่เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ทำไปด้วยความคะนองเพื่อให้ผู้เสียหายเห็นว่าเป็นคนเก่ง พอที่จะรังแกคนได้ตามวิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อยเท่านั้น มิใช่เป็นการมุ่งหมายเพื่อจะได้ประโยชน์จากทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดฐานชิง ทรัพย์ การที่จำเลยที่ 1 พูดในลักษณะที่เป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายว่าถ้า ไม่ให้เสื้อแก่จำเลยที่ 2 จะเจ็บตัวจนผู้เสียหายยอมให้เสื้อไปนั้น เป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายต้องจำยอมโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งความผิดดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานชิง ทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงต้องลงโทษจำเลยที่ 1ตามที่พิจารณาได้ความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจเอาทรัพย์สินโดยอาศัยอำนาจหน้าที่และความกลัวของผู้ถูกกระทำ แม้ไม่มีการใช้กำลังโดยตรง
จำเลยทั้งสามนั่งเรือไปที่แพดูดดำแร่ ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1 ที่ 3 ขึ้นไปบนแพดูดดำแร่ จำเลยที่ 3 ซึ่งแต่งกายและแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาวุธปืนติดตัวมองเห็นได้บอก ว. ให้ตักแร่ให้ ว. กับพวกกลัว ตักแร่ให้ 1 ถุง น้ำหนัก 20 กิโลกรัมราคาประมาณ 1,200 บาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยได้อาศัยการที่จำเลยที่ 3เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาวุธปืนติดตัว ประกอบกับที่เกิดเหตุอยู่ในท้องทะเล ไม่มีผู้ใดจะรู้เห็นหรือช่วยเหลือได้ทันถ้าขัดขืนเป็นการบังคับ ว. กับพวกอยู่ในทีแล้ว ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันข่มขืนใจให้ ว. ต้องตักแร่ให้ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพของ ว. กับพวก เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 มาด้วยกับจำเลยที่ 1, ที่ 3 แม้ขณะเกิดเหตุจะนั่งอยู่ในเรือแต่ก็อยู่ติดกับแพดูดดำแร่เห็นกันชัดเจน แสดงว่าแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อได้แร่แล้วก็กลับไปพร้อมกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ด้วย เรือพร้อมเครื่องยนต์ของกลางจำเลยทั้งสามใช้เป็นยานพาหนะไปมาเท่านั้น การกระทำผิดเกิดขึ้นที่บนแพ ไม่เกี่ยวกับเรือและเครื่องยนต์ การที่จำเลยได้แร่มาแล้วบรรทุกเรือไปเป็นเรื่องใช้ยานพาหนะตามปกติ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจตักแร่ - ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจและเรือไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยทั้งสามนั่งเรือไปที่แพดูดดำแร่ ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1 ที่ 3 ขึ้นไปบนแพดูดดำแร่ จำเลยที่ 3 ซึ่งแต่งกายและแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาวุธปืนติดตัวมองเห็น ได้บอก ว.ให้ตักแร่ให้ ว. กับพวกกลัว ตักแร่ให้ 1 ถุง น้ำหนัก 20กิโลกรัม ราคาประมาณ 1,200 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ตามพฤติการณ์ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยได้อาศัยการที่จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาวุธปืนติดตัวประกอบกับที่เกิดเหตุอยู่ในท้องทะเล ไม่มีผู้ใดจะรู้เห็นหรือช่วยเหลือได้ทันถ้าขัดขืน เป็นการบังคับ ว. กับพวกอยู่ในทีแล้ว ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันข่มขืนใจให้ ว. ต้องตักแร่ให้ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและเสรีภาพของ ว. กับพวก เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309วรรคสอง แล้ว สำหรับจำเลยที่ 2 มาด้วยกับจำเลยที่ 1 ที่ 3ขณะเกิดเหตุแม้จะนั่งอยู่ในเรือ แต่ก็อยู่ติดกับแพดูดดำแร่เห็นกันชัดเจน แสดงว่าแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อได้แร่แล้วก็กลับไปพร้อมกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ด้วย.
เรือพร้อมเครื่องยนต์ ของกลางจำเลยทั้งสามใช้เป็นยานพาหนะไปมาเท่านั้น เป็นเรื่องใช้ยานพาหนะตามปกติไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึง ริบตามป.อ. มาตรา 33(1).
เรือพร้อมเครื่องยนต์ ของกลางจำเลยทั้งสามใช้เป็นยานพาหนะไปมาเท่านั้น เป็นเรื่องใช้ยานพาหนะตามปกติไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึง ริบตามป.อ. มาตรา 33(1).