คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,298 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เงินฝาก ความเสียหายจากการปลอมแปลงเอกสาร และอำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์
เงินที่โจทก์นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ท. อยู่ในความครอบครองของธนาคาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ท. ซึ่งธนาคารผู้รับฝากย่อมมีสิทธิในการบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าว ธนาคารผู้รับฝากคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น ธนาคารผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินเป็นจำนวนอันเดียวกับที่โจทก์ฝากไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 เงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยรับไปจึงเป็นเงินของธนาคาร ท. ผู้รับฝาก มิใช่เงินของโจทก์ การที่จำเลยทำใบถอนเงินที่ปลอมขึ้นมาเบิกถอนจากบัญชีเงินฝากของโจทก์แล้วเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีธนาคารของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ข้อ 10 (1) สโมสรรัฐสภาไม่ได้เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในหน้าที่ควบคุมดูแลของโจทก์และมิได้เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามประกาศรัฐสภา โดยผู้จัดการสโมสรรัฐสภาและคณะกรรมการสโมสรรัฐสภามีอำนาจดูแลและจัดการบริหารทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา อนุมัติการจ่ายเงินของสโมสรรัฐสภา และจัดการซึ่งกิจการโดยทั่วไปของสโมสรรัฐสภา โจทก์มิได้เป็นคณะกรรมการสโมสรรัฐสภาหรือผู้จัดการสโมสรรัฐสภา จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา คำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเป็นประธานกรรมการสโมสรรัฐสภา และผู้จัดการสโมสรจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มิได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะมีอำนาจเข้าบริหารกิจการและทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา โจทก์ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา การเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาหรือไม่ ต้องปรากฏข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด ทั้งการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การกระทำความผิดของจําเลยที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการกระทำต่อรัฐซึ่งเป็นอำนาจของหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวตาม ป วิ อ. มาตรา 28 (1) โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147, 151, 157, 334 และ 335

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความเท็จ รวมถึงการเป็นผู้เสียหายและการฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
การบรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องระบุชัดเจนถึงข้อความเท็จนั้นว่ามีข้อความเป็นอย่างไร และความจริงเป็นอย่างไร คำฟ้องของโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเทศบาล น. เพื่อขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎรของผู้มีชื่อ แต่ข้อความเท็จนั้นจำเลยแจ้งว่าอย่างไรไม่ปรากฏ และถึงแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าในการขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎร จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนด้วยว่าข้อความจริงที่จำเลยปกปิดไว้เป็นอย่างไร เหตุใดการปกปิดไว้นั้นจึงถือได้ว่าเป็นการแจ้งข้อความเท็จ
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้หากเหตุผลอันจำเลยอ้างในคำร้องเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่งจะเป็นความเท็จ แต่ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตรง หาได้เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียใด ๆ ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่เพียงว่าจำเลยไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดข้อความอันเป็นเท็จใดลงในเอกสารราชการใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายเบิกความเท็จ: ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงมีสิทธิเป็นโจทก์ร่วมได้
ผู้เสียหายในความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จ ตาม ป.อ. มาตรา 177 หาใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้นไม่ ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ว. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และแต่งตั้งโจทก์ร่วมเป็นผู้พิทักษ์ โดยจำเลยเบิกความเป็นใจความว่า ว. มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สามารถโต้ตอบมีเหตุผลและสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง จำบุคคลใกล้ชิดและเรื่องราวต่าง ๆ ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ได้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง และไม่มีอาการฟั่นเฟือน อันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของโจทก์ร่วมโดยตรง โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลย จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จในคดีนี้โดยตรง และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893-4895/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใช้เอกสารปลอมหลอกขายที่ดินว่างเปล่า ศาลพิพากษาแก้โทษจำคุกและยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ร่วมทั้งสองถูกจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เอกสารราชการสำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและสำเนาระวางที่ดินปลอมมาหลอกลวงขายที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่มีสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างอาคารอะพาร์ตเมนต์ อยู่ใกล้ถนนพัทยาใต้ติดแหล่งชุมชนจนหลงเชื่อ แล้วโจทก์ร่วมที่ 1 โดยโจทก์ร่วมที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าว แม้โจทก์ร่วมทั้งสองจะมีพฤติการณ์เรียกผลประโยชน์ตอบแทนเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กล่าวอ้างมาในฎีกาก็เป็นเรื่องการเรียกดอกเบี้ยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายเป็นคนละส่วนกับต้นเงินที่โจทก์ร่วมทั้งสองต้องเสียไปในการซื้อที่ดินพิพาท โจทก์ร่วมทั้งสองจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารราชการปลอม
โจทก์ร่วมที่ 1 ต้องสูญเสียเงิน 14,520,000 บาท เนื่องจากถูกจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกร่วมกันหลอกลวงอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ศาลจะไม่ได้พิพากษาลงโทษในความผิดฐานฉ้อโกงเนื่องจากเป็นบทเบากว่าความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอม ศาลก็มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คืนเงินจำนวน 14,520,000 บาท แก่โจทก์ร่วมที่ 1 ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมีสิทธิเรียกที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ร่วมที่ 1 อย่างไร จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชอบที่จะไปดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของตนต่อไป
โจทก์ร่วมทั้งสองตกลงซื้อที่ดินพิพาทเพราะหลงเชื่อคำหลอกลวงว่า ที่ดินพิพาทมีอาคารอะพาร์ตเมนต์ตั้งอยู่ มิใช่เพราะหลงเชื่อว่าจะมีการซื้อคืนในราคา 17,000,000 บาท ตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำพวกของตนมาแอบอ้างแสดงตนเป็น บ. ผู้จะซื้อคืน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่การหลอกลวงขายที่ดินพิพาทอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงสำเร็จแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 (เดิม) เท่านั้น หาเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นตามมาตรา 342 (1) (เดิม) ประกอบมาตรา 341 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเป็นโจทก์และการตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกัน
ความผิดฐานกระทำอนาจาร พยายามกระทำชำเรา และกระทำชำเรา ผู้เสียหายเท่านั้นเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าว มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแทนผู้เสียหาย แต่ขณะเกิดเหตุผู้คัดค้านและจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลย แม้ภายหลังจะจดทะเบียนหย่ากัน แต่ยังคงมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน อีกทั้งโจทก์คัดค้านคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้คัดค้าน เพราะมีพฤติการณ์กระทำการเป็นปฏิปักษ์กับโจทก์ อาจทำให้คดีของโจทก์เสียหาย เชื่อได้ว่าผู้คัดค้านมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเพราะเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้เสียหาย จึงทำให้ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายและไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแทนผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เสียหายในคดีปลอมพินัยกรรม: ทายาทโดยธรรมมีสิทธิฟ้องได้ แม้ผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว
โจทก์และจําเลยที่ 3 เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของ จ. จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันปลอมพินัยกรรมของ จ. ขึ้นทั้งฉบับว่า จ. ยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่จําเลยที่ 3 แต่เพียงผู้เดียว นอกจาก จ. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการทำปลอมพินัยกรรมจะเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมพินัยกรรมอันเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 265 แล้ว โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ก็ถือเป็นผู้เสียหายอีกคนหนึ่งด้วย เพราะหากพินัยกรรมปลอมถูกยกขึ้นกล่าวอ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้ โจทก์ซึ่งเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมมิใช่ทายาทตามพินัยกรรม ย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ จ. ในส่วนที่เป็นที่ดินพร้อมบ้านซึ่งกำหนดไว้ในพินัยกรรมตามสิทธิที่ควรจะได้ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม ถือได้ว่าการกระทำความผิดของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ในการรับมรดกของ จ. อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องด้วยบทนิยามคําว่า "ผู้เสียหาย" ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ลงทุนร่วมทราบถึงการลงข้อความเท็จในเอกสารบริษัท จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีอาญา
ในการร่วมลงทุนก่อสร้างอาคารชุดเพื่อขายนั้น โจทก์ ร. พ. และ ท. เป็นพี่น้องกันและได้ร่วมกันลงทุนกับจำเลยที่ 2 โดยฝ่ายจำเลยที่ 2 ตกลงลงทุน 25,000,000 บาท ส่วนโจทก์และพี่น้องตกลงลงทุน 25,000,000 บาท บ่งชี้ว่า การร่วมลงทุนดังกล่าวแบ่งผู้ลงทุนเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยที่ 2 โดยฝ่ายโจทก์มี ร. เป็นกรรมการที่มีอำนาจทำการผูกพันบริษัท ฝ่ายจำเลยที่ 2 มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการที่มีอำนาจทำการผูกพันบริษัท โดย ร. และจำเลยที่ 2 ต้องลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จึงจะมีอำนาจทำการผูกพันบริษัท แสดงว่า ร. และจำเลยที่ 2 ต่างเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทเพื่อดูแลผลประโยชน์ของฝ่ายตน เมื่อโจทก์เป็นพี่น้องของ ร. และร่วมลงทุนเป็นฝ่ายเดียวกับ ร. จึงเป็นปกติที่โจทก์จะต้องคอยติดตามการดำเนินงานของบริษัทผ่านทาง ร. เชื่อว่าโจทก์ทราบดีถึงการกระทำของ ร. แต่โจทก์ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น เมื่อ ร. มีส่วนรู้เห็นในการกระทำของจำเลยที่ 2 และยินยอมให้มีการลงข้อความอันเป็นเท็จในรายงานการประชุมวิสามัญ และงบการเงินของบริษัท อ. ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายเดียวกับ ร. รู้เห็นและยินยอมให้มีการลงข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารดังกล่าวด้วย โจทก์จึงมีส่วนในการกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแชร์: รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ผู้เสียหายรายบุคคลไม่มีอำนาจฟ้อง
การประกอบธุรกิจเป็นนายทุนวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ นอกจากจะมีผลกระทบต่อการออมของประชาชนแล้วยังกระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัฐให้เสียหาย ความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 จึงเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานอัยการเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้อง โจทก์เป็นราษฎรจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา-ประกอบธุรกิจคล้ายธนาคาร: จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา แม้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ใหม่
ปัญหาว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ร่วม เมื่อความผิดตามฟ้องมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยเหตุผลว่าโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายย่อมไม่กระทบอำนาจฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ร่วม
of 130