คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,524 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ต้องระบุการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลและผู้กระทำต้องรู้
คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แม้พอจับใจความได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากผิดสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่การโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่นเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ อันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 นั้น จะต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และผู้กระทำก็ต้องรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุเช่นนั้น คงบรรยายเพียงว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยคาดหมายว่าโจทก์อาจฟ้องร้องบังคับคดีเท่านั้น คำฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4373/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ต้องระบุเจตนาพิเศษและความเสียหายให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ฟ้องโจทก์แยกบรรยายการกระทำซึ่งอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดตามลำดับเหตุการณ์ที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์และปลอมลายมือชื่อโจทก์กับใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมกล่าวอ้างต่อผู้พิพากษา ฟ้องโจทก์ทั้งสองข้อหาเป็นความผิดหลายกระทงซึ่งโจทก์รวมมาในฟ้องเดียวกันได้ เพียงแต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ซึ่งการบรรยายการกระทำทั้งหลายตามลำดับเหตุการณ์เป็นการแยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไปตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องแยกแต่ละกระทงเป็นข้อ ๆ ดังนั้น การที่ฟ้องโจทก์บรรยายข้อ 1 ข ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้พิพากษาหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยตามหนังสือมอบอำนาจปลอม จึงไม่ได้แยกต่างหากจากฟ้องข้อ 1 ก และเท่ากับฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการบรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำของจำเลยแล้ว และเมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จึงไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจว่าเป็นเจตนาพิเศษของบุคคลอื่นนอกจากจำเลยไปได้ จำเลยย่อมเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาต้องระบุเจตนาพิเศษในการหลอกลวงเพื่อประโยชน์ทางการเงิน หากคำฟ้องขาดองค์ประกอบนี้ ศาลยกฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษ... ดังนั้น การกระทำความผิดฐานดังกล่าวผู้กระทำจะต้องมีมูลเหตุจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษ เพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องเพียงว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำหรือยินยอมให้กระทำในการจัดทำเอกสารเท็จหรือลงข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารของมูลนิธิเพื่อลวงให้กรรมการมูลนิธิและประชาชนเชื่อว่ามีการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิตามวันเวลา สถานที่ และรายละเอียดการประชุมจริง เพื่อแสดงให้เชื่อว่ามูลนิธิเป็นเจ้าของกิจการบ้านลุงสนิทของโจทก์ อันเป็นการทำให้โจทก์ในฐานะส่วนตัวและเป็นกรรมการของมูลนิธิได้รับความเสียหาย โดยคำฟ้องมิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีมูลเหตุชักจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้แต่ประการใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959-2962/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารราชการ การกระทำความผิดร่วมกัน และการพิพากษาความรับผิดของจำเลยแต่ละราย
คำฟ้องโจทก์บรรยายวันเวลาที่จำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการ และโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดฐานร่วมกันใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอมว่า ภายหลังจากทำปลอมแล้วจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอมต่อผู้เสียหายที่ 3 และที่ 5 การบรรยายฟ้องดังกล่าวเข้าใจได้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์ระบุไว้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการ แต่เป็นเวลาหลังจากที่จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมเอกสารราชการแล้ว จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอมซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอีกกรรมหนึ่ง ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมจึงเป็นฟ้องที่ชัดแจ้งแล้วว่า เมื่อวันเวลาใดจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดฐานร่วมกันใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอม จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้คัดค้านข้อเท็จจริงและเหตุผลของศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน และฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสิบหกฟ้องเท็จและเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสิบหกเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกด้วย กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง วางหลักในการฎีกาว่า ฎีกาจะต้องคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร เมื่อพิจารณาฎีกาของโจทก์แล้ว เห็นได้ว่า ฎีกาโจทก์ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลขึ้นโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าอุทธรณ์โจทก์มิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร และโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะเหตุใดนั้น ไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงและไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร ฎีกาโจทก์จึงไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดในฟ้องอาญา: การบรรยายข้อเท็จจริงครบถ้วน แม้ไม่ใช้ถ้อยคำตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติให้ฟ้องต้องระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด หรือฟ้องต้องบรรยายให้ครบองค์ประกอบความผิด แต่การบรรยายฟ้องส่วนของข้อเท็จจริงในองค์ประกอบความผิดไม่ได้เคร่งครัดว่าจะต้องใช้ถ้อยคำตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทุกประการ
ฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดฐานปลอมเอกสาร ฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม และฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน เป็นลำดับและมีรายละเอียดต่อเนื่องกัน เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ และมีการบรรยายข้อความต่อเนื่องอีกว่า การกระทำตามฟ้องข้อดังกล่าวทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการบรรยายองค์ประกอบความผิดแล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสามฐานนี้จึงครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
ฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำต้นฉบับโฉนดที่ดินของโจทก์ไปเสียจากโจทก์ ต่อมานำไปจดทะเบียนซื้อขายกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นฟ้องที่บรรยายว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง, ประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้ชื่อทางการเงินโดยมิชอบ
แม้การหลอกลวงของจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไป แต่การดำเนินการดังกล่าวได้เริ่มขึ้นแล้วด้วยการที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันแสดงโครงการออกโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความเท็จ ซึ่งเชื่อมโยงกับที่จำเลยทั้งสี่จะดำเนินการต่อไป กรณีถือว่าเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์ อ. โดยวิธีการฝากเงิน ซึ่งมี 3 ประเภท คือ ฝากเงินแบบขอรับเงินปันผลกำไร (มูฎอรอบะห์) ฝากเงินแบบรักษาทรัพย์ (วาดีอะห์) ไม่มีส่วนร่วมเงินปันผล ฝากเงินเพื่อฮัจญ์และอุมเราะห์ โดยกองทุนออมทรัพย์ อ. จะนำเงินของสมาชิกไปลงทุนทำธุรกิจตามโครงการที่โฆษณาไว้ แล้วจะแบ่งปันผลกำไรหรือผลตอบแทนให้แก่สมาชิกที่ฝากเงินลงทุนดังกล่าว ซึ่งการรับฝากเงินดังกล่าวเป็นการประกอบธุรกิจรับฝากเงินตามความหมายคำนิยามคำว่า ธุรกิจเงินทุน ของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 แล้ว เมื่อกองทุนออมทรัพย์ อ. ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ประกอบธุรกิจเงินทุน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งองค์ประกอบความผิดของมาตรา 12 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 มิได้บัญญัติไว้ว่าผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาทุจริต เพียงแต่บัญญัติห้ามผู้ใดนอกจากสถาบันการเงินใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจทางการเงินว่า ธนาคาร เงินทุน การเงิน การลงทุน เครดิต ทรัสต์ ไฟแนนซ์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันเท่านั้น เมื่อกองทุนออมทรัพย์ อ. มิใช่สถาบันการเงิน และคำว่า กองทุนออมทรัพย์ เป็นคำอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกับธนาคาร เงินทุน การลงทุน การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ชื่อกองทุนออมทรัพย์ อ. จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจทางการเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีเบียดบังผลกำไรห้างหุ้นส่วน ต้องระบุจำนวนผลกำไรและส่วนแบ่งมรดกที่ชัดเจน
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. บิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการค้าไม้และจำหน่ายโลงศพมีผลกำไรจากการประกอบกิจการซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนต้องแบ่งปันกัน และจำเลยเบียดบังผลกำไรในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. ไปโดยทุจริต ผลกำไรอันจำเลยเบียดบังไปมีจำนวนเท่าใดย่อมถือเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดอันเป็นมูลกรณีของความผิด โจทก์จึงต้องแสดงในฟ้องให้ชัดเจนว่าเมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเนื่องจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายแล้ว สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่เหลืออยู่ภายหลังการชำระหนี้ที่กฎหมายกำหนดลำดับก่อนหลังไว้ อันถือเป็นผลกำไรของห้างหุ้นส่วนนั้นมีอยู่จำนวนเท่าใด และผลกำไรในส่วนของ ป. ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบียดบังเอาไปโดยทุจริตมีอยู่เท่าใด เพื่อที่จำเลยจะได้ตรวจสอบและต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องว่าผลกำไรนั้นหากมีอยู่จริง ใช่ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาหรือไม่ โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่าห้างหุ้นส่วนมีผลกำไรแล้วสืบพยานในภายหลังเพื่อแสดงให้เห็นจำนวนผลกำไรในส่วนของ ป. หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8884/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้หรือเป็นประกัน หากมิได้มีเจตนาชำระหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมเงินที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องจะระบุว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" อันทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ขัดกับคำฟ้องก็ตาม แต่การค้นหาเจตนาที่แท้จริงจำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วยหาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียวและเป็นเรื่องที่คู่ความสามารถนำสืบข้อเท็จจริงได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์บรรยายฟ้องขัดกันอันจะทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจเข้าใจข้อหาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คพิพาทให้โจทก์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้นั้น จำเลยทั้งสองต้องมีเจตนาออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือสัญญากู้เงินว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงพฤติการณ์หรือข้อตกลงที่ทำให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แตกต่างจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินอย่างไร ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยมีเจตนามุ่งหมายให้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ส่วนข้อความในแบบพิมพ์ที่พิมพ์ออกจำหน่ายและใช้กันอยู่ทั่วไป โจทก์สามารถอ่านเข้าใจได้โดยง่าย หากไม่ตรงตามเจตนาที่โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ โจทก์สามารถตกเติมแก้ไขได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการดังกล่าว ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กเพื่อการค้าประเวณี และแสวงหาประโยชน์จากเด็ก: องค์ประกอบความผิดและขอบเขตความรับผิด
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มาทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านของจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ชักชวน แต่ขณะอยู่กับจำเลยที่ร้านก็ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 บิดาตลอดเวลา การที่จำเลยรู้เห็นยินยอมให้ลูกค้าใช้ร้านจำเลยเป็นสถานที่ติดต่อพาผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ออกจากร้านไปทำการค้าประเวณีเพื่อสำเร็จความใคร่ที่อื่น โดยจำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยมิชอบจากค่าสุราอาหารที่ลูกค้าต้องสั่งเพิ่มพิเศษและลูกค้าต้องชำระค่าเสียเวลาให้แก่จำเลย ถือว่าจำเลยกระทำการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 จำเลยจึงมีความผิดฐานปราศจากเหตุอันสมควรพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีเด็ก ก็ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (5) ครบถ้วนแล้ว เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 (เดิม) การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบก็คือการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีนั่นเอง
of 153