คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปดารณี ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11817/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยบันดาลโทสะ ศาลลดโทษและรอการลงโทษ พิจารณาจากเหตุผลและภาระครอบครัว
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ ซึ่งความผิดดังกล่าวศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ กรณีจึงไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72, 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11448/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์พิสูจน์การครอบครองไม่ได้ และแก้ไขค่าทนายความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความรวม 5,000 บาท แต่ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ที่แก้ไขตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551 บัญญัติให้ศาลกำหนดค่าทนายความแต่ละชั้นศาลไม่ต่ำกว่าคดีละ 3,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดค่าทนายความต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความทั้งสามศาลรวม 9,000 บาท แทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11320/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะ และการครอบครองที่ดินหลังพ้นกำหนดห้ามโอน ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
การที่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยทั้งสองฝ่ายต่างรู้อยู่แล้วว่าที่ดินแปลงดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี แม้สัญญาซื้อขายที่ดินจะกำหนดไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองกันในวันพ้นระยะเวลาห้ามโอนก็ตาม ก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะ การยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนโจทก์ที่ 1
การที่จำเลยที่ 1 กรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ไว้ขณะที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อปลอมชื่อโจทก์ทั้งสองในการรับรองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรข้าราชการของโจทก์ทั้งสองแล้วนำเอกสารดังกล่าวพร้อมกับหนังสือให้ความยินยอมของโจทก์ที่ 2 ในการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายจากชื่อของโจทก์ที่ 1 มาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 นั้นก็เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ที่ตกลงกันในสัญญาซื้อขายไว้แต่เดิม เป็นกระทำภายในขอบอำนาจที่โจทก์ที่ 1 มอบให้ไว้แต่เดิม และเอกสารที่รับรองก็เป็นเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11308/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การทางวิดีโอของผู้เสียหายเด็กในคดีข่มขืน จำเป็นต้องมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งและไม่สามารถติดตามตัวผู้เสียหายได้
การที่จะรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การชั้นสอบสวนของพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย ได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี มาเบิกความเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง คดีนี้พนักงานสอบสวนเบิกความว่าได้ส่งหมายเรียกไปยังพยานตามภูมิลำเนาที่จังหวัดกำแพงเพชร แต่ส่งไม่ได้เพราะพยานไปทำงานที่ต่างจังหวัด ต่อมาทราบว่าทำงานที่ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แต่ไม่สามารถสืบทราบได้ว่าทำงานที่ใด ปัจจุบันจึงไม่สามารถติดต่อพยานมาเบิกความได้ เมื่อพนักงานสอบสวนทราบว่าพยานทำงานที่ตำบลคลองมะเดื่อ แสดงว่าพยานยังมีชีวิตอยู่ การสืบหาที่อยู่ของพยานน่าจะทำได้โดยไม่ยาก การที่โจทก์ไม่นำพยานมาเบิกความจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่อาจรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การชั้นสอบสวนของพยานเสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11097/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: การโต้แย้งความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง ไม่ใช่การโต้แย้งอำนาจศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ใช่การจ้างแรงงาน โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้าง จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกร้องเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อศาลแรงงานภาค 5 คำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นการยกข้อต่อสู้เพื่อให้ศาลแรงงานภาค 5 วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยทั้งสองกับโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้างลูกจ้างกัน โจทก์ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินจากจำเลยทั้งสองต่อศาลแรงงานภาค 5 คำให้การของจำเลยทั้งสองไม่ใช่การอ้างเหตุหรือโต้แย้งอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10197/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีอาญาที่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และการพิจารณาค่าเสียหายที่เกินทางนำสืบ
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้" การที่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาทุกประเภทที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ผู้เสียหายซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยและต้องไปดำเนินคดีในส่วนแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทน ดำเนินคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องกันไปได้ เพื่อให้การพิจารณาคดีส่วนแพ่งเป็นไปโดยรวดเร็ว ดังเช่นพนักงานอัยการร้องขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย กรณีไม่จำต้องคำนึงว่าศาลที่จะพิจารณาคดีอาญาจะเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 (1) และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) วรรคหนึ่ง และผู้เสียหายขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ดังนี้แม้โจทก์ร่วมที่ 4 ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำนวนเงินที่ขอเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น แต่ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9912/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลักทรัพย์ และมีอาวุธปืน แต่ไม่มีความผิดฐานก่อการร้าย
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นสมาชิกของขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนผู้ตายเป็นผู้หาข่าวความเคลื่อนไหวของขบวนการดังกล่าวให้แก่ทางราชการ ในวันเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากทำละหมาดจะไปยังบ้านพัก จำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ตามสะกดรอยไปจนถึงบ้านพักของผู้ตาย แล้วร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย เมื่อภริยาของผู้ตายได้ยินเสียงปืนได้ออกมาดูแลถามจำเลยที่ 2 ว่าเหตุใดจึงยิงผู้ตาย จำเลยที่ 2 ขู่ภริยาของผู้ตายให้อยู่เฉย ๆ พร้อมกับจ้องปืนเล็งไปที่ภริยาของผู้ตาย โดยไม่ได้แสดงพฤติการณ์ให้เห็นว่าเป็นการสร้างความวุ่นวายและความไม่สงบให้เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายตาม ป.อ. มาตรา 135/1 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8929/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้จำนองไม่มีอำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ กรณีจำเลยขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน
นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์มีฐานะเพียงเจ้าหนี้สามัญของจำเลย การที่จำเลยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงินแม้ทำให้โจทก์มีสิทธิในอันที่จะยึดโฉนดที่ดินไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยสิ้นเชิง แต่มิได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่ที่ดินหรือบังคับอย่างใด ๆ ต่อโฉนดที่ดินที่จำเลยวางเป็นประกันได้เลยไม่ว่าในทางใด โจทก์คงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินอย่างเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น ดังนี้การที่จำเลยไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าโฉนดที่ดินสูญหายไปเพื่อขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่ ย่อมมิได้กระทบต่อสิทธิอย่างใด ๆ ของโจทก์ในอันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญมีอยู่อย่างไรคงมีอยู่เพียงนั้น มิได้ลดน้อยถอยลง ทั้งในการแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกใบแทนโฉนดที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ได้กล่าวพาดพิงเจาะจงถึงโจทก์ ในอันจะถือว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8928/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีหมิ่นประมาท: การเบิกความในภาพรวมที่ไม่เฉพาะเจาะจงข้อเท็จจริงสำคัญ ไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในคดีที่บริษัท อ. ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท บริษัท อ. บรรยายฟ้องว่า โจทก์กล่าวหา บริษัท อ. ยื่นเอกสารอันเป็นเท็จเพื่อให้คณะกรรมการฯ เข้าใจเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์ที่เสนอมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศ ทั้งที่ขาดคุณสมบัติและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการฯ ตัดสินว่า ครุภัณฑ์ที่นำเสนอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนด ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่ประการใด คณะกรรมการฯ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้สั่งการเช่นนั้น และไม่เคยมีคณะกรรมการทั้งของเขตการศึกษาและผู้อำนวยการโรงเรียน ศ. เรียกโจทก์หรือตัวแทนโจทก์เข้าไปชี้แจงรายละเอียดแต่ประการใด การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการเต้าข่าวเป็นเท็จประสงค์ต่อผลทำให้บริษัท อ. ได้รับความเสียหายโดยตรง เป็นการใส่ร้ายใส่ความบริษัท อ. ต่อบุคคลที่ 3 อันมีเจตนาทุจริตจงใจทำให้บุคคลภายนอกเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัท อ. ไม่มีคุณภาพ ซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ดังนั้น ข้อสำคัญในคดีจึงมีว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการสอบราคาของโรงเรียนบางเขตพื้นที่การศึกษาได้ตรวจสอบรายละเอียดของเอกสารและผลิตภัณฑ์ที่บริษัท อ. เสนอ และได้มีการเชิญตัวแทนของบริษัทดังกล่าวมาชี้แจงให้ถ้อยคำจนเป็นที่ประจักษ์ว่าบริษัท อ. ยื่นเอกสารอันเป็นเท็จเพื่อให้คณะกรรมการฯ เข้าใจเป็นเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์ที่เสนอมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศ ทั้งที่ขาดคุณสมบัติอันเป็นเหตุให้บริษัท อ. เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือไม่ การที่จำเลยในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ. และในฐานะทนายความโจทก์ เบิกความแต่เพียงว่า บริษัท อ. มีคุณลักษณะครบถ้วนตามที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด จึงได้ซื้อซองประกวดราคา จึงเป็นการเบิกความในภาพรวม ๆ มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับซอพต์แวร์หรือผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุในเกณฑ์คุณลักษณะซอพต์แวร์สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ข้อที่ 9 และข้อที่ 10 แต่ประการใด ทั้งยังเป็นการเบิกความถึงขั้นตอนของการซื้อซองประกวดราคาเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งเป็นมูลแห่งคดีและแตกต่างจากผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเท่านั้น คำเบิกความของจำเลยจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี แม้คำเบิกความของจำเลยจะเป็นเท็จก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกับผลประโยชน์ส่วนต่าง: ไม่เข้าข่ายยักยอก
จำเลยรับเครื่องประดับจากโจทก์ไปจำหน่าย โดยจำเลยสั่งจ่ายเช็คระบุจำนวนเงินตามมูลค่าเครื่องประดับนั้น ๆ ให้โจทก์ยึดถือไว้ เมื่อจำเลยนำเงินค่าเครื่องประดับมาชำระ โจทก์จะคืนเช็คให้จำเลย พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เชื่อได้ว่า ราคาที่โจทก์กำหนดตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องนั้น แท้จริงแล้วคือราคาที่จำเลยจะต้องออกเช็คให้โจทก์ยึดถือไว้ ดังนั้น ผลประโยชน์ตอบแทนที่จำเลยจะได้รับจากการทำธุรกิจเช่นนี้กับโจทก์ก็คือ ส่วนต่างของราคาเครื่องประดับที่จำเลยขายให้แก่ลูกค้ากับราคาที่โจทก์กำหนดโดยจำเลยต้องออกเช็คให้โจทก์ยึดถือไว้นั่นเอง กรณีจึงมิใช่จำเลยได้รับมอบหมายให้รับเครื่องประดับไว้ในฐานะตัวแทนโจทก์ หากแต่จำเลยครอบครองโดยอาศัยอำนาจแห่งสัญญาที่โจทก์กับจำเลยมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อจำเลยไม่ส่งเงินที่ขายได้หรือไม่ส่งคืนเครื่องประดับที่ยังขายไม่ได้ให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาสามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
of 32