พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีแพ่ง, การใช้ดุลพินิจลงโทษ, และการแก้ไขคำพิพากษา
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่า เข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นยังคงเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม มิใช่คู่ความมีคำโต้แย้งแล้วต้องส่งไปทุกกรณี จำเลยยื่นคำร้องว่า ป.อ. มาตรา 177 และ ป.วิ.อ. มาตรา 182, 188, 190 และมาตรา 192 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3, 4, 5, 25, 26, 27, 29 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ และมาตรา 188 โดยไม่ปรากฏเหตุผลแห่งการโต้แย้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในเรื่องการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทกฎหมาย การวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และการตีความกฎหมาย หาใช่โต้แย้งบทมาตราแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อโต้แย้งของจำเลยว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งมิได้ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาให้ครบองค์คณะนั้น ก็มิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน คำโต้แย้งของจำเลยไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5 ประกอบมาตรา 212 ที่ศาลฎีกาจะต้องส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทำสัญญาผ่อนชำระแทนเจ้าของกิจการ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกหนี้เอง
โจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการ ฟ. โดยโจทก์เป็นผู้พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่จำเลยด้วยการให้จำเลยผ่อนชำระค่าศัลยกรรมซึ่งโจทก์ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการสนับสนุนเงินทุนเพื่อทำศัลยกรรมกับ ซ. โดย ซ. เบิกความสนับสนุนว่ามีการทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์กันไว้จริงตามเอกสารหมาย จ.11 อันเป็นการนำสืบพยานหลักฐานในทำนองว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกันประกอบกิจการในโครงการ ฟ. แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏตามคำเบิกความของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ. 4426/2563 ของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่าร่วมกับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยในคดีดังกล่าวโจทก์เบิกความว่า โจทก์ทำงานในโครงการ ฟ. ในฐานะเป็นลูกจ้าง ซึ่งตรงกับที่โจทก์เบิกความในคดีอื่น ๆ อีกหลายคดีที่ระบุว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของโครงการ ฟ. ได้รับเงินเดือนโดยเป็นผู้อำนวยการโครงการ มีหน้าที่จัดทำเว็บไซต์ของโครงการและทำหน้าที่ด้านการเงินเท่านั้น ซึ่งคำเบิกความของโจทก์และผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันโจทก์ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. โดยทำหน้าที่ในด้านการเงินและเป็นผู้เปิดบัญชีรับโอนเงินกับรับทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ในโครงการดังกล่าวแทน ซ. เท่านั้น โจทก์เพิ่งยกหนังสือสัญญาแบ่งผลประโยชน์เป็นหลักฐานในคดีนี้ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวขัดกับคำให้การและคำเบิกความในคดีก่อนโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบเอกสารดังกล่าวต่อศาล เชื่อว่าเอกสารหมาย จ.11 มีการจัดทำขึ้นในภายหลังเพื่อผลประโยชน์ในคดีที่เรียกร้องเงินตามสัญญาผ่อนชำระหนี้จากลูกหนี้ในโครงการเท่านั้น อีกทั้งโจทก์ยังเบิกความว่าโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก ซ. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 12 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับเอกสารหมาย จ.11 จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวได้
คดีหมายเลขแดง ที่ ผบ. 4426/2563 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของโจทก์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีไม่เป็นการทำละเมิด โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างหรือเป็นหุ้นส่วนกับ ซ. อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้หรือไม่ ผลของคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ และจำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่าโจทก์เบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียในโครงการ ฟ. และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ อันเป็นการยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคดีนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทน จึงเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของ ซ. เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจาก ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คดีหมายเลขแดง ที่ ผบ. 4426/2563 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของโจทก์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีไม่เป็นการทำละเมิด โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างหรือเป็นหุ้นส่วนกับ ซ. อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้หรือไม่ ผลของคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ และจำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่าโจทก์เบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียในโครงการ ฟ. และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ อันเป็นการยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคดีนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทน จึงเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของ ซ. เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจาก ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทน: การฟ้องคดีในฐานะตัวการโดยมิได้ระบุฐานะตัวแทน
โจทก์มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของนางสาว ซ. และทำหน้าที่ลงชื่อในสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทนฯ แทนนางสาว ซ. เจ้าของโครงการเท่านั้น ซึ่งคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่โจทก์นำสัญญาพิพาทมาฟ้อง ทั้งในคดีอื่นที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยนั้น โจทก์เบิกความเท็จว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง เป็นการใช้สิทฺธิทางศาลโดยไม่สุจริต คดีมีประเด็นตามคำให้การแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของนางสาว ซ. แต่โจทก์กลับฟ้องคดีนี้โดยอ้างสิทธิในฐานะตัวการเสียเอง โดยมิได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนางสาว ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาควบคุมงานก่อสร้าง: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ & การระงับหนี้จากการชำระหนี้โดยลูกหนี้ร่วม
โจทก์ว่าจ้างจำเลยควบคุมงานก่อสร้างโครงการอาคารชุดของโจทก์ การควบคุมงานในส่วนงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรมอันเป็นงานก่อสร้างของบริษัท น. งานที่ก่อสร้างมีความชำรุดบกพร่องและยังไม่ได้แก้ไข จำเลยจึงไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงานให้ถูกต้องตามที่ได้ให้สัญญา เป็นการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่การควบคุมงานในส่วนงานระบบของบริษัท อ. เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าจ้างควบคุมงานของเดือนมีนาคม 2559 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่มาควบคุมงาน การที่จำเลยไม่มาควบคุมงานตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะทิ้งงาน ที่โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 25 เมษายน 2559 แจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และมีหนังสือลงวันที่ 22 มิถุนายน 2559 บอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แต่ตามหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวโจทก์เพียงแจ้งให้จำเลยกลับมาทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างภายใน 15 วัน และขอให้จำเลยเรียกบริษัท อ. เข้ามาแก้ไขความบกพร่องที่เกิดจากการทำงานของบริษัทดังกล่าว เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญา เท่ากับว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยทิ้งงานและเหตุที่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท อ. ซึ่งทั้งสองเหตุนี้จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่อาจนำมาเป็นเหตุในการบอกเลิกสัญญาได้ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงไม่ชอบ มีผลเท่ากับกับโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 4 วรรคสอง ระบุไว้ในตอนท้ายว่า การที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญา ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามสัญญา จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัท น. ได้ยื่นฟ้องขอให้บังคับโจทก์คืนเงินประกันผลงานและชำระค่าจ้างทำงานก่อสร้างดังกล่าวส่วนที่ยังค้างชำระ โจทก์ฟ้องแย้งขอให้บังคับบริษัท น. ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานก่อสร้างบกพร่อง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2309/2561 ของศาลชั้นต้น ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์คืนเงินประกันผลงานที่โจทก์หักไว้จากค่าจ้างในแต่ละงวด รวม 14,256,971.38 บาท และให้รับผิดในค่าจ้างที่ยังไม่ได้ชำระ 7,978,778.68 บาท แก่บริษัท น. โดยให้หักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่บริษัท น. ทำงานก่อสร้างบกพร่อง เป็นเงิน 4,857,212.97 บาท ซึ่งค่าเสียหายในส่วนของงานก่อสร้างที่บกพร่องเป็นค่าเสียหายจำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในคดีนี้ ถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จำเลยและบริษัท น. ต้องรับผิดแก่โจทก์เช่นอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 การที่บริษัท น. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันผลงานและค่าจ้างที่โจทก์ค้างชำระ ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วยตามมาตรา 292 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้ของจำเลยในคดีนี้ระงับไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แก่โจทก์อีก
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 5 ระบุว่า หากโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 4 แล้ว จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างที่ได้รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยสัญญาข้อ 4 วรรคสอง มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่จำเลยได้รับไปแล้วคืน
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 4 วรรคสอง ระบุไว้ในตอนท้ายว่า การที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญา ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามสัญญา จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัท น. ได้ยื่นฟ้องขอให้บังคับโจทก์คืนเงินประกันผลงานและชำระค่าจ้างทำงานก่อสร้างดังกล่าวส่วนที่ยังค้างชำระ โจทก์ฟ้องแย้งขอให้บังคับบริษัท น. ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานก่อสร้างบกพร่อง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2309/2561 ของศาลชั้นต้น ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์คืนเงินประกันผลงานที่โจทก์หักไว้จากค่าจ้างในแต่ละงวด รวม 14,256,971.38 บาท และให้รับผิดในค่าจ้างที่ยังไม่ได้ชำระ 7,978,778.68 บาท แก่บริษัท น. โดยให้หักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่บริษัท น. ทำงานก่อสร้างบกพร่อง เป็นเงิน 4,857,212.97 บาท ซึ่งค่าเสียหายในส่วนของงานก่อสร้างที่บกพร่องเป็นค่าเสียหายจำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในคดีนี้ ถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จำเลยและบริษัท น. ต้องรับผิดแก่โจทก์เช่นอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 การที่บริษัท น. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันผลงานและค่าจ้างที่โจทก์ค้างชำระ ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วยตามมาตรา 292 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้ของจำเลยในคดีนี้ระงับไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แก่โจทก์อีก
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 5 ระบุว่า หากโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 4 แล้ว จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างที่ได้รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยสัญญาข้อ 4 วรรคสอง มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่จำเลยได้รับไปแล้วคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720-2721/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟอกเงินจากบ่อนการพนัน ผู้จัดให้มีการพนันมีมูลค่าเกิน 5 ล้านบาท ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 บัญญัติให้มีความผิดมูลฐานเพื่อกำหนดประเภทของความผิดอาญาที่นำมาใช้เป็นฐานในการดำเนินคดีอาญาฐานฟอกเงินต่อบุคคลที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อทรัพย?สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน และดำเนินการทางแพ่งร้องขอให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินเท่านั้น หาได้บัญญัติความผิดมูลฐานขึ้นมาเป็นฐานความผิดใหม่เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดเหมือนดังเช่นความผิดอาญาทั่วไปไม่ ดังนั้น การพิจารณาองค์ประกอบของความผิดมูลฐานจึงไม่จำต้องพิจารณาแยกเป็นรายกรรมเหมือนความผิดอาญาทั่วไป แต่ต้องพิจารณาตามบทนิยามของความผิดมูลฐานนั้น ๆ เมื่อความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (9) ได้กำหนดองค์ประกอบของความผิดในส่วนวงเงินในการกระทําความผิดเพียงว่า มีวงเงินในการกระทำความผิดรวมกันมีมูลค?าตั้งแต?ห?าล?านบาทขึ้นไป โดยมิได้ระบุว่าเป็นวงเงินในการกระทำความผิดแต่ละครั้ง จึงต้องพิจารณาองค์ประกอบของความผิดมูลฐานในส่วนดังกล่าวจากวงเงินในการเล่นการพนันที่จัดให้มีขึ้นทั้งหมด หากจัดให้มีการเล่นการพนันหลายครั้งต่อเนื่องกันก็ต้องพิจารณาจากวงเงินในการเล่นการพนันทุกครั้งรวมกัน
บ่อนการพนันทั้งสามแห่งจัดให้มีการเล่นการพนันหมุนเวียนกัน เปิดให้เล่นทั้งกลางวันและกลางคืน มีนักพนันหมุนเวียนกันเข้ามาเล่น บางช่วงเวลาถึงกับต้องรอคิวที่จะเล่น โดยเปิดให้เล่นการพนันประเภทไพ่ป๊อกบ่อนละประมาณ 2 ถึง 5 โต๊ะ มีตั้งแต่โต๊ะที่เปิดให้เล่นในราคา 50 บาท 100 บาท 200 บาท 500 บาท 1,000 บาท และ 2,000 บาท หากมีผู้เล่นจำนวนมากก็จะเปิดโต๊ะพนันเพิ่ม การเล่นใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที ต่อตา ผู้เล่นสามารถแทงกับเจ้ามือกี่คนก็ได้ ในการเล่นแต่ละตาหากเป็นโต๊ะ 100 บาท จะมีเงินสะพัดประมาณ 10,000 บาท หากโต๊ะใหญ่ขึ้นจะมีเงินสะพัดประมาณ 30,000 ถึง 60,000 บาท ประกอบกับได้ความว่าทางบ่อนยังรับจำนำทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้เข้าเล่นที่เสียการพนันจนหมดเพื่อนำเงินไปเล่นต่อ โดยในวันเข้าตรวจค้นเจ้าพนักงานสามารถยึดกุญแจรถจักรยานยนต์ที่รับจำนำได้ถึง 63 ดอก แสดงว่าบ่อนทั้งสามแห่งมีวงเงินในการเล่นการพนันมีมูลค่าสูง นอกจากนี้ยังได้ความจาก ธ. ว่าเป็นหนี้การพนันค้างชำระผู้คัดค้านที่ 1 จำนวนมาก จึงโอนที่ดินสี่แปลงพร้อมอาคารสี่ชั้นตีราคาใช้หนี้การพนันประมาณ 15,000,000 บาท คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 อันเป็นมาตรการทางแพ่ง การพิสูจน์ถึงการกระทำความผิดมูลฐานต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องหาจำต้องนำสืบถึงขนาดให้รับฟังได้โดยปราศจากความสงสัยเหมือนดังเช่นคดีอาญาไม่ เมื่อพิจารณาจำนวนหนี้การพนันของ ธ. ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ประกอบพฤติการณ์ที่สถานที่ตรวจค้นทั้งสามแห่งเป็นบ่อนการพนันที่มีวงเงินในการเล่นการพนันมีมูลค่าสูงและเปิดให้เล่นการพนันต่อเนื่องกันมาหลายครั้งเป็นเวลานานหลายปีแล้ว พยานหลักฐานผู้ร้องมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันที่สถานที่ตรวจค้นทั้งสามแห่งโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยมีวงเงินในการกระทำความผิดรวมกันมีมูลค่าตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง (9)
บ่อนการพนันทั้งสามแห่งจัดให้มีการเล่นการพนันหมุนเวียนกัน เปิดให้เล่นทั้งกลางวันและกลางคืน มีนักพนันหมุนเวียนกันเข้ามาเล่น บางช่วงเวลาถึงกับต้องรอคิวที่จะเล่น โดยเปิดให้เล่นการพนันประเภทไพ่ป๊อกบ่อนละประมาณ 2 ถึง 5 โต๊ะ มีตั้งแต่โต๊ะที่เปิดให้เล่นในราคา 50 บาท 100 บาท 200 บาท 500 บาท 1,000 บาท และ 2,000 บาท หากมีผู้เล่นจำนวนมากก็จะเปิดโต๊ะพนันเพิ่ม การเล่นใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที ต่อตา ผู้เล่นสามารถแทงกับเจ้ามือกี่คนก็ได้ ในการเล่นแต่ละตาหากเป็นโต๊ะ 100 บาท จะมีเงินสะพัดประมาณ 10,000 บาท หากโต๊ะใหญ่ขึ้นจะมีเงินสะพัดประมาณ 30,000 ถึง 60,000 บาท ประกอบกับได้ความว่าทางบ่อนยังรับจำนำทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้เข้าเล่นที่เสียการพนันจนหมดเพื่อนำเงินไปเล่นต่อ โดยในวันเข้าตรวจค้นเจ้าพนักงานสามารถยึดกุญแจรถจักรยานยนต์ที่รับจำนำได้ถึง 63 ดอก แสดงว่าบ่อนทั้งสามแห่งมีวงเงินในการเล่นการพนันมีมูลค่าสูง นอกจากนี้ยังได้ความจาก ธ. ว่าเป็นหนี้การพนันค้างชำระผู้คัดค้านที่ 1 จำนวนมาก จึงโอนที่ดินสี่แปลงพร้อมอาคารสี่ชั้นตีราคาใช้หนี้การพนันประมาณ 15,000,000 บาท คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 อันเป็นมาตรการทางแพ่ง การพิสูจน์ถึงการกระทำความผิดมูลฐานต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องหาจำต้องนำสืบถึงขนาดให้รับฟังได้โดยปราศจากความสงสัยเหมือนดังเช่นคดีอาญาไม่ เมื่อพิจารณาจำนวนหนี้การพนันของ ธ. ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ประกอบพฤติการณ์ที่สถานที่ตรวจค้นทั้งสามแห่งเป็นบ่อนการพนันที่มีวงเงินในการเล่นการพนันมีมูลค่าสูงและเปิดให้เล่นการพนันต่อเนื่องกันมาหลายครั้งเป็นเวลานานหลายปีแล้ว พยานหลักฐานผู้ร้องมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันที่สถานที่ตรวจค้นทั้งสามแห่งโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยมีวงเงินในการกระทำความผิดรวมกันมีมูลค่าตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามสัญญาประนีประนอมฯ ที่ทำผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย: สัญญาฯ มีผลเสมือนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
เมื่อพิจารณาถึงสัญญาประนีประนอมยอมความประกอบคำร้องและคำคัดค้านแล้วเห็นได้ว่ากรณีเป็นข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน ดังนั้น แม้มีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท ก็สามารถไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านอ้างเกี่ยวกับการขายที่ดินพิพาทว่าเป็นเท็จอันเป็นเหตุของการกระทำอันไม่สุจริตที่กล่าวอ้างเป็นข้อเท็จจริงในส่วนเนื้อหาของข้อพิพาทที่ต้องพิจารณากันในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท แม้ผู้คัดค้านอ้างทํานองว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจําต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้างต้นเสียก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคห้า กําหนดให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันตามมาตรา 61/2 วรรคสี่ มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และในกรณีตามมาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่พิพาทอีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งในคดีร้องขอให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ประกอบ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 42 ถึง 44 นั้น ไม่ได้ให้ผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความพิสูจน์โต้แย้งข้อเท็จจริงในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท และศาลไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าวซ้ำอีก
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านอ้างเกี่ยวกับการขายที่ดินพิพาทว่าเป็นเท็จอันเป็นเหตุของการกระทำอันไม่สุจริตที่กล่าวอ้างเป็นข้อเท็จจริงในส่วนเนื้อหาของข้อพิพาทที่ต้องพิจารณากันในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท แม้ผู้คัดค้านอ้างทํานองว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจําต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้างต้นเสียก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคห้า กําหนดให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันตามมาตรา 61/2 วรรคสี่ มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และในกรณีตามมาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่พิพาทอีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งในคดีร้องขอให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ประกอบ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 42 ถึง 44 นั้น ไม่ได้ให้ผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความพิสูจน์โต้แย้งข้อเท็จจริงในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท และศาลไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าวซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความเท็จ รวมถึงการเป็นผู้เสียหายและการฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
การบรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องระบุชัดเจนถึงข้อความเท็จนั้นว่ามีข้อความเป็นอย่างไร และความจริงเป็นอย่างไร คำฟ้องของโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเทศบาล น. เพื่อขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎรของผู้มีชื่อ แต่ข้อความเท็จนั้นจำเลยแจ้งว่าอย่างไรไม่ปรากฏ และถึงแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าในการขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎร จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนด้วยว่าข้อความจริงที่จำเลยปกปิดไว้เป็นอย่างไร เหตุใดการปกปิดไว้นั้นจึงถือได้ว่าเป็นการแจ้งข้อความเท็จ
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้หากเหตุผลอันจำเลยอ้างในคำร้องเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่งจะเป็นความเท็จ แต่ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตรง หาได้เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียใด ๆ ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่เพียงว่าจำเลยไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดข้อความอันเป็นเท็จใดลงในเอกสารราชการใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้หากเหตุผลอันจำเลยอ้างในคำร้องเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่งจะเป็นความเท็จ แต่ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตรง หาได้เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียใด ๆ ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่เพียงว่าจำเลยไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดข้อความอันเป็นเท็จใดลงในเอกสารราชการใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)